ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง

Authors

  • นริศ จันทวรรณ

Keywords:

พลเมือง, ความเป็นพลเมือง, ประชาธิปไตย, พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย citizen, citizenship, democracy, democratic citizenship

Abstract

ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย:

กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง

 

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Methods) โดยใช้การวิจัยแบบสำรวจ (survey research) มีแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะจงเพื่อให้ได้ข้อมูลเชิงคุณภาพ การวิจัยใช้นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง เป็นประชากรในการศึกษา และคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยสูตรยามาเน่ (Yamane) สำหรับการวิจัยแบบสำรวจ และใช้การเจาะจงเลือกสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้กำหนดวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง (2) เพื่อเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการกล่อมเกลาทางการเมืองกับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหงระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง นอกจากนี้ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานของการวิจัยว่า นักศึกษาที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยแตกต่างกัน และการกล่อมเกลาทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มตัวอย่างมีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อยู่ในระดับค่อนข้างสูง โดยมีระดับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยด้านการปกครองตนเองและการเคารพสิทธิเสรีภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองพบว่าอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งผลการวิจัยเชิงคุณภาพก็มีความสอดคล้องกัน เมื่อเปรียบเทียบความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ปรากฏว่า เพศ และอายุ มีความสัมพันธ์กับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ส่วนภูมิภาคที่อาศัยไม่มีความสัมพันธ์กับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ผลการวิจัยเชิงคุณภาพก็มีความสอดคล้องกัน ผลการวิจัยยังพบอีกว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองค่อนข้างสูง เมื่อพิจารณาตามตัวกลางของกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมือง ได้แก่ ครอบครัว กลุ่มเพื่อน สถาบันการศึกษา กลุ่มสังคม สื่อมวลชน กลุ่มสื่อสังคมออนไลน์ ก็พบว่าได้ผลเช่นเดียวกัน จากผลการวิจัยเชิงคุณภาพยังพบว่า รูปแบบการปฏิสัมพันธ์ระหว่างตัวกลางนอกจากจะเป็นการเผชิญหน้าแล้วยังมีการปฏิสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์อีกด้วย  

สำหรับการทดสอบสมมติฐานของการวิจัยในประเด็นนักศึกษาที่มีปัจจัยส่วนบุคคลต่างกัน มีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยแตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า เพศและอายุ มีความสัมพันธ์กับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย ส่วนภูมิภาคที่อาศัยไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับสมมติฐานของการวิจัยในประเด็นการกล่อมเกลาทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง ผลการวิจัยพบว่า ค่าความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลางและมีทิศทางไปในทางเดียวกัน

การวิจัยครั้งนี้สรุปได้ว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยอยู่ในระดับสูง โดยพบว่ากระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยในทิศทางเดียวกัน ดังนั้นการสร้างความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยสามารถกระทำได้โดยเสริมสร้างผ่านทางตัวกลางต่างๆ จากการวิจัยพบอีกว่า กลุ่มตัวอย่างและนักศึกษาในปัจจุบันมองการเมืองเป็นเรื่องของผลประโยชน์ของชนชั้นสูง จึงเกิดความเบื่อหน่ายและมองว่าตนไม่สามารถแก้ไขอะไรได้ ทัศนคติเช่นนี้จึงนำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่อยากมีส่วนร่วมทางการเมือง เมื่อเป็นเช่นนั้นประชาชนที่จะลุกขึ้นต่อต้าน ขัดขวาง การกระทำที่มิชอบ และกล้าที่จะนำเสนอในสิ่งที่ถูกต้องก็จะลดน้อยถอยลง กลายเป็นประชาชนที่รอรับคำสั่งจากผู้ปกครองอย่างเดียว ซึ่งไม่ใช่คุณสมบัติของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย เมื่อปล่อยให้สภาพแวดล้อมส่วนใหญ่เป็นเช่นนี้ย่อมส่งผลต่อพฤติกรรมของประชาชนให้ถูกกลืนไปกับสภาพแวดล้อมส่วนใหญ่ ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตย ผู้วิจัยจึงได้นำเสนอการอบรมเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นพลเมืองผ่านนวัตกรรมบนสมาร์ทโฟน (smartphone) และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (personal computer)   ซึ่งการอบรมเรียนรู้นอกห้องเรียนเช่นนี้จะมีผลต่อการปรับเปลี่ยนทัศนคติได้และนำไปสู่พฤติกรรมของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยในที่สุด

 

 

 

 

Democratic Citizenship: A Case Study of Undergraduates at the Main Campus of                                           Ramkhamhaeng University                                                                 

 

ABSTRACT

In this mixed-methods survey research investigation, the researcher employed a questionnaire as an instrument to collect data in the quantitative phase of research and focus group interviews to collect data in the qualitative research phase.  Selected Ramkhamhaeng University (RU) undergraduates were used as members of the research population.

          The researcher had the following objectives in carrying out this investigation.  The first objective was to study (1) democratic citizenship as evinced by RU undergraduates at the main campus. The second objective was to compare (2) the democratic citizenship of these undergraduates as classified by demographical characteristics.  The third objective was to examine (3) the relationships between political socialization and the democratic citizenship of the undergraduates.

          Findings are as follows:

          The undergraduates under study exhibited democratic citizenship at a rather high level.  The level of democratic citizenship in the aspects of self-government and respect for the rights, freedom, and human dignity of others was also found to hold at a rather high level.  The aspect of political participation was displayed at a moderate level.  Findings from the qualitative phase of investigation proved congruent with these findings of the quantitative phase of investigation.

          In comparing the democratic citizenship of the subjects under investigation as classified by demographical characteristics, the following was found:

Gender and age were correlated with democratic citizenship.  The region of origin was not correlated with democratic citizenship.  Findings from the qualitative phase of investigation proved congruent with these quantitative findings. 

It was additionally found that these undergraduates exhibited political socialization at a rather high level.  When taking into consideration the mediators of the process of political socialization—family, friends, educational institutions, social groups, mass media and online social media—the findings were still the same.

          Findings of the qualitative phase of the investigation showed that the style of interactions between mediators was not reducible to face-to-face confrontation, in that there was also interaction via online social media as well. 

Insofar as concerns the testing of research hypotheses, it was determined that undergraduates who differed in demographical characteristics displayed corresponding differences in democratic citizenship.  As such, gender and age were correlated with democratic citizenship.  However, the region of origin was not correlated with democratic citizenship.  In further research hypothesis testing, it was also found that political socialization was positively correlated with democratic citizenship at a moderate level.

          In conclusion, it can be summarily stated that the subjects under study exhibited democratic citizenship at a high level.  Moreover, the political socialization process was found to be positively correlated with democratic citizenship.  Accordingly, the building of democratic citizenship can be carried out through the agency of a variety of mediators. 

The researcher also found that the subjects under investigation and other currently enrolled students see politics as being conducted for the benefit of the upper class.  They are bored with politics and believe that they cannot find solutions to problems.  These attitudes are inimical to the desire to participate in political affairs.  To obviate these difficulties, the researcher recommends that citizenship training be provided through the agency of smartphones and personal computers.  Training outside classrooms can lead to changes in attitudes, thereby eventually leading to democratic citizenship behaviors. 

 

Downloads

Published

2017-04-12

How to Cite

จันทวรรณ น. (2017). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย: กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง ระดับปริญญาตรี ส่วนกลาง. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 7(1), 103–113. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/63497

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)