การพัฒนาแบบทดสอบและสร้างเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับนักศึกษาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประเทศไทย

Authors

  • นิเทศสุขกิจ ทัพซ้าย

Keywords:

การพัฒนา, แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย, เกณฑ์มาตรฐาน, Development, Physical Fitness Test, Norms

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบทดสอบและสร้างเกณฑ์มาตรฐาน สมรรถภาพทางกายสำหรับนักศึกษาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาพลศึกษา ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประเทศไทย ปีการศึกษา 2556-2557จำนวน 840 คน เป็นนักศึกษาชาย จำนวน 420 คน และนักศึกษาหญิง จำนวน 420 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือประกอบด้วยการหาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) โดยการหาความสอดคล้องของความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ส่วนความเชื่อมั่น (Reliability) และความเป็นปรนัย (Objectivity) โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation Coefficient) แล้วนำค่าที่ได้มาทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสร้างเกณฑ์มาตรฐานของสมรรถภาพทางกายแต่ละรายการของนักศึกษาชาย และนักศึกษาหญิง โดยใช้เกณฑ์ปกติเปอร์เซ็นไทล์และสร้างคะแนนมาตรฐานใช้ค่าตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ ผลการวิจัยพบว่า แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับนักศึกษาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประเทศไทย ประกอบด้วย 5 รายการ คือ เดิน/วิ่ง 1 ไมล์ นั่งงอตัวไปข้างหน้า ลุก-นั่ง 60 วินาที ดันพื้น และดัชนีมวลกาย พบว่า ได้รับการพิจารณาเห็นด้วยจากผู้เชี่ยวชาญในระดับร้อยละ 80 และค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.06 ขึ้นไปทุกรายการทดสอบ ส่วนค่าความเชื่อมั่นและค่าความเป็นปรนัยของแบบทดสอบอยู่ในเกณฑ์ดี และดีมาก และได้เกณฑ์มาตรฐานของแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับนักศึกษาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประเทศไทย ชั้นปีที่ 1 ที่มีอายุระหว่าง 18-20 ปี นักศึกษาชายและนักศึกษาหญิง โดยใช้เกณฑ์ปกติ เปอร์เซ็นไทล์และการสร้างคะแนนมาตรฐานของแบบทดสอบโดยใช้ค่าตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ แบ่งออกเป็น 5 ระดับ คือ ดีมาก ดี ปานกลาง ค่อนข้างต่ำ และต่ำ
The purposes of this research were to develop physical fitness tests and to construct physical fitness norms for physical education students of Rajabhat University, Thailand. The samples were 840 first year students, consisted of 420 male and 420 female students, who enrolled in academic year 2013-2014. The samples were selected from multi-stage random sampling. The research instruments, developed by the researcher, were physical fitness tests which were qualified in terms of content validity, Index of Item-Objective Congruence (IOC), reliability and objectivity. The data were analyzed by Pearson Product Moment Correlation Coefficient in order to acquire statistical significant different at .05 level and Constructing Norms by Percentile Norms and Percentile Rank. The results were as follows: The physical fitness tests for physical education students of Rajabhat University, Thailand comprised five items: one mile walk/run, sit and reach, 60 second-sit-ups, push-ups and body mass index (BMI).  The results also revealed that IOC of the five items were accordant. The reliability and objectivity of the tests were at the good and very good levels, respectively. Norms of each items of health-related physical fitness, both for male and female first year students, from Percentile. Norms and Percentile Rank were divided into 5 levels which were very good, good, fair, rather low and low.

Downloads

How to Cite

ทัพซ้าย น. (2016). การพัฒนาแบบทดสอบและสร้างเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายสำหรับนักศึกษาพลศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ ประเทศไทย. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 128–140. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54597

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)