ความรู้ เจตคติ และทักษะการสื่อความหมายในอนุรักษ์ป่าชายเลนของยุวอาสารักษ์บางปู Knowledge, Attitude and Meaning Communication Skill for Mangrove Forest Conservation of Bangpu Volunteers Conservation Youths
Keywords:
ยุวอาสารักษ์บางปู, เจตคติ, ป่าชายเลน oung Volunteer Conservation Pu, attitude, mangroveAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ เจตคติ และทักษะการสื่อความหมายในอนุรักษ์ป่าชายเลนของยุวอาสารักษ์บางปู และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลนของยุวอาสารักษ์บางปู เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ยุวอาสารักษ์บางปู จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลน มีค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.34 - 0.50 ค่าอำนาจจำแนกเท่ากับ 0.20 ขั้นไป และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 แบบวัดเจตคติ มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 แบบวัดทักษะการสื่อความหมาย มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.82 และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมของยุวอาสารักษ์บางปู มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การค่าทดสอบค่าที และค่าความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (MANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า ยุวอาสารักษ์บางปูส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 55.3 เพศชาย ร้อยละ 44.7 หลังการอบรมมีคะแนนเฉลี่ยความรู้ เจตคติ ทักษะในการสื่อความหมายด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการอบรมยุวอาสารักษ์บางปู มีระดับคะแนนความรู้ส่วนใหญ่ระดับมาก ร้อยละ 59.4 ค่าเฉลี่ยเจตคติหลังการอบรมด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลน ส่วนใหญ่ระดับมากที่สุด ร้อยละ 73.33 และยุวอาสารักษ์บางปูเพศชายและหญิง มีความรู้ เจตคติ และทักษะในการสื่อความหมายด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลนไม่แตกต่างกัน ความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมด้านการอนุรักษ์ป่าชายเลนของยุวอาสารักษ์บางปู ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้มากที่สุดคือ กิจกรรมครอบครัวใหม่ พิธีเทียน พิธีบายศรี ( =4.06, SD.=0.80) รองลงมาฝึกปฏิบัติการเป็นยุวอาสาเพื่อการสื่อความหมายธรรมชาติ ( =3.94, S.D.=0.75) กิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ พัฒนาพื้นที่ ( =3.78, S.D.=1.00) และควรจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่องตลอดจนการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมให้เป็นหลักสูตรท้องถิ่นโดยอาศัยโรงเรียนเป็นฐานดำเนินงานต่อไป
Abstract
The objectives of this research were to 1) study the knowledge, attitude and meaning communication skill for mangrove forest conservation of Bangpu volunteers conservation youths , 2) study the satisfaction of training of mangrove forest conservation for Bangpu volunteers conservation youths. This study was conducted by quantitative research with the sample of 32 key informants and the tools for data collecting were the test of mangrove forest conservation at a difficulty power during 0.34-0.50, discriminant power equal to or greater than 0.20 and a reliability at 0.87, the test of attitude with a reliability at 0.88, the test of meaning communication skill with a reliability at 0.82 and a questionnaire satisfaction of training of mangrove forest conservation for Bangpu volunteers conservation youths with a reliability at 0.91. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test and multi-variate analysis of variance (MANCOVA).
The research results were as follows: 1) The majority of sample was female 55.30 percent, male 44.70 percent, found that the knowledge, attitude and meaning communication skill for Bangpu volunteers conservation youths after training had more mean than before training at a significance level of .05. The knowledge score after training was 59.40 percent, average score of attitude after training was at the most at 73.33 percent. The gender had no different on the knowledge, attitude and meaning communication skill and 2) The majority of youth satisfied the training on mangrove conservation of Bangpu volunteers conservation youths was at a high level, the highest satisfaction was a new family activity, candle and morale rituals ( = 4.06, S.D. = 0.80), followed by the practices of volunteer youths for natural meaning communication ( = 3.94, S.D. = 0.75), services mind activities for area devlopment ( = 3.78, S.D. = 1.00). They should operate this activities continually and developed training curriculum to be a local curriculum which depended on school-based principle.
Downloads
Additional Files
Published
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์