รูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืนในจังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ

Authors

  • จุฑามาส ชมผา สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

Keywords:

รูปแบบการบริหารจัดการ, การบริหารจัดการอย่างยั่งยืน, เทศบาลเมือง, Model for Administration, Sustainable Administration, Mueng Municipality

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ ประการที่สองเพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืน และประการสุดท้ายเพื่อยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืน แบบของการวิจัยและพัฒนา โดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็นสามระยะ ซึ่งระยะแรก เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ประชาชนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น ทั้ง 8 เทศบาลเมือง จำนวน 103,654 คน สุ่มเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 399 ตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .92 สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ใช้การวิเคราะห์สมการโครงสร้างเชิงเส้น (Path Analysis) โดยใช้โปรแกรมลิสเรล (LISREL) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสหสัมพันธ์เพียรสัน (Pearson Correlation) ระยะที่สอง นำผลที่ได้จากระยะแรกมายกร่างรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญวิพากษ์รูปแบบและยืนยันความเป็นไปได้ของร่างรูปแบบ และระยะสุดท้ายใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้สร้างรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ แล้วนำรูปแบบนั้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญผลตรวจสอบยืนยัน (Expert Verify) และวิพากษ์ให้ข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุง ซึ่งผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถามยืนยันรูปแบบที่ได้จากการวิจัย ซึ่งมีทั้งแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่าและแบบวิจารณ์จากนั้นได้ทำการวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากข้อแนะนำหรือข้อวิพากษ์ของผู้เชี่ยวชาญนำมาปรับปรุงแก้ไขพร้อมทั้งนำมาเทียบเคียงกับบริบทของการวิจัยและปรับปรุงแก้ไขจนได้รูปแบบที่สมบูรณ์ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อ การบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ คือปัจจัยด้านภาวะผู้นำของผู้บริหาร ปัจจัยด้านความรู้สามารถของบุคลากร และปัจจัยด้านธรรมาภิบาลในองค์กร 2) เมื่อผลจากระยะแรก
มายกร่างรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญได้แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืน 3 แนวทาง คือ การพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหาร การพัฒนาความรู้สามารถของบุคลากร และการพัฒนาธรรมาภิบาลในองค์กร 3) ผลตรวจสอบยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืนในจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยผู้เชี่ยวชาญ เสนอว่าให้เพิ่มปัจจัยการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนของเทศบาลเมือง เป็นปัจจัยที่สี่ และรูปแบบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นนั้นมีความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก
The purposes of the research was divided into three phases : 1) focused on analyzing the factors affecting sustainable Administrtion for Mueng Municipality in Ubonratchathani SriSakes Yasothon and Amnajcharoen Provinces. The sample ware 399 voters in Ubonratchathani SriSakes Yasothon and Amnajcharoen Province; Taro Yamane method was employed for calculating the sample size. The instrument was a questionnaire with .92 reliability index. The statistics used were Path Analysis : with the .05 level of statistical significance, and Pearson Correlation. 2) Designing a model for improving sustainable Administration of Mueng Municipality in Ubonratchathani SriSakes Yasothon and Amnajcharoen Provinces. 3) Assessing a model by experts and the model was assured by the Expert Verify technique and criticizing method. The data were collected by questionnaires and criticizing forms, and the data analyzed and synthesized were compared with the research context and used to improve a model. Results of the research were as follows: 1) The finding showed that the factors affected sustainable Administration of Mueng Municipality in Ubonratchathani SriSakes Yasothon and Amnajcharoen Province were leader ship of manager, ability of personnel and good governance in organization. 2) The model for sustainable Administrtion of Mueng Municipality in Ubonratchathani SriSakes Yasothon and Amnajcharoen Provinces consisted of 3 guideline development : A development guideline of leader ship of manager, A development guideline of ability of personnel and A development guideline of good governance in organization. 3) The findings indicated that the value of the development model efficiency regarding the assessment of the experts was at a high level.

Downloads

How to Cite

ชมผา จ. (2016). รูปแบบการบริหารจัดการเทศบาลเมืองอย่างยั่งยืนในจังหวัด อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 162–172. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54724

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)