การใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ในการสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่น : กรณีศึกษา ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นชาวไทย

Authors

  • ไอลดา ลิบลับ หลักสูตรภาษาญี่ปุ่นศึกษา ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

Keywords:

กลวิธี, ผังมโนทัศน์, การสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่น, Strategy, Concept Mapping, Teaching Reading of Japanese

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สำรวจประสิทธิภาพของการใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ในการสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น 2) สำรวจผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนในการใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ในการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นต้น 3) ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อกลวิธีผังมโนทัศน์ในการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ การใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ในการสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่น : กรณีศึกษา ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นชาวไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม จำนวน 35 คน ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 คาบ คาบละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่นโดยใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ 5 ชนิด ได้แก่ 1) แผนผังใยแมงมุม 2) แผนภูมิขั้นบันได 3) แผนภาพลำดับการคิดเปรียบเทียบ 4) แผนผังก้างปลา 5) แผนภูมิกง จำนวน 7 แผน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามสำรวจเจตคติแบบมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.83 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่า่เฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. กลวิธีผังมโนทัศน์ทั้ง 5 ชนิด ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นได้ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายด้านทุกด้าน 2. ผลสัมฤทธิ์การสอบหลังใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ มีคะแนนเฉลี่ยรวมร้อยละ 80.76 สูงกว่าการสอบก่อนเรียนร้อยละ 18.19 3. ผู้เรียนรู้สึกเห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการนำกลวิธีผังมโนทัศน์มาใช้ในการอ่านภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นเฉลี่ยในระดับ 3.53 จากคะแนนเต็ม 4.00 กล่าวโดยสรุปคือกลวิธีผังมโนทัศน์ทำให้การอ่านภาษาญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้สอนจะต้องจ้ดสรรเวลาในการอ่านให้เหมาะสม และควรใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ในการทำกิจกรรมสรุปใจความสำคัญ ซึ่งอาจประยุกต์ใช้เป็นกิจกรรมเสริมนอกห้องเรียน (Outside Reading Activities) รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอนทักษะอื่น เช่น การพูด และการเขียนได้ด้วย
This present study has been conducted with the major aim to examine the use of concept mapping strategy in an elementary  Japanese reading class of Thai learners. The sampling consists of 35 second year students majoring in Business Japanese at Chandrakasem Rajabhat University. The experimental study of 50 minute classes each week has lasted 7 weeks.  The instrument  used in this study consisted of 7 lesson plans on elementary  Japanese reading equipped with 5 concept mapping strategies as follows 1) spider map, 2) time ladder map, 3) contrast overlay map, 4) fish bone map, and 5) pie chart map. In addition 30-item pre-test and post-test  were used to assess learning outcome as well as a 4-scale survey to evaluate learner’s attitude. The instruments have been rated to have 0.83 reliability. Statistics  used to analyze the obtained data were percentage, mean and standard deviation. The findings were as follows: 1. The 5 concept mapping strategies used in this study were determined to highly optimize  reading  efficiency  of elementary Japanese  reading learners both in each and overall perspective. 2. The post-test  result indicated the progress  of 80.76  per  cent  which  was  in accordance with the hypothesis. 3. According to the survey, the learners appeared  to be  highly  satisfied  with  the using  of concept  mapping  strategy  in this elementary Japanese reading class at the level of 3.53 out of 4.00 which was in accordance with the hypothesis.  As can be seen in the findings, the use of concept mapping strategy in the elementary Japanese  reading  class could  optimize  better  learning  achievement as well as motivating  learners  to contribute more collaboration. However  teachers  should arrange activities which allow students to spend enough time on reading. Additionally, concept  mapping strategy should  be used in summarizing  the main ideas when it can be assigned  as an outside  reading  activity. Furthermore,  concept  mapping  strategy  can be applied into writing and speaking class as well as into efficiently summarizing important knowledge in other classes.

Downloads

How to Cite

ลิบลับ ไ. (2016). การใช้กลวิธีผังมโนทัศน์ในการสอนการอ่านภาษาญี่ปุ่น : กรณีศึกษา ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นชั้นต้นชาวไทย. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(1), 262–270. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54613

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)