มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญาของสถาบันอาชีวศึกษาจากการกระทําผิดกฎหมายของนักศึกษาในสถาบันต่อนักศึกษาต่างสถาบันและต่อบุคคลภายนอก

Authors

  • ศักดิ์ชัย ดีละม้าย

Keywords:

มาตรการทางกฎหมาย, ความรับผิดทางแพ่งและอาญาของสถาบันอาชีวศึกษา, การกระทำผิดกฎหมายของนักศึกษา, นักศึกษาต่างสถาบันและบุคคลภายนอก, สถาบันอาชีวศึกษา, Legal Measure, Civil and Criminal Liabilities of Vocational Institutions, The Students’s Illegal Action, To th

Abstract

ฎีนิพนธ์ฉบับนี้มีรูปแบบการวิจัยแบบเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ.2551 ใช้บังคับถึงสถาบัน
อาชีวศึกษาของรัฐและเอกชน เพื่อการเรียน การสอนทางวิชาการ โดยมิได้มุ่งสร้างคุณธรรมและจริยธรรมของนักเรียนนักศึกษาอาชีวะ ซึ่งสภาพปัญหาในปัจจุบันและสภาพภาวะสังคมไทยของนักเรียนและนักศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาเป็นกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาซึ่งเป็นวัยแห่งการเปลี่ยนแปลงทั้งร่างกายและจิตใจ ปัญหาการทะเลาะวิวาทของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาในสังคมไทยเริ่มรุนแรงขึ้นทุกวัน ซึ่งเป็นประจักษ์ต่อสาธารณชน จากการทะเลาะวิวาทของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาในแต่ละครั้งจะมีผู้ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ตลอดจนทรัพย์สินของทั้งสองฝ่าย และบุคคลภายนอก ก่อให้เกิดความเดือดร้อนและเสียหายไม่ว่าจะเป็นตัวผู้ก่อเหตุเองและผู้ปกครองของกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาต่าง ๆ รวมถึงบุคคลภายนอกด้วยประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการศึกษาวิจัยประกอบด้วยนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ในด้านกฎหมายแพ่งและทางอาญา อาจารย์ในสถาบันอาชีวศึกษา นิติกร ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่กระทรวงศึกษาธิการและกรมอาชีวศึกษา อาจารย์มหาวิทยาลัยในคณะนิติศาสตร์ และประชาชนทั่วไป จำนวน 40 คน โดยเลือกกลุ่มประชากรแบบเจาะจงและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ โดยที่ผู้วิจัยใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเองแล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ได้บัญญัติ หลักเกณฑ์ข้อบังคับ ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการในเรื่องการศึกษาไม่ว่าของภาครัฐหรือเอกชนโดยเฉพาะ ให้มีคุณภาพ และเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียนให้ได้รับโอกาสทางด้านการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าจะเป็นผู้ที่มีร่างกายปกติ หรือร่างกายพิการ และบัญญัติถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการตรวจสอบและประเมินไม่ว่าจะเป็นในส่วนของสถานศึกษา บุคลากร ตลอดจนนักเรียนนักศึกษา ให้มีมาตรฐานและคุณภาพ ตามที่กำหนดไว้ ตลอดจนกำหนดให้การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข แต่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 มิได้กำหนดเกี่ยวกับบทลงโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญาไว้ในกรณีที่ นักเรียนนักศึกษาก่อเหตุทะเลาะวิวาทในและนอกสถาบันไว้โดยเฉพาะซึ่งเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย และทรัพย์สินของบุคคลอื่นนอกจากนี้แล้ว ตามพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติโรงเรียนเอกชน พ.ศ. 2550 ซึ่งบัญญัติให้สอดคล้องตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 แต่มิได้กำหนดเกี่ยวกับบทลงโทษทั้งทางแพ่งและทางอาญาในกรณีที่นักเรียนนักศึกษาของสถาบันอาชีวศึกษาก่อเหตุงกายของบุคคลอื่น ซึ่งสถาบันการอาชีวศึกษาจำต้องให้การอบรมสั่งสอนแก่นักศึกษาด้านความรู้ทางวิชาการ ให้มีสติปัญญา ความรู้ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อสร้างคุณธรรมและจริยธรรมทางวิชาการ โดยที่สถาบันอาชีวศึกษาต่างประเทศในสหรัฐอเมริกา มลรัฐวอชิงตัน มลรัฐนิวเจอร์ซี่ และประเทศแคนนาดา มณฑลมินิโตบา มีการกำหนดการลงโทษปรับหรือโทษจำคุก สถาบันอาชีวศึกษาซึ่งเป็นโทษทางอาญาและกำหนดให้ชดใช้ค่าเสียหายในทางแพ่งในฐานความผิดที่เป็นการฝ่าฝืนกฎระเบียบของกฎหมายที่ได้กำหนดไว้ในสถาบันอาชีวศึกษา ผู้วิจัยมีความเห็นว่า การแก้ไขบทบัญญัติของกฎหมายโดยให้สถาบันอาชีวศึกษารับผิดทางแพ่งและอาญาและควรให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายซึ่งเกี่ยวข้องกับความประพฤติและพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนนักศึกษา และเยาวชนมีการบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดและจริงจัง ผู้วิจัยได้เสนอให้มีการตรากฎหมายความรับผิดทางแพ่งและอาญาของสถาบันอาชีวศึกษาโดยเฉพาะและกรณีบทบัญญัติในกฎหมายใดไม่สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหา หรือเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินงานดังกล่าว ให้ส่วนราชการและหน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเสนอปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับแนวทางการแก้ไขของปัญหาและให้ตรากฎหมายเฉพาะเรื่องความรับผิดทางแพ่งและอาญาของสถาบันอาชีวศึกษา จากการกระทำผิดกฎหมายของนักศึกษาในสถาบันต่อนักศึกษาต่างสถาบันและต่อบุคคลภายนอก ชื่อ “พระราชบัญญัติว่าด้วยการลงโทษสถาบันอาชีวศึกษาอันเกิดจากการทะเลาะวิวาทของนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ......”

