การพัฒนารูปแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Keywords:
การพัฒนา, รูปแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ, Development Model to Improve Health-Related Physical FitnessAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างรูปแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ 3) ทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ 4) ประเมินผลการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางการเพื่อสุขภาพ โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา วิธีดำเนินการวิจัย แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ศึกษาสภาพปัญหาสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ที่มีอายุระหว่าง 18-20 ปี ที่เรียนวิชาวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต 1,040 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง 2) สร้างรูปแบบการสร้างเสริม ก) ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ข) ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ค) ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและต้นขาด้านหลัง และ ง) ความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาด้วยการหาค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC จากผู้เชี่ยวชาญ 3) ทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพโดยกลุ่มทดลอง 120 คน แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน (ชาย 15 คน หญิง 15 คน) เข้าฝึกรูปแบบการสร้างเสริม ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ ความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและต้นขาด้านหลังและความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย กำหนดให้กลุ่มทดลองทดสอบสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ ก่อนและหลังการฝึกตามรูปแบบ 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความแตกต่างภายในกลุ่มทดลองใช้รูปแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางการเพื่อสุขภาพ โดยกลุ่มผู้ทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 40 คน ชาย 20 หญิง 20 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย รูปแบบการสร้างเสริมความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ รูปแบบการสร้างเสริมความแข็งแรงอดทนของกล้ามเนื้อหน้าท้อง รูปแบบการสร้างเสริมความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างและต้นขาด้านหลัง และรูปแบบการสร้างเสริมความอดทนของกล้ามเนื้อแขนและกล้ามเนื้อส่วนบนของร่างกาย มีค่าดัชนีความสอดคล้อง IOC อยู่ระหว่าง 0.67-1.00 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางการเพื่อสุขภาพสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าคะแนนจากการทดสอบก่อนและหลังเข้าร่วมฝึก รูปแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ 8 สัปดาห์ ของกลุ่มทดลองในรายการ เดิน/วิ่ง 1 ไมล์ ลุก-นั่ง 60 วินาที นั่งงอตัวไปข้างหน้า ดันพื้นและดัชนีมวลกายมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการสร้างเสริมสมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมากทุกด้าน
The purposes of this research were; 1) to study health-related physical fitness problems of Northeastern Rajabhat University Students; 2) to construct a model to improve health-related physical fitness; 3) to try out the model improve health-related physical fitness; and 4) to evaluate the model to improve health-related physical fitness. The design of this research was a Research & Development (R&D), divided into four steps; 1) Study health-related physical fitness problems. The samples of this study were the first year students, aged between 18-20 years old, who studied Science for Quality of Life subject, obtained by purposive sampling 2) Construct a Model to improve health-related physical fitness; a) cardiorespiratory endurance; b) abdominal strength endurance; c) lower back and thigh flexibility and; d) tolerance of the arm muscles and muscles of the upper body. The research was assessed for the appropriateness and possibility through Index of Item Objective Congruence (IOC) by experts. 3) The model to improve health-related physical fitness was tried out by 120 participants divided into 4 group, 30 for each group to improve cardiorespiratory endurance, abdominal strength endurance, lower back and thigh flexibility and to lerance of the arm muscles and muscles of upper body. The participants in each group were required to take pre-posttest health-related physical fitness after applying the model for 8 week. Data were analyzed using mean, Standard Deviation and paired Sample t-test. 4) The model was evaluated by 40 participants through questionnaires. The statistics used for data analysis were mean and Standard Deviation. The research results were as follows: 1. The IOC validity of the model to improve health-related physical fitness of Northeastern Rajabhat University students including model to improve Cardiorespiratory endurance, model to improve abdominal strength endurance, model of improve lower back and thigh flexibility and model to improve tolerance of the arm muscles and muscles of the upper body was 0.67-1.00 2. The results of implementing the model to Improve health-related physical fitness of Northeastern Rajabhat University students. Findings revealed that there were significant differences at .01 level in mean score of the One Mile Walk/Run, 60 Second Sit-ups, Sit and Reach, Push-ups and Body Mass Index before and after intervention training. 3. The evaluation results of the model to improve health-related physical Fitness of Northeastern Rajabhat University students were at the high level. When considering each aspect, it was found that they were at the high level for all aspects.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์