การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์ และข้าราชการ ในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Authors

  • ประสิทธิ์ ไชยศรี สาขาการจัดการการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

Keywords:

การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วม, สภาคณาจารย์และข้าราชการ, มหาวิทยาลัยราชภัฏ, Development Participative Model, Faculty Senate, Rajabhat University

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการในการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ 3) ประเมินความ
สอดคล้องของรูปแบบการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิง จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 263 คน
ประกอบด้วย ประธานสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 39 คน และกรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏ จำนวน 224 คน ผลกำรวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การมีส่วนร่วมดำเนินการ 2) การมีส่วนร่วมในการวางแผน 3) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล 4) การมีส่วนร่วมรับประโยชน์ และ 5) การมีส่วนร่วมคิดริเริ่มและตัดสินใจ ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง นำไปแยกองค์ประกอบด้วยวิธี การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) ได้องค์ประกอบ 4 องค์ประกอบ 1) การมีส่วนร่วมในการวางแผน 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 3) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ 4) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2. รูปแบบการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการมหาวิทยาลัยราชภัฏที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลักคือ 1) การมีส่วนร่วมในการประเมินผล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.95 มีองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบย่อย ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยงบประมาณ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.93 ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยบุคลากร มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.96 ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัวบ่งชี้ 2) การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.91 ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบย่อย คือ องค์ประกอบย่อยนโยบาย มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.99 ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบย่อยการปฏิบัติงานมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.99 ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 3 ตัวบ่งชี้ 3) การมีส่วนร่วมในการวางแผน มีค่าน้ำหนัก องค์ประกอบ 0.89 ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบย่อย คือองค์ประกอบย่อยยุทธศาสตร์มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.99 ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยมาตรการ มีค่านัำหนักองค์ประกอบ 0.99 ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 3 ตัวบ่งชี้ 4) การมีส่วนร่วมในการรับผลประโยชน์ มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.79 ประกอบด้วยองค์ประกอบย่อย 2 องค์ประกอบย่อย คือ องค์ประกอบย่อยทรัพย์สินมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.99 ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 2 ตัวบ่งชี้ และองค์ประกอบย่อยคุณค่า มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.99 ประกอบด้วยตัวบ่งชี้ 3 ตัวบ่งชี้ 3. รูปแบบการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ซึ่งพิจารณาจากค่าดัชนีวัดความสอดคล้องกลมกลืนอื่นๆประกอบด้วย ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (x2/df) มีค่า 1.33 มีค่าน้อยกว่า 5.0โมเดลตามทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ที่ ระดับ 0.05 p = 0.09 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ CFI (Comparative Fit Index) มีค่า 0.99 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของส่วนเหลือมาตรฐาน Standardized Root Mean Squared Residual: SRMR มีค่า 0.04 ค่าดัชนีรากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของการประมาณค่าความคลาดเคลื่อน Root Mean Squared Error of Approximation: RMSEA มีค่า 0.03 มีค่าอยู่ระหว่าง 0.00 – 0.08 ค่า TLI (Tucker-Lewis Index) หรือ NNFI (Non-Normed Fit Index) มีค่า 0.99 โมเดลตามทฤษฎีมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ตัวแบบมีความสอดคล้องกลมกลืน ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างของการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์และข้าราชการในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์
The objectives of this research were to (1) study the conditions of Faculty Senate’s participation in the management of Rajabhat University, (2) build and develop a participative model for Faculty Senate in the management of Rajabhat University, (3) evaluate the concordance of the developed participative model for Faculty Senate in the management of Rajabhat University with the empirical data. The data were acquired from 263 samples consisted of 39 presidents of Faculty Senates of Rajabhat University and 224 committee members of Faculty Senates of Rajabhat University. The research results were concluded as follows. 1. The Faculty Senate’s participation in the management of Rajabhat University were in 5 aspects: 1) Implementation participation, Planning participation, 3) Evaluation participation, 4) Benefits participation, and 5) Creative thinking and decision participation. These aspects were at the moderate level. When the data were factored using confirmatory factor analysis: CFA, 4 factors emerged: Planning participation, Implementation participation, Benefits participation, and Evaluation participation. 2. The developed participative model for Faculty Senate in the management of Rajabhat University consisted of 4 principal factors: 1) Evaluation participation with factor loadings of 0.95 and 2 subfactors: Budget with factor loadings of 0.93 and 2 indicators and Personnel with factor loadings of 0.96 and 2 indicators, 2) Implementation participation with factor loadings of 0.91 and 2 subfactors: Policy with factor loadings of 0.99 and 2 indicators an, Implementation with factor loadings of 0.99 and 3 indicators, 3) Planning participation with factor loadings of 0.89 and 2 subfactors: Strategy with factor loadings of 0.99 and 2 indicators and Measure with factor loadings of 0.99 and 3 indicators, 4) Benefits participation with factor loadings of 0.79 and 2 subfactors: Property with factor loadings of 0.99 and 2 indicators, and Value with factor loadings of 0.99 and 3 indicators. 3. The developed participative model for the management of Rajabhat University was in concordance with the empirical data. Thus was considered in terms of other Goodness of Fit Indices including Relative Chi-square (x2/df ) of 1.33 < 5.0, indicating the theoretical model is in concordance with the empirical data at 0.05 p = 0.09; Comparative Fit Index = 0.99, Standardized Root Mean Squared Residual : SRMR = 0.04; Root Mean Squared Error of Approximation : RMSEA = 0.03, value ranging from 0.00 – 0.08; Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA): TLI (Tucker-Lewis Index) or NNFI (Non-Normed Fit Index) = 0.99. The theoretical model being in concordance with the empirical data indicates that the model is concordance, the structural relationship of Faculty Senate’s participation in the management of Rajabhat University is in concordance with the empirical data. 

Downloads

How to Cite

ไชยศรี ป. (2016). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของสภาคณาจารย์ และข้าราชการ ในการบริหารงานมหาวิทยาลัยราชภัฏ. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(2), 298–313. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/54937

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)