ยุทธศาสตร์ภาครัฐในการพัฒนาฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย

Authors

  • ตรีลุพธ์ ธูปกระจ่าง นักศึกษาหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วิทยาลัยการจัดการเพือการพัฒนา (TSU - MDC) มหาวิทยาลัยทักษิณ

Keywords:

ยุทธศาสตร์ภาครัฐ, การพัฒนา, ฟุตบอลอาชีพ, Government, Strategy, Development, Professional, Football

Abstract

วิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สถานการณ์ปัจจุบันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย 2) ปัญหาอุปสรรคในการบริหารจัดการฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย และ 3) นำเสนอยุทธศาสตร์ภาครัฐในการพัฒนาฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย มีวิธีการวิจัยโดยการสนทนากลุ่มกับกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสโมสร ผู้จัดการทีม ครูผู้ฝึกสอน (โค้ช) และนักกีฬาที่มีชื่อเสียง จำนวน 12 ราย เพื่อนำข้อค้นพบมาสร้างแบบสัมภาษณ์และทำการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มที่ 1 ภาครัฐ ได้แก่ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลอาชีพ จำนวน 9 ราย และ กลุ่มที่ 2 ภาคเอกชนและภาคประชาชน ได้แก่ ผู้ที่มีประสบการณ์/ที่ปรึกษาที่รับผิดชอบการจัดการแข่งขัน ผู้ที่มีประสบการณ์/คณะกรรมการบริหารที่รับผิดชอบการจัดการแข่งขัน ผู้จัดการทีมสโมสรฟุตบอลไทยลีก ครูผู้ฝึกสอน (โค้ช) นักกีฬาฟุตบอลอาชีพ และแฟนบอล จำนวน 14 ราย กลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 23 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1. สถานการณ์ปัจจุบันฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ได้แก่ (1) การเลือนชั้นและการตกชั้น : มีการยกระดับนักฟุตบอลและมาตรฐานการเล่น (2) นักกีฬาฟุตบอลอาชีพ : การทำประตูใช้ทักษะความเป็นทีมและกลวิธีหลากหลาย (3) ค่าจ้างนักกีฬาฟุตบอลอาชีพ : ฟุตบอลเริ่มเป็นอาชีพมากขึ้นโดยมีมาตรฐานค่าจ้างที่เหมาะสมให้แก่นักกีฬาและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง (4) ครูผู้ฝึกสอน (โค้ช) : มีการพัฒนาขึ้นตามระดับของสหพันธ์ฟุตบอลเอเชีย (AFC) โดยใช้ต้นแบบลีกจากต่างประเทศ (5) กรรมการตัดสินการแข่งขัน : ยึดกฎเกณฑ์ กติกา อย่างเคร่งครัดเพื่อรักษาชื่อเสียง (6) แฟนบอลฯลฯ : สถาบันการศึกษา สร้างหลักสูตรสาขาฟุตบอลอาชีพและท้องถิ่นสนับสนุนปลูกฝังวัฒนธรรมให้เยาวชนสนใจในการเล่น แข่งขัน ชม และเชียร์กีฬาฟุตบอล (6) ภาคีหลายภาคส่วน : ริเริ่ม จัดตั้งและบริหารทำให้ทีมฟุตบอลอาชีพเกิดเอกภาพและมีความเข้มแข็ง (7) ผู้สนับสนุน : เป็นสปอนเซอร์ด้วยงบประมาณรายใหญ่ (8) กระตุ้นการพัฒนาขีดความสามารถ:ระหว่างทีมสโมสรต่าง ๆ เพื่อมีโอกาสเข้ารับงบประมาณและรางวัล (9) ฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย : พัฒนาสนุกตื่นเต้นมากขึ้น (11)ศึกษาข้อมูล วิจัยและพัฒนา :ทำแผนพัฒนากีฬาอาชีพอย่างต่อเนื่องและ (12) ปรับปรุงข้อกฎหมาย : เพื่อการพัฒนาคุ้มครองนักกีฬาและบุคลากรกีฬา2.ปัญหา-อุปสรรคในการบริหารจัดการฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ได้แก่ (1) ด้านบุคลากร : นักกีฬาฟุตบอลอาชีพยังขาดแคลนผู้ที่มีทักษะมีความสามารถอยู่มาก ไม่จูงใจแฟนบอล ขาดการนำวิทยาศาสตร์การกีฬามาพัฒนาศักยภาพขั้นพื้นฐานแก่นักกีฬาและขาดการบ่มเพาะจริยธรรมความเป็นทีม ขาดครูผู้ฝึกสอน (โค้ช) ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านฟุตบอล กรรมการผู้ตัดสินไม่เป็นมืออาชีพ ไม่มีมาตรฐานและขาดความเที่ยงตรง (2) ด้านเงินและงบประมาณ : มีข้อจำกัดอีกมาก ภาครัฐจัดสรรงบให้ไม่เพียงพอต่อลีกอาชีพเมืองไทยและภาคเอกชนสนับสนุนค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่ภาคเอกชนให้การสนับสนุนงบประมาณมากกว่าภาครัฐโดยเฉพาะในต่างจังหวัด แต่จะไปกระจุกตัวอยู่ที่ทีมขนาดใหญ่ ผู้สนับสนุนจากต่างประเทศยังไม่มี (3) ด้านบริหารจัดการ : บุคลากรผู้เกี่ยวข้องกับฟุตบอลอาชีพยังไม่เป็นมืออาชีพ อำนาจส่วนใหญ่อยู่ที่สมาคมฟุตบอลส่วนกลาง ผู้บริหารสมาคมฯแบ่งเป็นฝักฝ่าย ไม่สามารถวิเคราะห์ศักยภาพของนักฟุตบอล โดยคณะบริหารของทีมฟุตบอลอาชีพ เป็นบุคคลภายนอกวงการฟุตบอล เน้นการทำกำไรและหวังผลประโยชน์ทับซ้อน และประการสำคัญไม่มีแผนยุทธศาสตร์ฟุตบอลอาชีพโดยตรง จึงทำให้ขาดการวางแผน ในการพัฒนาทีมในระยะยาว (4) ด้านสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์และสิ่งอำนวยความสะดวก : คุณภาพของสนามการแข่งขันยังไม่ได้มาตรฐาน แสงสว่าง ที่นั่งไม่เพียงพอ ต่างจังหวัดยังขาดสนามฝึกซ้อมที่ได้มาตรฐาน เพราะยังขาดการดูแลเอาใจใส่จากภาครัฐเมื่อเทียบกับทีมที่อยู่ในกรุงเทพมหานคร ความพร้อมของอุปกรณ์ในการฝึกซ้อมของทีมในลีกที่ระดับต่างกัน ทำให้เกิดการผูกขาดทีมประจำลีกต่าง ๆ เนื่องจากทีมเล็กไม่สามารถพัฒนาศักยภาพทีมขึ้นมาแข่งขันกับทีมที่ระดับสูงกว่า การเดินทาง หรือการคมนาคมของแฟนบอลและนักฟุตบอลไม่สะดวก การจัดระบบรักษาความปลอดภัยในการแข่งขันไม่ครอบคลุมทั่วถึง ทั้งแฟนบอลทั้งเหย้าและทีมเยือน