มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ; Legal Measure for Conducting Economical Crime.

Authors

  • เอกนรา หลวงสนาม บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเวสทิร์น

Keywords:

อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ, อาชญากรรมข้ามชาติ, มาตรการทางกฎหมาย, กระบวนการยุติธรรม, Economic crime, White collar crime, Transnational organized crime, Legal measure, Procedure in criminal justice system

Abstract

บทคัดย่อ

                         การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์ประการแรกเพื่อศึกษาวิเคราะห์มาตรการทางกฎหมายในการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดของอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ ประการที่สองเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ การบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานรัฐในการพิจารณาพิพากษาคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ และประการที่สามเพื่อศึกษาแนวทางการสร้างกลไกทางกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่มีความชัดเจน โปร่งใส รวดเร็ว และเป็นธรรม ร่วมกันระหว่างหน่วยงานรัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาสังคม โดยกลุ่มตัวอย่างของการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วยผู้บริหารของหน่วยงานรัฐและเอกชนที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและอาชญากรรมข้ามชาติ จำนวน 10 ท่าน ดังนี้ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน  สำนักงานศาลยุติธรรม  สำนักงานอัยการสูงสุด กรมศุลกากร  สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด และสภาทนายความ ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Convenience sampling)   จำนวน 400 คน ประกอบด้วย กลุ่มที่หนึ่ง :  ผู้บังคับใช้กฎหมาย ทหาร ตำรวจ อัยการ และศาล กลุ่มที่สอง : เจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กลุ่มที่สาม : ผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ กลุ่มที่สี่ : สถาบันการศึกษาและสถาบันทางศาสนา และกลุ่มที่ห้า : สื่อมวลชน และประชาชนโดยทั่วไป

                         ผลการวิจัยเชิงคุณภาพ พบว่า มีความเป็นไปได้และมีความจำเป็นที่จะต้องเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการแก้ไข ป้องกัน และปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ เพื่อสอดประสานนโยบาย พัฒนาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย และบูรณาการข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงาน ตลอดจนเพื่อประสานความร่วมมือกับประเทศในกลุ่มอาเซียนและประเทศอื่นๆ โดยการผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานบังคับใช้กฎหมาย การสร้างเครือข่ายทางวิชาการและเทคโนโลยีสมัยใหม่ และการสร้างเครือข่ายความร่วมมือของภาคประชาชนระหว่างประเทศในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจและอาชญากรรมข้ามชาติ

                         ผลการวิจัยเชิงปริมาณ พบว่า กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชายจำนวน 235 คน คิดเป็นร้อยละ 58.8 และเพศหญิงจำนวน 165 คน คิดเป็นร้อยละ 41.2 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด โดยมีอายุระหว่าง 40 ถึง 21 ปี ประมาณร้อยละ 63 และกลุ่มตัวอย่างเป็นเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรมประมาณร้อยละ 30  ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด นอกจากนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่าง เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง กับข้อเสนอ “ควรแก้ไขปรับปรุงกฎหมายให้สอดคล้องกับกระแสโลกาภิวัตน์” จำนวน 349 คน คิดเป็นร้อยละ 87.2 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ข้อเสนอ “ควรแก้ไขกฎหมายเพิ่มบทลงโทษสูงสุดกับข้าราชการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และให้รางวัลเป็นพิเศษแก่เจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนที่ให้ความร่วมมือในการปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ” จำนวน 345 คน คิดเป็นร้อยละ 86.1 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด และข้อเสนอ “ควรสร้างบรรทัดฐานในการตีความบทบัญญัติกฎหมายและการให้ดุลพินิจของผู้พิพากษา” จำนวน 336 คน คิดเป็นร้อยละ 83.9 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด และพบว่ากลุ่มตัวอย่าง เห็นด้วยและเห็นด้วยอย่างยิ่ง กับข้อเสนอ “ภาคประชาชนควรมีส่วนร่วมและตรวจสอบการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือพนักงานสอบสวนมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน” จำนวน 312 คน คิดเป็นร้อยละ 78 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด

 

คำสำคัญ : อาชญากรรมทางเศรษฐกิจ, อาชญากรรมข้ามชาติ, มาตรการทางกฎหมาย, กระบวนการยุติธรรม

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Abstract

                         Research on title “Legal Measure for Conducting Economical Crime” aimed to study and analyzed of legal measure for economic crimes. Secondly, to study problems and suggestions, law enforcement organizations of criminal justice system and thirdly, to study creation of the legal procedure and criminal justice system that the procedure more correct, faster and fair of economic crimes, share information systems between organizations government, private sector and civil society. This research use mixed method research that, the cause of correct, explicit and reliable of data. The sample of 10 people were selected by Office of the National Security Council, Department of Special Investigation,  Anti-Money Laundering office, Court of Justice, Office of the Attorney General, Customs Facilitation, Royal Thai Police, Office of the Narcotics Control Board and Lawyers council of Thailand. A questionnaire was use as the quantitative research instrument. The sample of 400 persons in five groups: officers in law enforcement, officers in the economic criminal procedure of justice system, owner, educational institution, religious institution, mass media and Thai people.

                         Result of qualitative research, found that there is a possibility and important of the opportunity for the public to the take part in economics crime proceeding. In order to co–policies development and share information systems between organizations in Thailand and other countries.
                         Therefore, result of quantitative research, computer program analysis found 235 male or 55.8 percentage of all and 165 female or 41.2 percentage of all, Aged 21 to 40 years, about 63 percentage, Bachelor's degree in education from about 73.5 percentage and about 30 percentage of the sample groups were judicial authorities, In addition, found "agree" and "strongly agree" with "the law should be amended in line with globalization" were 349 of the sample groups or 87.2 percentage of all. "The law should be modified to increase the maximum civil penalties. Stakeholders and reward exceptional staff and public to cooperate in the suppression economic crimes" were 345 of the sample groups or 86.1 percentage of all, and "should form the basis for interpreting the law and the discretion. The judges" were 336 of the sample groups or 83.9 percentage of all. And found "agree" and "strongly agree" with "the public should participate and monitor the performance of a police officer or officers more than the present" were 312 of the sample groups or 78 percentage of all.

Keywords : Economic crime, White collar crime, Transnational organized crime, Legal measure,
                Procedure in criminal justice system

Downloads

Additional Files

Published

2017-04-19

How to Cite

หลวงสนาม เ. (2017). มาตรการทางกฎหมายในการดำเนินคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ; Legal Measure for Conducting Economical Crime. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 7(2), 17–27. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/63603

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)