ความเป็นหลังนวยุคของ เจน เจขับส์ ตัดสินในหนังสือชื่อ The Death and Life of Great American Cities: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน

Authors

  • พงศ์สีห์ ชุมสาย ณ อยุธยา หลักสูตรดุษฎีบัณฑิต สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

Keywords:

เจน เจขับส์, หลังนวยุค, วิเคราะห์, วิจักษ์, วิธาน, Jane Jacob, Postmodernity, Analytic, Appreciative, Applicative

Abstract

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เป็นการถกคำถามว่า "เจน เจขับส์ เป็นหลังนวยุคหรือไม่?" ความเป็นหลังนวยุค ตัดสินจากมโนคติของ เจน เจขับส์ ในหนังสือชื่อ The Death and Life of Great American Cities ในวิธีทางปรัชญาคือ วิภาษวิธี และวิธีแลกเปลี่ยนความคิดเห็น มีการเสวนา 1 ครั้ง ผู้ร่วมเสวนา 10 คน ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา คำตอบคือ มโนคติการใช้สอยผสมของ เจน เจขับส์ เป็นปรัชญาหลังนวยุค ซึ่งมีความเห็นตรงกันข้ามด้วยเหตุผล 3 ประการของนักวางแผนนวยุค คือ 1. เมืองเป็นกลีภพเพราะการใช้สอยผสม 2. ประชาชนขาดจริยธรรมแห่งการดูแล พื้นที่เกษตรกรรมถูกทำลายโดยการกระจัดกระจายการใช้ประโยชน์ในชานเมือง 3. มโนคติการใช้สอยผสม ไม่ใช่อุดมการณ์เพื่อสร้างภาพพจน์ ยูโธเปีย แต่ผู้วิจัยยอมรับไม่ได้ เพราะการจัดย่านซึ่งเป็นเครื่องมือของการวางแผนสมัยใหม่ เป็นสาเหตุให้เกิดภาพพจน์เมืองเลวร้าย ความเห็นของผู้วิจัยที่เจน เจขับส์ เป็นหลังนวยุคจะได้รับการสนับสนุนโดยเหตุผลดังต่อไปนี้ 1. ความหลากหลายจากการผสมผสานของการใช้ประโยชน์ที่ดินทำให้เมืองน่าอยู่ทั้งวัน ทั้งคืน เพราะว่ามันเป็นเมืองที่บริบูรณ์ 2. ประชาชนในเมืองมีสิทธิเท่าเทียมกัน และมีเสรีภาพที่จะใช้ที่ดินของตน 3. เมืองปลอดภัย สะดวกน่าอยู่ และโรแมนติก ผลของการวิจัยสามารถนำไปสร้างวิสัยทัศน์การอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่สำหรับสังคมไทยในโลกาภิวัฒน์ 
The objective of this research was to discuss the question “Is Jane Jacobs Postmodernity?”, Jane Jacobs’ ideal judge in the book The Death and Life of Great American Cities, in the philosophical way which is dialectic and discursive. A dialogue of 10 people was set up at Suan Sunandha Rajaphat University. The answer is Jane Jacobs’ mixed use ideal is postmodern philosophy which might be opposed by three reasons of modern planners. 1. A city is chaos because of mixed use. 2. People lack of ethic of care. Agricultural area is destroyed by suburban sprawl. 3. Mixed use Idea is not the ideal for the image of utopia. But the researcher could not accept because zoning which is tool of modern planning, causes the image of the evil city. The research’s position was supported by following reasons: 1. Diversity from the mixture of uses make a city to be alive all day all night because it is a self-contained city. 2. The people in the city have equal right and freedom to use their land. 3. The city is safe, convenient, lively and romantic. The result of the research can be used in creating visions for spatial conservation and development for Thai society in globalizationism.

Downloads

How to Cite

ชุมสาย ณ อยุธยา พ. (2016). ความเป็นหลังนวยุคของ เจน เจขับส์ ตัดสินในหนังสือชื่อ The Death and Life of Great American Cities: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 6(1), 169–183. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/55357

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)