การรับรู้ และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่านสื่อทางอินเทอร์เน็ตของ วัยกลางคนในชมรมหน่วยงานย่านพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร

Authors

  • ภูมิพัฒน์ ตระกูลทัศน์เจริญ

Keywords:

การรับรู้, การใช้ประโยชน์, ข่าวสารด้านสุขภาพ, สื่อทางอินเทอร์เน็ต, Perception, Use of Health Information, Internet

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ และการใช้ประโยชน์จากข่าวสารผ่านทางอินเตอร์เน็ต หาปัจจัยทีมีผลต่อการรับรู้ และการใช้ประโยชน์จากข่าวสารด้านสุขภาพ และความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้และการใช้ประโยชน์จากข่าวสารด้านสุขภาพผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ตของวัยกลางคนในชมรมหน่วยงานย่านพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 339 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่ายจากชมรมหน่วยงานย่านพหลโยธิน ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที (t-test) และ การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว One-way ANOVA และการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ (Sheffe’s Method) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 63.10  อายุระหว่าง 43 – 52 ปี คิดเป็นร้อยละ 48.4  ส่วนใหญ่ทำงานในหน่วยงานราชการ ร้อยละ 61.9 มีรายได้ต่อเดือน 15,001-30,000 บาท ร้อยละ 73.7  มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 59.3 สถานภาพสมรส ร้อยละ 73.2 และไม่มีโรคประจำตัว  ร้อยละ 65  

          พฤติกรรมการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต ส่วนใหญ่มีความถี่ในการเข้าใช้อินเตอร์เน็ต มากกว่า 1 ครั้งต่อวัน ร้อยละ 64.3 ใช้เวลาในการเข้าใช้อินเตอร์เน็ตระยะเวลาน้อยกว่า 1 ชั่วโมง ร้อยละ 53.4 โดยส่วนใหญ่ใช้งานที่บ้าน ร้อยละ 52.2  ช่วงเวลาที่เข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่ใช้ช่วงเวลา 08.01–12.00 น.  ร้อยละ 34.8  เหตุผลหลักในการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตส่วนใหญ่เพราะเข้าใช้สังคมออนไลน์  ร้อยละ 36.6 ทัศนคติที่มีต่อสื่อทางอินเทอร์เน็ต พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีทัศนคติต่อสื่อทางอินเทอร์เน็ตในระดับมากที่สุด( =4.24)

ปัจจัยที่มีผลต่อการรับรู้และการใช้ประโยชน์ข่าวสารด้านสุขภาพในเรื่องโรคไม่ติดต่อ การใช้สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารผ่านอินเทอร์เน็ตของวัยกลางคน ได้แก่ เพศ โรคประจำตัว  รายได้ การศึกษา และทัศนคติต่ออินเทอร์เน็ต

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ข่าวสารเกี่ยวกับโรคไม่ติดต่อ การใช้สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารมีความสัมพันธ์กันกับการใช้ประโยชน์จากข่าวสารด้านโรคไม่ติดต่อ การใช้สมุนไพร และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารระดับปานกลาง โดยมีค่าความสัมพันธ์อยู่ระหว่าง 0.6 – 0.7

The purposes of this study were to investigate the perception and use of health information, to find factors affecting to perception and use of health information and to examine the correlation between perception and use of health information through the Internet of middle aged people in Phaholyothin Road Area Organization Association, Bangkok. The study samples was of 339 middle-aged (40 to 60 year-old) using stratified random sampling method. The data were collected by questionnaires. Statistics used in data analysis were percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, One-way ANOVA and Sheffe’s Method. The results were summarized as follows:

The majority, 63.1 percent, were males. Of these, 48.4 percent were aged 43-82 years and amongst this figure 61.9 percent worked for government agencies. Some 73.7 percent of this group had a monthly income between 15,001 to 30,000 baht. In addition, 53.4 percent had a bachelor’s degree and 73.2 percent were married, while 65 percent had no congenital disease.

          Some 64.3 per cent accessed the internet more than once a day time, with 53.4 percent of this figure spending less than one hour online each time. Just over half, or 52.2 percent, used the internet at home, 34.8 percent accessed it between 8.01 to 12.00 o’clock, and 34.3 percent used it mainly for social media

The factors affecting the perception and utilization of health information with regard to non-communicable diseases, herbs, dietary supplementary through the Internet by middle-aged people were gender, congenital diseases, income, education, and attitudes towards the Internet.

The correlation between perception and uses of health information was at the moderate level, ranging from 0.6 to 0.7.  

 

References

เกศรา ชั่งชวลิต. 2544. การแสวงหาข่าวสาร การรับรู้ประโยชน์ และความพึงพอใจในการสื่อสาร ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล, วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรุง วรบุตร. 2550. พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของประชาชนวัยกลางคน อำเภอศรีสวัสดิ์ จังหวัดกาญจนบุรี, หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาชุมชน, มหาวิทยาลัยศิลปกร.

จรัสศรี ปักกัดตัง. 2542. การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ และทัศนคติของผู้ใช้อินเตอร์เน็ต ที่มีต่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่ออินเตอร์เน็ตของหน่วยงานภาครัฐ. วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. 2550. การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคผ่านสื่ออินเตอร์แอ็คทีฟ ในระบบธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์. มลินี สมภพเจริญ บรรณาธิการ. นิเทศสยามปริทัศน์. ธ.ค. 7(7) หน้า 65.

ทวีศักดิ์ กาญจนสุวรรณ. 2552. เทคโนโลยีมัลติมีเดีย. กรุงทเพฯ : เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์.

นงคราญ ไชยบาล. 2551. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเลือกบริโภคเครื่องดื่มที่ผสมสมุนไพรกระชายดำบรรจุขวดพร้อมดื่มของผู้บริโภคในเขตพื้นที่เทศบาลนครเชียงราย หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการจัดการทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

มุฑิตา โพธิ์กะสงข์. 2551. เว็บไซต์สุขภาพ การสื่อสารสุขภาพแบบมีปฏิสัมพันธ์และคุณภาพข้อมูลในเชิงการแพทย์ และสาธารณสุข หลักสูตรนิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวารสารสนเทศ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภร เสรีรัตน์. 2544. พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ : เอ.อาร์.บิซิเนสเพรส.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2553. 2553). รายงานภาวะสังคมไทยประจําปี 2553. สืบค้นเมื่อ 19 กุมภาพันธ์ 2557 จาก http://social.nesdb.go.th/ social/

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 2554. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554). กรุ งเทพฯ: สํ านักนายกรัฐมนตรี.

สุนีย์ แป้นทะเล. 2551. การศึกาพฤติกรรมการใช้สมุนไพรเพื่อการดูแลสุขภาพของคนในชุมชนเครือข่ายป่าตะวันออก กรณีศึกษา บ้านนาอีสาน หมู่ที่ 16 ตำบลท่ากระดาน อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรชีวภาพ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.

Downloads

Published

2017-04-12

How to Cite

ตระกูลทัศน์เจริญ ภ. (2017). การรับรู้ และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพผ่านสื่อทางอินเทอร์เน็ตของ วัยกลางคนในชมรมหน่วยงานย่านพหลโยธิน กรุงเทพมหานคร. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 7(1), 114–120. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/55452

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)