ศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์OTOP ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ The Operational Capacity of the Non-Food Herbal OTOP Groups Following the OTOP Project

Authors

  • พิมพ์พิสุทธิ์ อ้วนล้ำ
  • ชมพูนุท โมราชาติ

Keywords:

ศักยภาพการดำเนินงาน, ความต้องการของผู้บริโภค, กลุ่มโอทอป, Operational Capacity, Consumer Needs, OTOP

Abstract

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์OTOP ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร และความต้องการของผู้บริโภค แบบของการวิจัยและพัฒนาโดยการผสมผสานวิธีวิจัยเชิงคุณภาพและวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเป็นหลักในการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ มี 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดำเนินงาน OTOP ในระดับประเทศ  2) ผู้บริหารและนักวิชาการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระดับจังหวัด 3) กลุ่มผู้ผลิตผู้ประกอบการ OTOP ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารที่ประสบความสำเร็จและประสบความล้มเหลวในจังหวัดอุบลราชธานี  และกลุ่มที่ 4) ผู้บริโภคผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและประเด็นการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการการวิเคราะห์เนื้อหา และเชิงปริมาณใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน กลุ่มตัวอย่าง  171  คน วิธีการสุ่มตัวอย่าง สามกลุ่มแรกคัดเลือกแบบเจาะจง กลุ่มสุดท้าย คัดเลือกแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามและประเด็นสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา

          ผลการศึกษา พบว่า 1) ด้านศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มOTOP พบว่า ลักษณะการก่อตั้งกลุ่ม 3 ลักษณะ คือผู้ผลิตชุมชนที่เป็นกลุ่ม ผู้ผลิตชุมชนที่มีเจ้าของรายเดียว และ ผู้ผลิตที่เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(SMEs) ประเภทของผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่จำหน่ายมี 2 ประเภทคือ สมุนไพรที่ใช้ภายใน และ สมุนไพรที่ใช้ภายนอก มีการลงทะเบียน OTOP และผ่านการคัดสรรตามโครงการคัดสรรหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เมื่อปี 2553 การบริหารงานมีโครงสร้าง 2 ระดับคือ ระดับส่วนกลาง และระดับส่วนภูมิภาค โดยมีการดำเนินงานของกลุ่ม 4 ด้าน คือ ด้านการบริหารงานทั่วไป  ด้านการผลิตและเทคโนโลยี   ด้านการตลาด  และด้านการบริหารการเงิน  2) การศึกษาความต้องการของผู้บริโภคผลิตภัณฑ์OTOPประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร พบว่ามีความต้องการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ 5 ด้านคือ ด้านตัวผลิตภัณฑ์ ด้านผู้ผลิตชุมชน ด้านกระบวนการผลิต ด้านความเชื่อ และด้านเทคโนโลยีในการผลิต

 

 

ABSTRACT

This research aimed to study the operational capacity of the non-food herbal OTOP groups and needs of herbal consumers. The sample group consisted of 4 categories; the first three groups were purposively selected included 1) the national OTOP involved bodies, 2) the provincial involved bodies, 3) the successful and failing OTOP manufacturers in Ubon Ratchathani province, and  4) the last group accidently selected consisting of OTOP consumers. Data collection employed in-depth interviews, focus-group discussions, and survey questionnaires. Data analysis utilized percentage, means, standard deviation, and content analysis. The research finding in terms of the capacity of the OTOP groups showed 3 types of group establishment, that is, community group manufacturer as owners, individual manufacturer, and SMEs manufacturer; 2 types of herbal products, the ones for internal and external consumption that need to be registered on OTOP and passed the 2010 OTOP selection; 2 levels of group management: central and regional levels of which 4 aspects are concerned: general management, production and technology, marketing, and finance management. In relation to the needs assessment of the consumers, 5 needing aspects were found namely products, manufacturers, production process, belief, and production technology.

 

Keywords: 

Downloads

Published

2017-04-12

How to Cite

อ้วนล้ำ พ., & โมราชาติ ช. (2017). ศักยภาพการดำเนินงานของกลุ่มหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์OTOP ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ตามโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ The Operational Capacity of the Non-Food Herbal OTOP Groups Following the OTOP Project. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 7(1), 33–43. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/65447

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)