This dissertation is a qualitative research. The objective is to study the National Education Act of B.E. 2542, the Private University Act B.E. 2546, the Private School Act B.E. 2550, the Vocational Education Act B.E 2551 shall apply to public and private vocational institutions for learning and teaching in Academic but without the ethical and moral aims of vocational students. The current problems of social and economic conditions of the students and the Institute of Education is a group of adult students and students who change both physically and mentally. Contention issues of a group of students in the vocational education in Thailand getting tougher every day. Which is publicly manifested of the contentions of the vocational education students and students each have received the damage to life, body and property. Which is the both and others causing damage suffered and whether the cause of themselves and parents of students and students of various vocational institutions including the third person.The study consisted of academics. Expert in civil and criminal teachers in vocational legal officials and the Ministry of Education and Vocational Education Department. Professor in the Faculty of Law, University of and the general population of 40 patients by specific population groups and collected data through interviews. The research is based on interviews by the researcher created The data were analyzed according to the results of the study showed that the National Education Act B.E. 2542 was enacted rules and regulations relating to the management in education, whether the public or the private especially the quality and beneficial to the students to have the educational opportunities equally whether those with normal body or physical disability and refers to rules on monitoring and evaluating whether the school personnel and students. The quality and standards determinate as well as requiring the provision of education must be developed as a human being whole body, mind, intelligence, knowledge, and moral, ethical and cultural life can be shared with others but the National Education Act B.E. 2542 does not impose on both civil and criminal penalties in the case. Students cause controversy in and out of institutions especially that caused the damage to life, body and property of others. In addition, Private Higher Education Institutions Act B.E. 2546, Education Act B.E. 2551 and the Private School Act B.E. 2550, which constituted in accordance with the National Education Act B.E. 2542, but did not impose the sanction of both civil and criminal cases, students in the vocational education harm another person’s body. The institutions of vocational training have to teach the knowledge to students in academic. The wisdom knowledge, Ethics, Morality and Ethics scholars to comply with occupational educational institutions abroad such as The Institute of International Education in the United States, Washington State, New Jersey State and Manitoba province in Canada which is a fine or imprisonment. Vocational education, which is assigned to criminal penalties and civil defray the offense, in violation of the rules of law as set forth in vocational institutions. The study consisted of academics. Expert In civil and criminal Teachers in vocational legal officials and the Ministry of Education and Vocational Education Department. Professor in the Faculty of Law, University of and the general population of
40 patients by specific population groups and collected data through interviews. The research is based on interviews by the researcher created The data were analyzed according to the results of the study showed that the Education Act of 2542, imposed rules and regulations relating to the management in education is not. whether the public or private sector, especially given the quality and beneficial to the students to get equal opportunities in education and whether those with normal body functions. Or physical disability and provision of guidelines for monitoring and evaluating whether the school personnel and students. Standards and Quality Pursuant to It requires that management education must be to develop Thailand into a complete human being of body, mind, intellect, knowledge, and moral, ethical, and cultural life can coexist happily with others. The Education Act of 2542 was imposed on both civil and criminal penalties in the case. Students caused controversy in and out of institutions, in particular, which have caused damage to life and property of others. The Institute for Higher Education recognized the need to teach students the academic knowledge. The wisdom, knowledge, moral, ethical, moral, and ethical way to generate consistent with vocational institutions abroad. The researcher is of the opinion that to amend the provisions of the law by providing vocational institutions, civil and criminal liability should the government and the state agency with statutory authority, which involves the behavior and misbehavior of students. And youth with serious and strict law enforcement. Researchers have proposed the enactment of civil and criminal liability in the vocational education in particular, and the provisions of any law inconsistent with the solution. Or impede such operations. The government and the state agency with statutory authority to modify it to fit in line with the resolution of the problem and to enact legislation to civil liability and criminal matters of vocational education. The offense of students in institutions of international students and institutions to outsiders, the “Act on the Punishment vocational institutions arising from the controversy of students to be ...”.

Downloads

How to Cite

ดีละม้าย ศ. (2016). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดทางแพ่งและอาญาของสถาบันอาชีวศึกษาจากการกระทําผิดกฎหมายของนักศึกษาในสถาบันต่อนักศึกษาต่างสถาบันและต่อบุคคลภายนอก. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(1), 108–123. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54815

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)