กลยุทธ์ตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากระเทียมโทนดอง อบต.บางกร่าง จังหวัดนนทบุรี

Authors

  • ฉัตยาพร เสมอใจ หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

Keywords:

ส่วนประสมการตลาด, วิสาหกิจชุมชน, พฤติกรรมผู้บริโภค, Marketing Mix, Community Enterprise, Consumer Behavior

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสำคัญของส่วนประสมการตลาดผลิตภัณฑ์กระเทียมโทนดอง ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์กระเทียมโทนดอง และศึกษาความสัมพันธ์ของส่วนประสมทางการตลาดและพฤติกรรมผู้บริโภคผลิตภัณฑ์กระเทียมโทนดอง เพื่อใช้ในการพัฒนากลยุทธ์การตลาด โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ที่ซื้อผลิตภัณฑ์กระเทียมโทนดอง จำนวน 396 คน ทำการวิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทำการทดสอบสมมติฐานด้วย Pearson Chi-square ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับส่วนประสมการตลาดทุกด้าน โดยด้านผลิตภัณฑ์ให้ความสำคัญกับขนาดเม็ดกระเทียมโทนมากที่สุด (95.96%) ด้านบรรจุภัณฑ์มีหลายขนาดให้เลือก และเปิดใช้สะดวกมากที่สุด (98.99%) ด้านราคาเหมาะสมกับคุณภาพมากที่สุด (100.00%) ด้านช่องทางการตลาดทางร้านค้าปลีกมากที่สุด (96.97%) และการส่งเสริมการตลาดด้านการโฆษณาผ่านสื่อป้ายในงานแสดงสินค้ามากที่สุด (93.94%) การประชาสัมพันธ์ผ่านป้ายของงานแสดงสินค้ามากที่สุด (93.43%) การส่งเสริมการขายด้วยการให้ทดลองชิมมากที่สุด (95.96%) พฤติกรรมผู้บริโภคที่มีต่อผลิตภัณฑ์กระเทียมโทนดองส่วนใหญ่ มีวัตถุประสงค์ของการซื้อกระเทียมโทนดอง เพื่อเป็นเครื่องปรุงอาหาร/ส่วนประกอบของอาหาร (94.19%) เหตุผลในการซื้อกระเทียมโทนดองเพราะรสชาติอร่อย (96.72%) ผู้มีส่วนร่วมในการเลือกซื้อกระเทียมโทนดอง คือ ตนเอง และสมาชิกในครอบครัว/เพื่อน (90.40%) มักซื้อกระเทียมโทนดองจากร้านขายของฝาก (89.39%) มักซื้อกระเทียมโทนดองเมื่อต้องการรับประทาน (93.695) และมักซื้อกระเทียมโทนดองด้วยตนเอง (91.67%) ส่วนประสมทางการตลาดทุกด้าน ทั้งผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ ราคา ช่องทางการตลาด และการส่งเสริมการตลาดด้านการโฆษณา การประชาสัมพันธ์ และการส่งเสริมการขาย มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมผู้บริโภคทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
The objectives of this survey research were 1) to study marketing mix of pickled garlic product of BangKlang Subdistrict Administrative Organization, Nontaburi Province by demographic, 2) to study consumer behavior on pickled garlic product of BangKlang Subdistrict Administrative Organization, Nontaburi Province by demographic and 3) to study a relationship between marketing factor and consumer behavior of pickled garlic product of BangKlang Subdistrict Administrative Organization, Nontaburi Province. A questionnaire was used to collect data from 396 respondents in Nontaburi province. The descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, and standard deviation The objectives of this survey research were 1) to study marketing mix of pickled garlic product of BangKlang Subdistrict Administrative Organization, Nontaburi Province by demographic, 2) to study consumer behavior on pickled garlic product of BangKlang Subdistrict Administrative Organization, Nontaburi Province by demographic and 3) to study a relationship between marketing factor and consumer behavior of pickled garlic product of BangKlang Subdistrict Administrative Organization, Nontaburi Province. A questionnaire was used to collect data from 396 respondents in Nontaburi province. The descriptive statistics such as frequency, percentage, mean, and standard deviation 

Research findings shows that most respondents focus on all aspects of marketing mix; especially on size of garlic for a product aspect (95.96%), variety sizes of package and ease of use for a packaging aspect (98.99%), suitable price to quality for a pricing aspect (100%), retail channel for a place aspect (96.97%), billboard in an expo for an advertising aspect (93.94%), billboard of an event for a public relation aspect (93.43%), and tasting for a sales promotion aspect (95.96%). Consumer behavior for pickled garlic: mostly use pickled garlic as a seasonal/ingredient (94.19%), a reason to buy pickled garlic is a good taste (96.72%), decision making are influenced by family and themselves (90.40%), buying pickled garlic from souvenir shop (89.39%), buying when they want to consume (93.69%), and execute to buy by themselves (91.67%). Research findings shows that marketing mix, which are product, package, price, place and promotion, had relationship with consumer behavior.     

Downloads

How to Cite

เสมอใจ ฉ. (2016). กลยุทธ์ตลาดสำหรับวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษากระเทียมโทนดอง อบต.บางกร่าง จังหวัดนนทบุรี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 104–115. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54592

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)