การมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน: กรณีศึกษายุติธรรมชุมชนตำบลบ้านฆ้อง อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี
Keywords:
เครือข่ายยุติธรรมชุมชน, การมีส่วนร่วมของประชาชน, ยุติธรรมเชิงสมานฉันท์, Community Justice Network, People’s Participation, Restorative JusticeAbstract
การวิจัยครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สาเหตุการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน 2) กระบวนการการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน
4) ค้นหาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ เพื่อปรับปรุงการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งและยั่งยืน ผู้ศึกษาได้เก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ รวมจำนวน 14 คน โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพเป็นหลัก ใช้วิธีสัมภาษณ์แบบ
กึ่งโครงสร้างเป็นวิธีการหลักในการรวบรวมข้อมูล โดยมีแนวประเด็นคำถามสำหรับการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ได้ข้อมูลตามขอบเขตเนื้อหาการศึกษา และใช้การสนทนากลุ่มผลการศึกษาพบว่า 1. สาเหตุการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ประกอบด้วย 1.1 การรับรู้และตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนชุมชนเอง 1.2 การระดมความร่วมมือและถูกชักชวนจากผู้นำชุมชน ในการร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น 1.3 การรับรู้ถึงสิทธิและหน้าที่ต่อชุมชน 2. กระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนใน เครือข่ายยุติธรรมชุมชน ได้แก่ 2.1 การมีส่วนร่วมวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหา 2.2 การมีส่วนร่วมในการวางแผน 2.3 การมีส่วนร่วมในการดำเนินการ 2.4 การมีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผล 3. ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการมีส่วนร่วมของประชาชนในเครือข่ายยุติธรรมชุมชน มีดังนี้ 3.1 ด้านการสนับสนุนจากภาครัฐ 3.2 ด้านผู้นำจะต้องเป็นผู้มีความรู้มีประสบการณ์ มีศักยภาพสามารถรวมกลุ่มชาวบ้านเพื่อหาหนทางแก้ไขปัญหา 3.3 ด้านประชาชน และ 3.4 ด้านแรงจูงใจ ที่จะได้รับประโยชน์จากการเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมการพัฒนา
The purposes of this research were to study: 1) the study of people’s motive to participate in the community justice network in Tambon Bannkhong of Potharam District in Ratchaburi Province. 2) the study of people’s participation process in the community justice network. 3) the examining of factors leading to the achievement of people’s participation in the community justice network; and (4) the discovering of problems and obstacles in the community justice network participation, and their solutions. The research made use of qualitative methods as its research methodology which included the in-depth interview and focus group which fourteen key informants. The research found that the grounds for the people’s participation in the community justice network were: (1) the people’s perception and realization about the problems in their community; (2) the mobilization for cooperation and persuasion made by community leader; (3) the people’s perception about their rights and obligations in the community. Referring to the approaches for people’s participation in the community justice network were: (1) the participation in problem identifications; (2) the participation in planning process for finding the solutions; (3) the participation in co-operations; and (4) the participation in monitoring and evaluating the operations. According to the factors leading to the achievement of people’s participation in the community justice (1) the government’s supports;(2) the knowledge, experience and leadership of the community’s; (3) the people’s knowledge; and (4) the motivation for people’s participation in the developmental activities and projects.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์