การพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในการบริหารองค์กร เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน

Authors

  • บุษกร วัฒนบุตร อาจารย์ประจำหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ และสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Keywords:

การพัฒนาทุนมนุษย์, วิถีพุทธ, การบริหารองค์กร, ประชาคมอาเซียน, Human Capital Development, Buddhist way, Southeast Asian Nations Community

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาหลักการและคำสอนเกี่ยวกับหลักพุทธธรรมที่สามารถนำไปใช้เป็นส่วนที่สำคัญของกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ในการบริหารภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์ 2) เพื่อศึกษาอุปสรรค โอกาส ความสำคัญและจุดอ่อน (SWOT) ของการพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์จากองค์กรศึกษา 3) เพื่อศึกษากระบวนการบูรณาการการพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในการประสานความสัมพันธ์ร่วมกับการบริหารวิถีโลกาภิวัฒน์ เพื่อเสริมสร้างทุนมนุษย์ในองค์กร และ 4) เพื่อสร้างแนวทางตัวแบบการพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธตามแบบองค์กรแห่งความเป็นเลิศ (HPO : High Performance Organization) เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน โดยดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods Research) คือการวิจัยที่ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) และเทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) มาผสมผสานกันในการทำวิจัยเรื่องเดียวกันเพื่อที่จะสามารถตอบคำถามการวิจัยดไ้สมบูรณ์ขึ้น จากกลุ่มประชากรตัวอย่างที่เป็นกลุ่มประชากรผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้แ่ก พระสงฆ์ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ทางพระพุทธศาสนา นักวิชาการ ผู้บริหารองค์การ จำนวน 15 ท่าน และศึกษาจากองค์กรกรณีศึกษาที่มีการนำแนวคิดทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้ต่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ คือ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ผู้ที่เข้าอบรมในโครงการพัฒนาทุนมนุษย์ของอค์กรตัวอย่าง จำนวน 20 ท่าน และผู้ที่เข้าอบรมในโครงการพัฒนทุนมนุษย์ของอค์กรตัวอย่าง จากการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-depth Interview) การแจกแบบสอบถาม (Questionnaire) 242 ชุด ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purpose Sampling) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักการและคำสอนเกี่ยวกับหลักพุทธธรรมที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนที่สำคัญของกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์ในการบริหารภายใต้ยุคโลกาภิวัฒน์พบว่า การนำหลักการและคำสอนเกี่ยวกับหลักพุทธธรรมที่สามารถนำมาใช้เป็นส่วนที่สำคัญของกระบวนการพัฒนาทุนมนุษย์เป็นการสร้างและพัฒนาทุนมนุษย์ในองค์กรทุกๆ ด้าน ด้วยพุทธธรรมซึ่งได้แก่หลักไตรสิกขา ทั้งด้านกายโดยศีลจะเป็นตัวช่วยควบคุมพฤติกรรม ด้านใจโดยสมาธิให้มีความมั่นคง แน่วแน่ มุ่งมั่น สงบ และด้านปัญญา ให้มีความรู้ ความสามารถ ฉลาดหลักแหลม มีความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาชีวิตให้ครบทุกด้านตามหลักพระพุทธศาสนา 2) ศึกษาอุปสรรค โอกาส ความสำคัญและจุดอ่อน (SWOT) ของการพัฒนาทุนมนุษย์ในยุคโลกาภิวัฒน์จากองค์กรศึกษา พบว่า กลุ่มตัวแปรในด้านสภาพทั่วไปของการพัฒนทุนมนุษย์โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเเฉลี่ย 3.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.720 และควรสร้างกิจกรรมกว้างและลึกซึ้งที่ช่วยเพ่ิมปริมาณการผลิต สร้างความพึงพอใจให้กับคนตั้งแต่คนงาน ผู้จัดการ และสมาชิกองค์กร มีการทุ่มเทเพื่อสร้างผู้ชำนาญการและเตรียมคนเหล่านี้เพื่อช่วยการปฏิบัติงาน เปลี่ยนแปลงระบบโดยใช้ค่าใช้จ่าย (cost) ที่ต่ำสุดและให้ผล (output) ออกมามากที่สุด พนักงานมีคุณภาพชีวิตการทำงานที่ดีที่สุด โดยมีปริมาณการผลิตมากที่สุดการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นำไปสู่ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและสร้างคุณค่าต่อการผลิตและการบริการ 3) กระบวนการบูรณาการการพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในการประสานความสัมพันธ์ร่วมกับการบริหารทุนวิถีโลกาภิวัฒน์ เพื่อเสริมสร้างทุนมนุษย์ในองค์กร พบว่า กลุ่มตัวแปรในด้านการพัฒนาทุนมนุษย์ตามแนวพระพุทธศาสนาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.723 และเพื่อเสริมสร้างทุนมนุษย์ในองค์กรต้องพัฒนาคนให้เป็นคนที่ประกอบไปด้วยไตรสิกขา และกิจกรรมทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่ประกอบไปด้วยการฝึกอบรม การให้การศึกษาและการพัฒนา 4) ตัวแบบการพัฒนทุนมนุษย์วิถีพุทธตามแบบองค์กรแห่งความเป็นเลิศ (HPO:High Performance Organization) เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน พบว่า กลุ่มตัวแปรในด้านการบริหารองค์กรที่มีผลการปฏิบัติงานสูงโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 3.08 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.752 โดยตัวแบบการพัฒนทุนมนุษย์วิถึพุทธในการบริหารองค์กรเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน จะต้องพัฒนาตั้งแต่ 1) Human Capital 2) Organization Capital 3) Social Capital โดยมีการปฏิบัติเป็นกระบวนการตามตัวแบบที่ผู้วิจัยค้นพบจากการวิจัยในครั้งนี้ด้วยพื้นฐานทางพระพุทธศาสนา และการพิจารณาหลักการพัฒนาทุนมนุษย์ตามหลักสากล อันได้แก่ การปรับตัวให้ทันเหตุการณ์ (Adaptabioty) การคิดแบบวิเคราะห์ (Analysis Thinking) จริยธรรมทางธุรกิจ (Business Ethics) การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง (Change Leadership) ทักษะการสอนงาน (Coaching Skills) ทักษะการสื่อสาร (Communication Skill) การเข้าใจคู่แขงขัน (Competition Understanding) ความซื่อสัตย์ (Honesty and Integrity) การจงรักภักดี (Loyalty) การคำนึงถึงองค์การ (Personality Gravesess) การควบคุมอารมณ์ (Personality and Emotion Control) การใฝ่รู้ (Personnel Mastery) การคิดแบบเป็นระบบ (System Thinking) และการมีวิสัยทัศน์ (Visioning) เป็นพื้นฐานในการพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในการบริหารองค์กรเพื่อรองรับประชาคมอาเซียน 

