การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ

Authors

  • ศรีณัฐ ไทรชมภู คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Keywords:

ความหลากหลายทางชีวภาพ, การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ, คุ้งบางกะเจ้า Biodiversity, Ecotourism, Khung Bangkachao

Abstract

การวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) รวบรวม ศึกษา และจัดทำข้อมูลด้านการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน  2) ศึกษารูปแบบการจัดการท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิม 3) ศึกษาศักยภาพและความเหมาะสมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ 4) สร้างรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ 5) จัดทำมาตรการ แผนงาน และแนวทางปฏิบัติ  สำหรับการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศในพื้นที่ 6) จัดทำข้อเสนอแนะในการอนุรักษ์ทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน งานวิจัยนี้เป็นการวิจังเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ จากเอกสารและผู้เกี่ยวข้องรวม 88 คน ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่คุ้งบางกะเจ้ามีทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพ และทรัพยากรทางวัฒนธรรมสมบูรณ์ รูปแบบการท่องเที่ยวที่มีอยู่เดิมได้แก่ การท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ แหล่งวัฒนธรรม และสิ่งที่สนใจพิเศษ มีศักยภาพและความเหมาะสมในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ได้แก่ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวทางจักรยาน และในพื้นที่มีการจัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน นักท่องเที่ยวหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนมาตรการ แผนงาน และแนวทางปฏิบัติ มีกลยุทธ์เชิงอนุรักษ์ การมีส่วนร่วม การส่งเสริมการตลาด ส่งเสริมพัฒนาการท่องเที่ยว

The purposes of this research were to 1) collect, study, and provide information about the sustainable use of biodiversity and local wisdom in Khung Bangkachao, 2) investigate the conventional tourism management model, 3) study the potential and appropriateness for ecotourism development, 4) formulate a tailored ecotourism model, 5) draw up measures, plans, and guidelines for ecotourism in this area, and 6) offer suggestions on biodiversity and local wisdom conservation.  A survey method is employed in this study.  The qualitative data are collected from documents and 88 stakeholders. The findings show as follows:Kung Bangkachao abounds with biodiversity and cultural resources. The conventional tourism management model features nature tourism, cultural tourism, and special interest tourism.  This area has potential to become an ecotourism destination.  The tailored ecotourism model should include eco-tours and bicycle tours.  Conservation activities in this area are accomplished by participation of local people, tourists, and organizations concerned. Conservation strategies, public participation, marketing promotion, and tourism promotion should be adopted in measures, plans, and guidelines for eco-tourism.

 

Downloads

How to Cite

ไทรชมภู ศ. (2016). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ ในพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 9–19. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54587

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)