กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : กรณีศึกษาสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม

Authors

  • เรียวรุ้ง บุญเกิด หลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

กระบวนการยุติธรรม, ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, สำนักงานยุติธรรมจังหวัด, การไกล่เกลี่ย, Process of Judgment, Restorative Justice, Provincial Justice Office, Mediation

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถประสงค์เพื่อศึกษา 1) กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์โดยสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม 2) เงื่อนไขความสำเร็จของกระบวนการไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาท  และ 3) ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บุคลากรสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม เครือข่าย และผู้เข้าร่วมกระบวนการไกล่เกลี่ย จำนวน 18 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-denth Interview) ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคามใช้รูปแบบการไกล่เกลี่ย โดยกระบวนการเริ่มต้นประชาชนสามารถติดต่อได้ทั้งช่องทางจากสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคามและช่องทางจากเครือข่าย โดยมีขั้นตอนในการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชืงสมานฉันท์ที่สำคัญ คือ การเข้าสู่กระบวนการการจัดเวทีไกล่เกลี่ย การประสานส่งต่อกรณีพิพาทโดยมีเงื่อนไขความสำเร็จในการไกล่เกลี่ยที่สำคัญ 5 เงื่อนไข คือ 1) ความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย 2) ต้องมีผู้ไกล่เกลี่ยที่มีลักษณะของผู้ไกล่เกลี่ยที่ดี 3) การไกล่เกลี่ยที่เกิดขึ้นในบริบทชุมชนหรือพื้นที่ที่มีวัฒนธรรมประเพณีในการเคารพผู้ใหญ่ 4) การได้รับการสนับสนุนทั้งความรู้ความร่วมมือจากคณะกรรมการบริหารสำนักงานยุติธรรมจังหวัด 5) การเลือกเวทีไกล่เกลี่ยที่คู่กรณีคุ้นเคย จะส่งผลให้การไกล่เกลี่ยสามารถดำเนินไปอย่างราบรื่นและสำเร็จได้ แต่อย่างไรก็ตามการดำเนินกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์พบปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ แบ่งเป็น 9 ประการ คือ 1) ปัญหาด้านสถานที่ตั้งของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดยังคงอาศัยในหน่วยงานอื่น 2) ปัญหาด้านการดำเนินงานของคณะกรรมการบริหารสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคามที่ไม่สามารถบริหารงานได้อย่างเต็มที่ 3) ปัญหาด้านบุคลากรที่ขาดความรู้ความสามารถและความขัดแย้งในหน่วยงาน 4) ปัญหาด้านการประชาสัมพันธ์ที่เป็นเชิงรับมากกว่าเชิงรุก 5) ปัญหาของการเก็บสถิติการไกล่เกลี่ยที่ไม่มีเครื่องมือมาตรฐาน 6) ปัญหาด้านลักษณะผู้ไกล่เกลี่ยที่ความสัมพันธ์ทางสังคมกับคู่กรณ๊ทำให้เกิดการจำยอมในการไกล่เกลี่ย 7) ปัญหาด้านค่าใช้จ่ายและอุปกรณ์ในการดำเนินการ 8) ปัญหาด้านความร่วมมือจากหน่วยงานที่อยู่ในกระบวนการยุติธรรม ประการสุดท้าน 9) ปัญหาจากการไม่ติดตามผลการดำเนินการ
Purpose of this  qualitative  research is  to study  the reconciliation processes of provincial  justice office with  case study  of Mahasarakham provincial justice office and to study the conditions  of success for mediating the disputes and obstacles of these processes. Samples of this  research are Mahasarakham provincial justice office’s officers, its network and  participants  (18 persons) in  mediation processes etc. by purposive sampling and in- depth interview. The conditions of success in mediation with  the  following  5 conditions  is 1) the willingness  of both parties  to the mediation process begins. 2) requires mediators have a great mediator. 3) mediation  that occurred in  the context where a culture of respect for elders. 4) supported  the knowledge  and cooperation of the Office  of Justice  Provincial Executive Committee.  5) Selection  of the familiar  parties will make the result in mediation can be carried out smoothly and successfully. The  problems and suggestions  the following 9 issues include 1) The location of the office of justice province still live in the other unit.  2) The  operation  of  the  Executive Committee of Mahasarakham Ministry of justice provincial office can not be fully managed. 3) The personnel lack knowledge and have conflict in the agency Justice Provincial. 4) The publicity that is reactive  rather  than  proactive.  5) In the data collection of mediation is not standardized of data  collection.  6) The  characteristics   of mediator who have a social relationship with disputer. Cause of the surrender of the mediation. 7) The costs and equipment in operation process. 8) The cooperate with the agency in the justice system. 9) The problem of failure to follow up the implementation.

 

Downloads

How to Cite

บุญเกิด เ. (2016). กระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์ : กรณีศึกษาสำนักงานยุติธรรมจังหวัดมหาสารคาม. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(1), 271–279. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54614

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)