นักเตะ และกรรมการผู้ตัดสิน (5) ด้านการมีส่วนร่วม : แฟนบอลไทยหลังการแข่งขันฟุตบอล “กีฬาแพ้แล้ว แต่คนยังไม่แพ้” ความสนใจและการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อฟุตบอลอาชีพยังคงมีความแตกต่างกัน กล่าวคือ ประชาชนให้ความสนใจกับทีมฟุตบอลที่มีชื่อเสียง มีนักฟุตบอลที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นทีมขนาดใหญ่มากกว่าทีมขนาดเล็ก เยาวชนมาร่วมชมและเชียร์ฟุตบอลน้อย ประชาชนขาดโอกาสการติดตามชมและเชียร์ทีมอย่างต่อเนื่อง เพราะไม่ทราบข้อมูลข่าวสารทั้งในและต่างประเทศ และ (6) ด้านประชาสัมพันธ์ : ภาครัฐให้ความสำคัญกับการประชาสัมพันธ์ของฟุตบอลอาชีพน้อย ขาดการเชื่อมประสานงานอย่างต่อเนื่องและบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ทีวีภาครัฐไม่ถ่ายทอด (ช่องฟรีทีวี) ทั้งขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งสื่อโทรทัศน์วิทยุ หรือเครือข่ายโซเชียลต่าง ๆ ต่างจังหวัด ป้ายประกาศจะมีบ้าง การประกาศแจ้งข่าวล่าช้า สื่อกีฬามักจะลงข่าวตามเงินว่าจ้างของสโมสร ให้ข่าวเสื่อมเสียแก่สโมสรที่ไม่ได้รับผลประโยชน์ และขาดการประชาสัมพันธ์ของฟุตบอลอาชีพไปยังต่างประเทศ 3.ยุทธศาสตร์ภาครัฐในการพัฒนาฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย ระยะปี พ.ศ.2559 - พ.ศ.2564 วิสัยทัศน์ : ฟุตบอลอาชีพไทยไปสู่ฟุตบอลโลกพันธกิจ (1) นักฟุตบอลและบุคลากรผู้เกี่ยวข้อง มีความรู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามมาตรฐานของ AFC และ FIFA (2) พัฒนาสโมสรและสมาคมฟุตบอลในเชิงธุรกิจ เน้นการกีฬาร่วมกับการตลาดเชิงรุก(3) เสริมสร้างการประชาสัมพันธ์ฟุตบอลไทยสู่สากล (4) สร้างและพัฒนาเยาวชนในท้องถิ่น เพื่อเป็นดาวเด่นในฟุตบอลอาชีพ และ (5) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ โดยประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ซึ่งแต่ละยุทธศาสตร์ มี 4 กลยุทธ์ ที่เป็นมิติประสิทธิผล มิติคุณภาพบริการ มิติประสิทธิภาพ และมิติการพัฒนาองค์กร เรียงลำดับ คือยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาบุคลากรอย่างมืออาชีพ : กลยุทธ์ (1)สร้างทีมฟุตบอลอาชีพในอนาคตให้เกิด One Province One Team (2) สถาบันการศึกษาสร้างหลักสูตร คัดผู้เชี่ยวชาญเป็นผู้สอน/ทำบันทึกข้อตกลงในและต่างประเทศ/ให้ทุนเรียนสาขาฟุตบอลอาชีพ (3) นำเทคโนโลยี กลวิธี และวิทยาศาสตร์การกีฬามาปรับใช้ในการพัฒนาฟุตบอล และ (4) ฝึกอบรมพัฒนาทักษะนักกีฬาฟุตบอลและทีมงานที่เกี่ยวข้องยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาองค์กรในเชิงธุรกิจอย่างยั่งยืน : กลยุทธ์ (1) บริหารจัดการแข่งขันทีมเหย้า-ทีมเยือน จูงใจให้ประชาชนมาชมและเชียร์ฟุตบอล (2) ประชาสัมพันธ์และฝึกอบรมให้ประชาชนทราบถึงกฎ กติกา ระเบียบและข้อกฎหมายของการแข่งขันที่ถูกต้อง(3) พัฒนาความพร้อมของสนามในการแข่งขันให้มีมาตรฐาน และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องมีความคุ้มค่า และ (4) พัฒนาทีมสโมสรและสมาคมฟุตบอลในเชิงธุรกิจ เน้นการกีฬาร่วมกับการตลาดเชิงรุก ด้วยมาตรการลดภาษีแก่ผู้บริจาคและสร้างรายได้จากชุดทีม ของที่ระลึกยอดนิยมยุทธศาสตร์ที่ 3 สร้างอัตลักษณ์และชือเสียงสู่สากล : กลยุทธ์ (1) เสริมสร้างการประชาสัมพันธ์ สื่อสาร และการถ่ายทอดสู่สากล (2) ประชาสัมพันธ์การแข่งขัน และการแนะนำผู้สนับสนุนผ่านสื่อต่างๆ (3) ปรับประยุกต์พัฒนาทีมฟุตบอลอาชีพให้มีมาตรฐานก้าวสู่ความเป็นเลิศ ยกระดับความเป็นมืออาชีพโดยมีแผนยุทธศาสตร์เป็นทิศทาง และ (4) ศึกษา วิเคราะห์และสังเคราะห์รูปแบบจากลีกต่างประเทศ และนำมาเป็นต้นแบบสำหรับฟุตบอลยุทธศาสตร์ที่ 4 เสริมสร้างความร่วมมือกับท้องถิ่น : กลยุทธ์ (1) สนับสนุนกีฬาฟุตบอลระดับครอบครัว ชุมชนและในหมู่บ้าน จัดการแข่งขันในท้องถิ่นของตนเอง (2) ปลูกฝังวัฒนธรรมให้เด็กและเยาวชนในท้องถิ่นสนใจและเล่นกีฬาฟุตบอล ด้วยจริยธรรมและความเป็นทีม (3) คัดสรรดาวเด่นด้านฟุตบอลให้ยึดเป็นอาชีพหลักในอนาคต และ (4) จัดทำระบบข้อมูล วิจัยและพัฒนาด้วยกระบวนการวิจัยชุมชนอย่างมีส่วนร่วมยุทธศาสตร์ที่ 5 ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายให้สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ : กลยุทธ์(1) ข้อกฎหมายนำมาบังคับใช้ด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างเคร่งครัด (2) ปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (กรรมการผู้ตัดสิน/นักฟุตบอล/ผู้ชมและเชียร์ฯลฯ (3) ให้ความรู้และข้อพึงปฏิบัติ เคารพกฎเกณฑ์การตัดสินเผยแพร่ให้ประชาชนทราบกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับฟุตบอลอาชีพ และ (4) ภาครัฐและภาคีทุกภาคส่วนให้ความร่วมมือพัฒนากฎ กติกา ระเบียบและข้อกฎหมายให้เป็นมาตรฐานสากลท้ายที่สุด ผู้วิจัยได้แผนภาพยุทธศาสตร์ภาครัฐในการพัฒนาฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย เพื่อการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์เป็นรูปธรรมในการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป

The purposes of the research on “Government Strategy for developing professional football in Thailand” are 1) Study on the current situation of professional football in Thailand 2) Study on the problems management in professional football in Thailand 3) Present the strategic on Government Strategy for developing professional football in Thailand The process the sample group as such the administrator of association, manager of football team, trainer or coach and the 12 famous footballers in order to gain the information and outline the interview. Therefrom the procedure will focus on in-depth interview to the specific target groups as follow: the first group are the administrators and officers from the government agencies that related to the professional football. Second group are the private and public sectors which are the experienced advisers who responsible on football match, the experienced administrators who responsible on football match, team manager of Thai League Club, trainer or coach of football team, professional footballers and 14 football fans including all around 23 persons. The research can be concluded that;1.Current situations of professional football in Thailandare (1) football improve itself into the professional level with a standard fare for the footballer and involving people. (2) The standard of footballer and technique are improve to the better level. (3) The football match improved with the new technique that make the game more interesting for the audience. (4) Create the new star or famous footballer for the football team in order to publicize travelling business in country. (5) To have footballers and coaches from various nationalities and for that matter the footballer will be able to gain a lot of experiences and lessons from those people. (6) The trainers improving their techniques based on the standard of AFC. (7) Educational institutes add the professional football program into their program and support children to play of this research done by the focus group with football. (8) Study and analyze the information to continuing develop the professional sport plan in long term and improve the law to develop and protect professional sportsman. (9) The judge in game adhere the rules of game. (10) The use ofscience and technology to develop sportsman in both physical and mentality in order to be able to deal with all situations and control the emotional. (11) Many associations began to create and organize a professional football team and built the unity among those teams. and (12) Main supporters’ enthusiasm make the football club to improve their teams at all time. 2.Problem on the management of professional football in Thailand (1)Human Management; The lack of professional footballer is the main problem that make football match in Thailand not attractive to the audience and cannot join football league with Middle east. To hire coach or trainer from other countries will cause more expenditure and time consuming to ask for visa and permission. (2) Budget; there are the limited budget from the government and private sector in order to support professional football in Thailand. To finding the budget by the team itself cannot attract to the people because of the team still not be known for people. For that matter, it is important for the government to support for the budget. Also the support from the private sector only focus on the big-name team. (3) Administration; person involving with professional football still not a professional. Only the main football club that has the real power to management, the administrator of the club are fraction and lack of the proper coordinate. Moreover, the administrators are not able to analyze the ability of footballers but focus on how to make the profit. This is the main problem that make the professional football cannot develop and built the team in the long term. Also the supporter on the budget change at all time and depend on the politic leading to the transfer of footballer and the change of football club’s name. This may probably leads to arrive the agreement on which football team will win the match. Moreover, the lack of strategy plan on professional football will cause to the lack of team developing in long term.(4) Stadium material equipment and facilities: Stadium quality is not up to standard insufficient lighting and seats. In upcountry province, training facilities is not up to standard as a consequence of less attention from government comparing to teams in Bangkok. According to such difference, the monopoly situation by bigger team happens in each different league, smaller team in lower league is incapable to develop their team to compete the higher league team. Apart from that, the inconvenience of transportation both players and supporters, security management system which still not cover to handle home/away supporters, home/away player and judges. (5) Participation: Thai supporter is not discipline not respect to the rules. The problem of rival supporters fighting after match still persist as per the quote “Team lost, but supporter not lost”. Interest and level of participation to professional football league among people still different, people is giving more interest to famous team who having superstar player. In smaller team, less number of youth audience, supporter have less continuity of watching and following matches as a consequence of less media publication both domestic and international. and (6) Public relation: Government is not fully supporting the media publication of Thai Professional Football League, lack of sustainable and continuous cooperation among each responsible department. An obvious example is Government television (Free TV) is not broadcasting matches as well as other media such as radio, social media poster and billboard, in some case the news publication is not timely. Most importantly, sport media will only public the news as paid for, to discredit other clubs that is not sharing benefit and lack of international public communication for Thai professional football league3.Government Strategy for developing professional football in Thailand (in 2016-2021) Vision : Thai’s professional football be able to join the world’s football Mission : (1) Footballers and involving people make their goal to the standard of FIFA or AFC (2) Developing football clubs in term of business (3)Support and publicize Thai football into international stage (4)Create and develop juvenile to be a professional football and (5) Improve the law in accordance with the current situation Government Strategy for developing professional football in Thailand consist of 5 strategies and in each strategy comprise with 4 tactics as follow;First strategy, developing people as a professional, the tactics are; (1) Create professional football team in future “One Province One Team” (2) Educational institutes add the professional football program into their program and making MOU in both internal and international stage. (3) Bring the new techology adapting to develop football. (4) Training skill to footballers and involving people.Second strategy, developing associations in term of sustainable business, the tactics are; (1) Manage the football match and make it attract to people. (2) Publicize and training people to understand the rules of football game. (3) Make the football field to reach it standard and use of the quality equipment. (4) Development football club in term of business and use the measure of taxation to reduce tax for the donators.Third strategy, making the identities and reputation into international stage, the tactics are; (1)Strengthen the methods of public relation into international stage.(2) Publicize the football match and introduce the supporter through the media. (3) Adapt the measure on developing professional football to reach international standard and have the strategic plan on such measure. (4) Study and analyze technique from international LeagueFourth strategy, strengthethe cooperationamong the locality, the tactics are; (1) Support football game in family, community and having their own match. (2) Cultivate culture to juvenile to interest in football. (3) Finding the Star of teamand use football as a career. (4) Making the information system, analyze the process in community.Fifth strategy, improve and amend the law in accordance to the situation, the tactics are; (1) Use the law under the way of good governance. (2) Improve and amend the law. (3) Educate people to know and understand the rules and law involving professional football (4) Public sectors and other sectors to cooperate and improve rules to reach international standard.

How to Cite

ธูปกระจ่าง ต. (2016). ยุทธศาสตร์ภาครัฐในการพัฒนาฟุตบอลอาชีพของประเทศไทย. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(1), 78–96. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54812

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)