The objectives of this study were 1) to study principle and Dhamma that can to apply for human resource development process in globalization age, 2) to study Strength, Weakness, Opportunity and Threat (SWOT) for human resource evelopment process in case study, 3) To study Buddhist integration for human resource development process and 4) To build the model of human capital development in Buddhist way for supporting in Association ofSoutheast Asian Nations community. The research used the mixed research method to study samples consisting of administrators and staff in Siam Cement Plc., be total 242 persons that get come to at random easily. Data was collected for the quantitative research
using a questionnaire with a confidence level of 0.96 and are valuable manner substance accuracy are between 0.50-1.00. Data analysis used the following statistics: percentage, average, standard deviation and stepwise multiple regression analysis. The researcher collected qualitative data using in-depth interviews and focus groups with 20 executives, experts and knowledgeable people, chosen by the snowball sampling method. The research findings were as follows: 1. The principle and Dhamma that can to apply for human resource development process in globalization found that the development in body with Sila could be control good behavior, Samadhi could besupported calm and determination in to
their jobs and Panya could be supported their knowledge, intelligence and creative. All of three things can development human life by Buddhist way. 2. Strength, Weakness, Opportunity and Threat (SWOT) for human resource development process in case studyfound that the management should be set the work process for control minimum cost and maximum output for quality of human life and best service. 3. The Buddhist integration for human resource development process in lobalization found that the development should be integrated between Trisikkha that were Sila, Samadhi, Panya and human resource development activities that were Training, Education and Development. 4. The model for human capital development in Buddhist way for supporting in Association of Southeast Asian Nations community revealed that the development should be had 1) Human Capital 2) Organization Capital and 3) Social Capital. The process consisted of Adaptability, Analysis hinking, Business Ethics, Change Leadership, Coaching Skills, Communication Skill, Competition Understanding, Honesty and Integrity, Loyalty, Organization Graveness, Personality, Emotion Control, Personnel Mastery, System Thinking and Visioning for based of human capital development in Buddhist way for organization management support in Association ofSoutheast Asian Nations community.

Downloads

How to Cite

วัฒนบุตร บ. (2016). การพัฒนาทุนมนุษย์วิถีพุทธในการบริหารองค์กร เพื่อรองรับประชาคมอาเซียน. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(1), 24–36. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54288

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)