การตอบสนองกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต
Keywords:
responsiveness, factors, committeeAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตอบสนองกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น และปัจจัยที่มีผลต่อระดับการตอบสนองกองทุนดังกล่าวของคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพในจังหวัดภูเก็ต จำนวน 280 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ซึ่งได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ตรวจสอบความเที่ยงขอของแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นตามวิธีของคูเดอร์ – ริชาร์ดสัน ได้ค่าเท่ากับ 0.95 สำหรับแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น การรับรู้บทบาทของคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพ และการตอบสนองกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นได้รับการตรวจสอบความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ 0.90, 0.88 และ 0.95 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา (ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) และการวิเคราะห์ถดถอยพหุ
ผลการวิจัย พบว่า การตอบสนองกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย = 2.34, S.D. = 0.40) ผลการทดสอบปัจจัยที่มีผลต่อระดับการตอบสนองกองทุนดังกล่าว พบว่า การรับรู้ประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น การรับรู้บทบาทของคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพ และความเพียงพอของคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพร่วมกันทำนายระดับการตอบสนองกองทุนดังกล่าวด์ ร้อยละ 51 (adjusted R2 = 0.51, p < 0.05) โดยการรับรู้ประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเป็นตัวทำนายที่ดีที่สุด (ร้อยละ 47)
ผลจากการศึกษายืนยันความสำคัญของการส่งเสริมให้คณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพมีการรับรู้ประโยชน์ของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นเป็นอันดับแรก ร่วมกับการสนับสนุนให้มีการรับรู้บทบาทของคณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพและควรให้ความสำคัญกับแผนการพัฒนากำลังคน เพื่อให้คณะกรรมการบริหารระบบหลักประกันสุขภาพสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
กลุ่มงานพัฒนายุทธศาสตร์สาธารณสุข. (2557). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสุขภาพ
ระดับจังหวัดภูเก็ต 2558-2562. ภูเก็ต: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต.
เชื้อเพ็ญ บุพศิริ มะลิลา ตันติยุทธ และวาสนา ปะสังคานนท์. (2555). ความต้องการการสนับสนุนจากศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุขขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: ศูนย์บริหารกฎหมายสาธารณสุข.
ณัฐณิชา อุทธโยธา. (2555). การจัดการสุขภาพในระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของเครือข่ายภาคประชาชนตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ณัทภร ไชยวงค์. (2556). การประเมินระบบการประเมินผลการดำเนินงานของกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ไพโรจน์ อุทรส วีระศักดิ์ สืบเสาะ และจิราพร วรวงศ์ (2555). การพัฒนารูปแบบการดำเนินงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ: ปีที่ 5(2), 14 - 27.
รุ่งเรือง แสนโกษา เสาวลักษณ์ โกศลกิตติอัมพร และสมเจตน์ ภูศรี. (2557). รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในเครือข่ายเขตบริการสุขภาพที่ 7 กลุ่มจังหวัดร้อยแก่นสารสินธุ์ (ร้อยเอ็ด ขอนแก่น มหาสารคาม และกาฬสินธุ์). วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์: ปีที่ 8(2), 156 - 168.
อนงค์ แสนสุวรรณ์. (2555). รูปแบบการบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ ตำบลเชิงดอย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต. (2557). แผนพัฒนาจังหวัดภูเก็ต พ.ศ.2558-2561. ภูเก็ต: ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต.
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. (2557). คู่มือปฏิบัติงานกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
Krathwohl, D.R. (1964). Taxonomy of Educational Objectives. New York: David Mckay.
Pedhazur, E. J., & Schmelkin, L. P. (1991). Measurement, design and Analysis: An integrated approach. Hillsdale, New Jersey: Lawrence Erlbaum.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์