แนวทางการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

Authors

  • มหาพระครูสุตบูรพาสถิต ภิรมจิตรผ่อง สาขาวิชาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Keywords:

การอนุรักษ์, การเพิ่มมูลค่า, หัตถกรรมทองเหลือง Guidelines for Preserving, Adding the Value, Brass Handicraft

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพและปัญหาการผลิตหัตถกรรมทองเหลือง  2) สร้างแนวทางการอนุรักษ์และการเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว และ 3) ประสิทธิภาพของแนวทางการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว ซึ่งมีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 ประวัติบ้านปะอาว ตอนที่ 2 สภาพและปัญหาการผลิตหัตถกรรมทองเหลือง ตอนที่ 3 แนวทางการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว และตอนที่ 4 ประสิทธิภาพของแนวทางการอนุรักษ์และการเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว ซึ่งการวิจัยครั้งนี้ ใช้วิธีวิทยาแบบผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงคุณภาพ และการวิจัยเชิงปริมาณ ผลการวิจัยพบว่า 1) บ้านปะอาว ขึ้นกับตำบลหนองขอน แบ่งการปกครองเป็นตำบลปะอาว เมื่อปี 2538 ซึ่งคำกล่าวขานกันเป็นตำนานสืบกันมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตาทวดว่าบ้านปะอาวมีเชื้อชาติเดิมลาวเวียงจันทน์ เชื้อชาติกุลา เป็นลาวแท้ ๆ (ลาวเวียงจันทร์) สมัยนั้น ที่นครเวียงจันทร์ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศลาวได้เกิดกบฏขึ้นกลางเมือง มีกองทัพกลุ่มหนึ่งพากันอพยพหนีข้ามลำน้ำโขงมาฝั่งไทย โดยตั้งถิ่นอาศัยอยู่ที่หนองบัวลำภู จังหวัดอุดรธานี (ปัจจุบันคือจังหวัดหนองบัวลำภู) 2) สภาพ และปัญหาการผลิตหัตถกรรมทองเหลือง ประกอบด้วยการใช้แหล่งเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณภาพหัตถกรรมทองเหลือง 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) ด้านการรักษาวิธีการหล่อทองเหลืองบ้านปะอาว (2) ด้านการออกแบบลวดลายหัตถกรรมทองเหลือ (3) ด้านการรักษาอัตลักษณ์รูปแบบทองเหลือง และ (4) ด้านค่านิยม ความเชื่อ ความพึงพอใจของหัตถกรรมทองเหลือง 3. แนวทางการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว จำนวน 2 ด้าน คือ (1) ด้านแนวทางการอนุรักษ์ ประกอบด้วย จัดให้มีการทำคู่มือการประกอบเครื่องหัตถกรรมทองเหลือง การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม แนวทางการอนุรักษ์หัตถกรรมทองเหลือง และแนวทางการเอนุรักษ์ โดยการส่งเสริมสนับสนุนอาชีพเศรษฐกิจชุมชน (2) ด้านการเพิ่มคุณค่าหัตถกรรมทองเหลือง ประกอบด้วย การพัฒนาสนับสนุนให้มีการจัดอบรมให้ความรู้ด้านหัตถกรรมทองเหลืองพัฒนารูปแบบหัตถกรรมทองเหลือง โดยอาศัยหลักการตลาด 4  ประสิทธิภาพของแนวทางการอนุรักษ์และการเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมทองเหลืองบ้าน   ปะอาว จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านวิธีการหล่อทองเหลืองบ้านปะอาว (2) ด้านการออกแบบลวดลายหัตถกรรมทองเหลือง (3) ด้านอัตลักษณ์รูปแบบหัตถกรรมทองเหลือง และ (4) ด้านค่านิยม ความเชื่อ ดังรายละเอียดร่างรูปแบบการหาประสิทธิภาพของแนวทางการอนุรักษ์และการเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมทองเหลือง ผลการประเมินความเหมาะสม และความเป็นไปได้ โดยภาพรวมความเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.85) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.83 )

 The purposes of this research were to study 1) the states and problems of the brass handicraft production, 2) to construct the guidelines to preserve the brass handicraft and 3) to examine the efficiency of the guidelines for preserving and adding value to the brass handicraft production. The research consisted of four steps: history of Ban Pa-Ao; states and problems of brass handicraft production, guidelines for preserving and adding value to the handicraft and efficiency of the guidelines for preserving and adding value to the brass handicraft.  The research used a combination of qualitative and quantitative types. The research findings were as follows. 1. Ban Pa-Ao is located in the sub-district of Nongkon. In 2538 B.E., it was elevated to the status of the sub-district.  The legend had it that the community residents had descended from Lao ancestors. Then, there was a rebellion in Vientiane. There was a group that had crossed the Mekong River into Thailand. They settled down in Nongbualumphoo of Udon Thani (the present day Nongbualumphoo province). 2. Considering the states and problems of the brass handicraft production, there were four elements: ways to preserve the brass molding method,  handicraft design,  brass identity preservation,  values and beliefs. 3. Given the ways to preserve the brass handicraft production, there were two aspects: in preserving the values of the brass handicraft, there was a handbook on the brass handicraft production; there should be an attempt to preserve the environment; as regards the ways to preserve the handicraft, there should be an effort to support training and giving knowledge on the brass handicraft. 4. The efficiency of the guidelines to preserve and add values to the handicraft production consisted of four aspects: brass molding method, handicraft design, brass identity, and values and beliefs. The results of evaluation revealed that the guidelines were suitable and possible at the highest level (=4.85, =4.83).

 

 

Downloads

How to Cite

ภิรมจิตรผ่อง ม. (2016). แนวทางการอนุรักษ์และเพิ่มมูลค่าหัตถกรรมทองเหลืองบ้านปะอาว ตำบลปะอาว อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 48–61. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54595

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)