การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้

Authors

  • อรทัย แสงทอง หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

Keywords:

การบริหารจัดการ, กลุ่มสัจจะออมทรัพย์, กองทุนสวัสดิการชุมชน, สวัสดิการชุมชน, Management, Saccha Savings Group, Community Welfare

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้และ 3) เสนอแนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้ แบบของการวิจัยและพัฒนาโดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการ จำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา โดยใช้การอุปมานวิเคราะห์และการตีความ และเชิงปริมาณเก็บข้อมูลาจากประชากร 39,464 คน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน โดยการใช้สูตรการคำนวณของทาโร่ ยามาเน่ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะเพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้ โดยรวมอยู่ในระดับความสำคัญปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทั้ง 3 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยเมื่อเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือการบริหารโดยยึดชุมชนเป็นหลัก รองลงมาคือ การบริหารโดยยึดถือศักยภาพของสมาชิกเป็นหลัก และด้านที่มีระดับความสำคัญน้อยที่สุดคือ การบริหารโดยยึดสวัสดิการเป็นหลัก 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้มี 3 ด้าน คือ ด้านนโยบายและการบริหารจัดการ มี 5 ตัวแปรได้แก่ วัตถุประสงค์ที่ชัดเจน นโยบายและกฎระเบียบ โครงสร้าง วัฒนธรรมองค์กร และการวางแผน โดยสามารถทำนายการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ได้ร้อยละ 31.90 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 2) ด้านการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนภายใน มี 6 ตัวแปร ได้แก่ บทบาทหน้าที่ผู้นำ การบริหารจัดการกลุ่มสมาชิก กระบวนการส่งเสริมคุณธรรม และการตอบสนองทางเศรษฐกิจและสังคม โดยสามารถทำนายการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ได้ร้อยละ 34.80 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 และ 3) ด้านการบริหารกองทุนสวัสดิการชุมชนภายนอก มี 3 ได้แก่ ตัวแบบ เครือข่าย หน่วยงานและองค์กรต่างๆ โดยสามารถทำนายการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ได้ร้อยละ 18.90 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 3. แนวทางที่เหมาะสมในการบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้ที่เสนอแนะสำคัญคือ 1) รัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมทางการเงินอย่างจริงจัง โดยแสดงเอกสารเผยแพร่กฏหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มสัจจะออมทรัพย์ 2) ควรมีการพัฒนาการสร้างเครือข่ายของการส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนมีหน่วยงานราชการหรือท้องถิ่นเป็นแกนหลักในการขับเคลื่อน 3) ควรมีการจัดตั้งศูนย์ข้อมูลแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยสร้างเวทีเชื่อมโยงขบวนการองค์กรชุมชนและหน่วยงานภาคีระดับจังหวัดเพื่อให้มีการทำงานร่วมกันมากขึ้น 4) ควรเพิ่มประสิทธิภาพของคณะกรรมการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เืพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 5) ควรมีการสร้างผู้นำรุ่นใหม่ขึ้นมา เพื่อดำเนินงานสานต่อจากผู้นำรุ่นเก่า

The purposes of this research were to study:  1) the  management  of Saccha  saving group for sustainable  Community  Welfare in the  Southern  province,  2) the  factors  that affact the management of the Saccha savings group for for sustainable  Community  Welfare in the Southern province,  3) the appropriate management  of the Saccha  savings  group for for sustainable  Community  Welfare in the Southern province. Research and development methodology by used mixed methodologies of quantitative and qualitative research. Used by the main qualitative research methodology, Key informants was exective agenties conecting the Saccha Saving Group 24 people the research instruments  were 1)in-dept interview  and observation the data were analyzed by content analysis. And quantitative research population was 39,646 sample  size 400 sampling method a formura of taro yamane the research instruments were questionair. The data were analyzed by using computer software package. the statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean and standard deviation The results were as follows: 1. Management  of the Saccha Saving group for sustainable Community Welfare in the Southern Province was found at meduim level. Considering each it is found to have significant levels at all 3 sides. The average level of the highest importance management and community-based, the second management cues Empowerment is  key and the side with  the least priority management as the main administration. 2. Factor affecting the management of Saccha Saving group for sustainable Community Welfare in the Southern Province have three aspects:  1) the  management  policy  with  5 variables include clear objectives, organization structure, policies and regulation and planning to predict the management of Saccha Saving group percen 31.90. 2) the internal management Community  Welfare fund within  6 variables include  readership,management moral, economic  and social  responses  to predict the  maanagement  of saccha  Saving  Group percen  34.80 and  the external management Community  Welfare fund  with  3 variables include the network, agencies and organization to predict the management of Saccha Saving Group percent 18.90 3. Guidelines   for management  of the Saccha Saving Group for sustainable Community Welfare in the Southern Province suggested the factors: the government  should  promote monetary policy seriously by showing them. Should be developed to create a network of foster sustainable, should be the establishment of data center knowledge,should increase the efficienty of the board and create a new generation of leaders as well as opportunity for new leaders have shown their potential output.

Downloads

How to Cite

แสงทอง อ. (2016). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะออมทรัพย์เพื่อสวัสดิการชุมชนอย่างยั่งยืนในเขตจังหวัดภาคใต้. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(1), 221–228. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54490

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)