ยุทธศาสตร์การพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • พัฒนพงษ์ จันทร์ควง

Keywords:

ยุทธศาสตร์การพัฒนา, การประกันคุณภาพการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร, Strategies, Educational Quality Assurance, Rajabhat Universities in Bangkok

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบททั่วไป และการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร 2) การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร 3) สร้างยุทธศาสตร์การพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร แบบของการวิจัยและพัฒนา โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือ ผู้อำนวยการ/หัวหน้างานประกันคุณภาพการศึกษา อาจารย์ และเจ้าหน้าที่สายสนับสนุนวิชาการ ที่ปฏิบัติงานการประกันคุณภาพการศึกษา ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร และผู้เชี่ยวชาญการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 23 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) แบบสนทนากลุ่ม และ 3) แบบประเมิน คือ 1) แบบประเมินยุทธศาสตร์การพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร 2) แบบประเมินการนำยุทธศาสตร์การพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานครไปสู่การปฏิบัติ ขั้นตอนโครงการ/กิจกรรม และตัวชี้วัดความสำเร็จของกลยุทธ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยการ วิเคราะห์เนื้อหา ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ดัชนีค่าความสอดคล้อง เท่ากับ 0.95 และเกณฑ์ในการแปลความหมายของคะแนนเฉลี่ย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ผลการศึกษาพบว่า 1) บริบททั่วไป และการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร ได้พัฒนาจากบริบทของการเป็นโรงเรียน วิทยาลัยครู และสถาบันราชภัฏ เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เน้นระดับปริญญาตรี จำนวน 5 แห่ง และสถาบันอุดมศึกษาเฉพาะทางที่เน้นระดับปริญญาตรี จำนวน 1 แห่ง ใช้ระบบ PDCA และมีกลไกในการขับเคลื่อน คือ สภามหาวิทยาลัย ผู้บริหาร อาจารย์ เจ้าหน้าที่สายสนับสนุนวิชาการ นักศึกษา และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของมหาวิทยาลัย โดยมีหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบงานการประกันคุณภาพการศึกษาทุกแห่ง 2) การดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ในรอบปีการศึกษา 2553 – 2555 มีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 3 ปี ค่าคะแนนรวมเฉลี่ยสูงสุด คือ องค์ประกอบที่ 6 ด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และ องค์ประกอบที่ 8 ด้านการเงินและงบประมาณ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.95 ส่วนค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด คือ องค์ประกอบที่ 2 ด้านการผลิตบัณฑิต โดยเฉพาะด้านคุณวุฒิอาจารย์ปริญญาเอก และตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ค่าคะแนนรวมเฉลี่ย 4.22 และมีผลการประเมินคุณภาพการศึกษาภายนอก ค่าคะแนนเฉลี่ยรวม 3 ปี ค่าคะแนนรวมเฉลี่ยสูงสุดคือ ตัวบ่งชี้ที่ 11  ด้านการพัฒนาสุนทรียภาพในมิติทางศิลปะและวัฒนธรรมค่าคะแนนรวมเฉลี่ย 5.00 ส่วนด้านที่มีค่าคะแนนรวมเฉลี่ยต่ำสุด คือ ตัวบ่งชี้ที่ 5 งานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่ได้รับการตีพิมพ์หรือเผยแพร่ ค่าคะแนนรวมเฉลี่ย 2.29 3) การสร้างยุทธศาสตร์การพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร ได้ทั้งสิ้น 3 ยุทธศาสตร์ คือยุทธศาสตร์ที่ 1 บูรณาการทุกพันธกิจของมหาวิทยาลัยเข้าสู่ระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษา ยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาขีดสมรรถนะของบุคลากรทุกระดับเพื่อดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างครบวงจร และยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้านการประกันคุณภาพการศึกษาในองค์กร 
The purposes of this research were to study 1) general context and background of educational quality assurance at Rajabhat Universities in Bangkok 2) the processes of educational quality assurance at Rajabhat Universities in Bangkok 3) and develop the strategies for developing Educational Quality Assurance at Rajabhat Universities in Bangkok.  The data had been collected by using qualitative and quantitative methods. The key informants were 23 people who were working for educational quality assurance departments at Rajabhat Universities in Bangkok such as lecturers, staff, directors/heads of the quality assurance department and professional staff in quality assurance.  The instruments were (1) guideline for an in-depth interview, (2) focus group and (3) two types of evaluation forms as follows: firstly, an evaluation form for developing educational quality assurance and secondly, an evaluation form for implementing educational quality assurance into the action plans and the key success factors of strategies. Qualitative data were analyzed by using content analyzed techniques and quantitative data were analyzed by using Item – Objective Congruence Index (IOC = 0.95) and using the mean to explain the results of average scores from the statistical analysis.  The result were as follows: 1) the general context and background of educational quality assurance at Rajabhat Universities in Bangkok had been developed from schools, teachers colleges and Rajabhat institute to five institutional for the undergraduate degrees and one institutional for the specific undergraduate degrees. All of them using PDCA system and the universities’ council, administrators, lecturers, staff, students and stakeholders of the universities were working together with educational quality assurance department of the universities. 2) The results from internal educational quality assurance at Rajabhat Universities in Bangkok during 2010 – 2012 were found that overall three years average scores had been as follows: For the two highest scores (  = 4.95) are the sixth factor, supporting arts and cultural and the eighth factor, finance and budgeting. For the lowest scores ( = 4.22) is the second factor, the numbers of lecturers who have doctoral degrees and who have academic positions. The results from external educational quality assurance had been follows: For the highest scores ( = 5.00) is the eleventh factor, developing aesthetics in arts and cultural. For the lowest scores ( = 2.29) is the fifth factor, research or creativity work which have been published or accepted. 3) In order to develop the strategies for developing educational quality assurance at Rajabhat Universities in Bangkok the three strategies have to be implemented as follows: firstly, integrating every university’s mission into educational quality assurance system. Secondly, developing the human resources capacities in order to support the system of educational quality assurance. Finally, developing informational technology system to increase the efficiency of educational quality assurance management. 

Downloads

How to Cite

จันทร์ควง พ. (2016). ยุทธศาสตร์การพัฒนางานประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 116–127. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54594

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)