การพัฒนารูปแบบการจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้ผลิตผ้าทอฝ้าย ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย

Authors

  • พัชรี ฉลาดธัญกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

Keywords:

การพัฒนารูปแบบ, การจัดการแบบมีส่วนร่วม, ผู้ผลิตผ้าทอฝ้ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม, Development Model, Participation Management, Eco-friendly Cotton Textile Groups

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพทั่วไปเกี่ยวกับการจัดการแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอฝ้ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย 2) พัฒนารูปแบบการจัดการแบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอฝ้ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา ผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวธิ วี ิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลัก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญคือประธานและสมาชิกกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นประธานและสมาชิกกลุ่ม จำนวน 156 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มผู้ผลิตผ้าทอฝ้ายเกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของสตรีในหมู่บ้านตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งเป็นโครงการที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้ชุมชนนำทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชนมาสร้างงาน สร้างรายได้และอาชีพ เพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ การดำเนินการผลิต ประกอบด้วยขั้นตอนของการจัดการวัตถุดิบ และขั้นตอนของการเตรียมเส้นด้าย การย้อมสี และการทอ สำหรับผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอฝ้าย ได้แก่ ผ้าผืนสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้า กระเป๋าผ้าม่าน ที่รองจาน และของที่ระลึก เป็นต้น 2) รูปแบบการจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้ผลิตผ้าทอฝ้ายที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ประกอบด้วย ปัจจัยหลัก 3 ประการ คือ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารจัดการ ภายในกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอฝ้ายประสบความสำเร็จการมีส่วนร่วมของผู้ผลิตผ้าทอฝ้าย และความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตผ้าทอฝ้าย ปัจจัยหลักทั้ง 3 ประการมีรายละเอียดดังนี้ ปัจจัยสำคัญที่ทำให้การบริหารจัดการภายในกลุ่มผู้ผลิตผ้าทอฝ้ายประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย (1) สมาชิกกลุ่ม (2) เงินทุน (3) วัสดุอุปกรณ์ และ (4) บริหารจัดการ ด้านการมีส่วนร่วมของผู้ผลิตผ้าทอฝ้าย ประกอบด้วย (1) การมีส่วนร่วมในการวางแผน (2) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงาน (3) การมีส่วนร่วมในการติดตามตรวจสอบและ (4) การมีส่วนร่วมในการแก้ไขเมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นและความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้ผลิตผ้าทอฝ้ายได้นำหลักเทคโนโลยีสะอาด 1A 3R 1T มาใช้ในกระบวนการผลิต ได้แก่ การหลีกเลี่ยง (Avoid) ลดการใช้ที่ไม่จำเป็น (Reduce) การใช้ซ้ำ (Reuse) การนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) และการบำบัดและทำลายทิ้ง (Treat and Dispose) 
The purposes of this research were to study: 1) the general conditions of ecofriendly participatory management of cotto textile groups in the lower northern of Thailand 2) developing an appropriate eco-friendly participatory management for the textile groups in the lower northern of Thailand. This research and development project used a mixed-method of quantitative and qualitative design, however; qualitative was the main method. Qualitative  using content analysis. Questionnaire was also used to collect quantitative data from leaders and members of the cotton textile groups (n = 156) and data was analyzed using frequency, percentage, mean and standard deviation. It was found that 1) the eco-friendly cotton textile groups were formed by co-operation of women in the villages resulting from One Tambon One Product (OTOP) project which encouraged and promoted self-support by applications of local resources and local knowledge to create jobs and supplementary revenue. This production process of cotton textile included raw materials management, dyeing, and weaving. The handmade products included cloths, finished cloths, bags, curtains, plate naperies, and souvenirs. 2) The three main factors of eco-friendly participatory management of the cotton textile groups in the lower northern of Thailand included: firstly, the success of participatory management resulting from the group members, funding, materials and equipment, and management style. Secondly, the participation of the cotton textile members was participating in planning, operating, accessing and evaluating, and problem solving. Thirdly, the eco-friendly practices of the cotton textile groups applied in the production process included avoidance, reduction, reuse, recycle and treat and dispose (1A 3R 1T). 

Downloads

How to Cite

ฉลาดธัญกิจ พ. (2016). การพัฒนารูปแบบการจัดการแบบมีส่วนร่วมของผู้ผลิตผ้าทอฝ้าย ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 246–255. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54925

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)