การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Authors

  • สมชัย พุทธา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

Keywords:

การประเมิน, หลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต Assessment, Doctoral Degree of Educational Administration

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประเมินคุณภาพหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี 2) ปัญหาและอุปสรรคในการบริหารหลักสูตร เพื่อปรับปรุงแก้ไขระบบการบริหารหลักสูตร การกำกับดูแลและการจัดกระบวนการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และ 3) คุณภาพของดุษฎีบัณฑิต ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ อาจารย์บัณฑิตวิทยาลัยดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา และผู้บังคับบัญชาของดุษฎีบัณฑิต จำนวน 102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติ ความถี ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า 1.  ด้านคุณภาพของหลักสูตร ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับดี โดยเมื่อพิจารณารายด้าน มีรายละเอียดดังนี้  1) หลักสูตรมีความเหมาะสมด้านบริบท โดยทั่วไปอยู่ในระดับดี สอดคล้องกับปรัชญาของบัณฑิตวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และสามารถตอบสนองความต้องการของผู้เรียน สังคมและประเทศในระดับดี 2) หลักสูตรมีความเหมาะสมด้านปัจจัยนำเข้า โดยทั่วไปอยู่ในระดับดี โครงสร้างเนื้อหารายวิชามีความเหมาะสม ปัจจัยนำเข้าด้านอาจารย์และบุคลากรมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี 3) หลักสูตรมีความเหมาะสมด้านกระบวนการโดยทั่วไปอยู่ในระดับดี กระบวนการจัดการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล รวมถึงกิจกรรมต่างๆของหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับดี 4) หลักสูตรมีความเหมาะสมด้านผลผลิต โดยทั่วไปอยู่ในระดับดีมาก 2.  ด้านปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะของหลักสูตรพบว่า 1) ควรปรับปรุงด้านวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอน ให้มีความเหมาะสมและพอเพียงกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้นกับจำนวนนักศึกษา นอกจากนี้ ควรปรับปรุงในเรื่องของสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวก 2) อาจารย์ประจำสาขาวิชา มีความเห็นที่สอดคล้องกันว่า มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพการเรียนการสอนของสถาบันการศึกษาทั่วไป ในขณะที่ดุษฎีบัณฑิตมีความคิดเห็นว่า ด้านวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนการสอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับปานกลาง และควรการปรับปรุงให้มีความเหมาะสมและเพียงพอกับความต้องการของนักศึกษามากขึ้น 3) ควรปรับปรุงหลักสูตรให้ผู้เรียนมีสมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาษาอังกฤษซึ่งเป็นภาษาสากลของโลกในปัจจุบัน 4) ควรส่งเสริมกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมเสริมที่ช่วยสร้างทักษะในการคิดสร้างสรรค์ ในการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหา 5) ควรปรับปรุงด้านการพัฒนาการบริหารจัดการและปัจจัยเกื้อหนุนอื่นๆ การเสริมสร้างองค์ความรู้ให้แก่อาจารย์ รวมถึงการบริหารเวลาของอาจารย์ 6) ควรเพิ่มการบูรณาการระหว่างทฤษฎีและการปฏิบัติมากขึ้น 3. ด้านคุณภาพของบัณฑิต นักศึกษาซึ่งเป็นผลผลิตของหลักสูตรมีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์ในระดับดี ในขณะที่ ผู้บังคับบัญชาของดุษฎีบัณฑิตมีความเห็นว่า นักศึกษาซึ่งเป็นผลผลิตของหลักสูตรมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในระดับดีมาก ทั้งด้านวิชาการ นอกเหนือจากด้านวิชาการและด้านคุณลักษณะอื่นๆทั่วไป

The purposes of this research were to study: 1) evaluate the Doctoral degree of Educational Curriculum in Educational Administration Program, Graduate School, Bangkokthonburi University, 2) investigate the problems and obstacle managing in Doctoral of Education Program for monitoring the resolution and instruction for more effectiveness, and 3) investigate doctoral graduated students qualities. The qualitative research was applied to this research methodology. The populations were totally 102 of graduated School Lecturers, doctoral graduated students, and their employers. The research instrument were structured interviewing model and rating – scale questionnaire, and then the data analyzing were used frequency, percentage, means, standard deviation, and content analysis. The result found that: 1.  The curriculum qualities aspect. The curriculum got good suitability level as totally while considered to the details like these, 1.1 The context got suitable curriculum by good level consensus to graduated school philosophy and University also, and could respond to learners, social, and national need as good level. 1.2 The curriculum impute got suitable in good generally level. The content construction of each subject and lecturers impute got good level. 1.3 The curriculum procedure got good generally level. The instructional, evaluation and assessment and curriculum activities procedure got good suitable level. 1.4 The output of curriculum got good suitable level generally. 2.  The problems – obstacle and suggestion of curriculum  2.1 It should be improved to equipment and media instruction of suitability and sufficiency need with students number, besides to the plantation and facilely improvement. 2.2 The lecturers’ opinion got consensus totally suitable to instruction generally, meanwhile of the graduated doctoral degree students’ opinion preferred the equipment and media instruction as moderate suitable level, and it should be improved to suitable and sufficient toward students need. 2.3 It should be improved to more English using skills as International language. 2.4 It should be enhanced to instruction and activities creation of skill building to thoughtful and solution analyzing. 2.5 It should be improved to management, supportive impute, and knowledge building development to lecturers, otherwise to time management. 2.6 It should be added more theoretical and practical integration. 3.  The graduated students’ qualities.The graduated students of doctoral degree Program got good level in desired trait students, meanwhile the employers’ opinion preferred the best in desired trait and academic also.

 

Downloads

How to Cite

พุทธา ส. (2016). การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 38–47. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54593

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)