วัฒนธรรมประเพณีกับการสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชนเทศบาลบางม่วง จังหวัดนนทบุรี

Authors

  • Supot Saengngoen คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร เลขที่ 9 ถนนแจ้งวัฒนะ แขวงอนุสาวรีย์ เตบางเขน กรุงเทพฯ 10220

Keywords:

วัฒนธรรมประเพณี, การสร้างความเข้มแข็ง, ชุมชนเทศบาลบางม่วง Tradition and culture, Strenthening Community, Bangmuang Municipality,

Abstract

วัฒนธรรมประเพณีกับการสร้างความเข้มแข็งของ

ชุมชนเทศบาลบางม่วง  จังหวัดนนทบุรี

                                                         


บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง วัฒนธรรมประเพณีกับการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเทศบาลบางม่วง จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน การร่วมทำกิจกรรมวัฒนธรรมประเพณีก่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชน และศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขต่อการสร้างความเข้มแข็งของชุมชนเทศบาลบางม่วง จังหวัดนนทบุรี  ทำการศึกษาด้วยระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วมเก็บข้อมูลจาก 3 องค์กรในชุมชน ประกอบด้วย องค์กรชุมชน   27 คน  องค์กรโรงเรียน 12 คน และองค์กรภาครัฐ 10 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต และการปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม  ตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า  วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลจากการศึกษาพบว่า ชุมชนเทศบาลบางม่วง เป็นชุมชนที่เก่าแก่มีประวัติความเป็นมาเคยเป็นที่ตั้งทัพของพระเจ้าอู่ทอง มีความเจริญโดยมีเส้นทางคมนาคมทั้ง 2 ทาง คือทางบกและทางน้ำ อาชีพส่วนใหญ่ประกอบการเกษตร สภาพสังคมเป็นสังคมที่เอื้ออาทร เคารพระบบอาวุโส และยังยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณี และคนส่วนใหญ่นับถือพุทธศาสนา วัฒนธรรมและประเพณีที่สมาชิกในชุมชนยังยึดมั่นและปฏิบัติมาเป็นประจำประกอบด้วย วันลอยกระทง  สงกรานต์ พิธีบวช ทอดกฐิน ศาลเจ้า เข้าพรรษา ศาลพระภูมิ และตักบาตรทางน้ำ ซึ่งก่อให้เกิดผลดีต่อชุมชนด้านเศรษฐกิจ ก่อให้เกิดรายได้จากการขายของกินของใช้ ด้านสังคมเกิดความสามัคคี การทำงานร่วมกัน และเกิดความรักชุมชนท้องถิ่น ด้านวัฒนธรรมเป็นการเรียนรู้การอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามไว้ให้เด็กและเยาวชน ส่วนปัญหาอุปสรรคของการจัดกิจกรรมเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้งบประมาณไม่เพียงพอ การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง และความรู้เกี่ยวกับประเพณีดังกล่าว สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ การมีแผนจัดกิจกรรม และระบุรายละเอียดของขั้นตอนการทำกิจกรรม ตลอดจนคนรับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน

 

คำสำคัญ; วัฒนธรรมประเพณี;การสร้างความเข้มแข็ง;ชุมชนเทศบาลบางม่วง

 

Tradition and culture in Strenthening the Community of Bangmuang Municipality in Nonthaburi Province

 

 

Abstract

The research entitled, “Tradition and Culture in Strenghtening the Community of Bangmuang Municipality inNonthaburiProvince”, aimed 1) to study the community context and participation in traditional and cultural activities in strengthening the community, and 2) to study problems, obstacles, and problem-solving guidelines in strengthening the community of Bangmuang municipality inNonthaburiProvince. The qualitative and participatory action research methods had been used to collect data from 3 organizations in the community, that is, 27, 12, and 10 people from the community organization, school organization, and government organization, respectively. The research instruments used in this research were the interview form, observation form, and participatory action. Triangulation was used to check and establish validity in this research. Content analysis was employed to analyze the collected data.

            The research findings were that the community ofBangmuangMunicipalitywas the old community. In the past, this place had been King U-thong’s cantonment. The general context of this community was that it connected with other communities through both the water as well as land routes. The majority of people in the community were agriculturists. Fruit tree that planted in this area was mango. The state of society was that the livelihood was simple and helpful. People adhered to the seniority rule, were kindred, and stayed with tradition and culture. TheBangmuangMunicipalityconsisted of 9 communities. The majority of people were Buddhists. The tradition and culture that had been conducted by the members of the community were as follows: Loi Krathong day, Songkran day, Ordination ceremony, Thot Krathin ceremony (Offering yellow robes for monks at the end of the Buddhist lent), ceremony at the shrines, Buddhist lent, Shrine of the household god, and Offering alms to monks by the water route, etc. These activities gave advantages to the community: economic aspect – income of people was from selling things in the community; social aspect – they brought unity to the whole society; people worked together as a true participation, namely ideas sharing, collaboration, co-improvement, and loss sharing, which made them proud and loyal to the local community; cultural aspect – it helped conserve tradition and culture for children, youth, and interested persons, who could learn and realize the significance of their local tradition and culture. Moreover, the problems and obstacles in conducting activities were the inadequate budget; public relations about the tradition were not all over. Suggestions and problem-solving guidelines were that the community should have its plans to conduct the participatory activities and details of activity process, particularly; the responsible person to perform each step of that activity should be appointed.

 

Keyword; Tradition and culture; Strenthening Community ;Bangmuang Municipality

Downloads

Additional Files

Published

2017-04-19

How to Cite

Saengngoen, S. (2017). วัฒนธรรมประเพณีกับการสร้างความเข้มแข็งของ ชุมชนเทศบาลบางม่วง จังหวัดนนทบุรี. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 7(2), 103–114. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/63492

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)