แนวทางแก้ไขการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548

Authors

  • สังเวียน เทพผา นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

Keywords:

แนวทางแก้ไข, ความคิดเห็น, ประชาพิจารณ์, ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี

Abstract

ดุษฎีนิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะศึกษาถึงความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี กระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยประชาพิจารณ์ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดของประชาชน พ.ศ. 2548 และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนศึกษาสภาพปัญหาข้อเท็จจริงและปัญหาข้อกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ วิเคราะห์เปรียบเทียบมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ของไทยและต่างประเทศ

ผลของการวิจัยพบว่า จากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ สามารถเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหา ด้วยการบัญญัติกฎหมายประชาพิจารณ์ขึ้นมาบังคับใช้โดยเฉพาะในรูปของ “พระราชบัญญัติการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. ....”  ควรจัดตั้งคณะกรรมการประชาพิจารณ์ที่มาจากบุคคลที่มีคุณสมบัติวางตัวเป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับของประชาชนทั่วไป ส่วนจะมีจำนวนเท่าใดขึ้นอยู่กับลักษณะหรือประเภทของเรื่องที่ทำการประชาพิจารณ์ โดยรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเป็นผู้มีอำนาจแต่งตั้ง ควรแก้ไขเพิ่มเติมระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของของประชาชน พ.ศ. 2548 ในข้อ 4 ด้วยการเพิ่มคำนิยามว่า “โครงการของรัฐที่มีผลกระทบอย่างรุนแรงต่อประชาชนเป็นส่วนรวม” และรัฐจะต้องให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องและเป็นจริงทุกประการ เพื่อให้ประชาชนได้รับรู้และตระหนักถึงปัญหาร่วมกันและมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งในการเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวรัฐจะต้องจัดให้มีการประชาสัมพันธ์การประชาพิจารณ์ให้ประชาชนได้รับทราบอย่างแพร่หลาย โดยผ่านสื่อที่มีผู้รับชมเป็นจำนวนมากโดยจะต้องเผยแพร่เป็นระยะเวลาที่ยาวพอสมควร ในกรณีที่หน่วยงานของรัฐฝ่าฝืนละเลยหรือจงใจไม่จัดให้มีการทำประชาพิจารณ์ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในระเบียบสำนักนายกว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในกรณีเช่นนี้ สมควรที่จะกำหนดบทลงโทษทั้งทางแพ่งและอาญากับผู้มีอำนาจในหน่วยงานรวมถึงหน่วยงานนั้นๆ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐตระหนักถึงความสำคัญของการจัดให้มีการทำประชาพิจารณ์และเพื่อใช้โทษทางอาญาป้องปรามมิให้หน่วยงานของรัฐมีการหลีกเลี่ยงที่จะไม่จัดให้มีการประชาพิจารณ์ และ ควรจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ เข้ามาเป็นองค์กรกลางเพื่อเชื่อมความเข้าใจและความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐและประชาชนและให้องค์กรดังกล่าวเป็นผู้ควบคุมเพื่อจัดให้มีการประชาพิจารณ์ ตลอดจนร่วมกับหน่วยงานของรัฐในการวางแผนแก้ไขเยียวยาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในกรณีที่หน่วยงานของรัฐจำเป็นที่จะต้องดำเนินโครงการต่อไปภายใต้การคัดค้านของภาคประชาชน ทั้งนี้ เนื่องจากการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระย่อมเป็นไปโดยมิได้อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาหรือการแทรกแซงของนักการเมืองหรือรัฐบาล ย่อมมีความเป็นกลางและสามารถผลักดันให้การทำประชาพิจารณ์ของไทยมีความเป็นสากลและเกิดผลสัมฤทธิ์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้มากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคต  

Author Biography

สังเวียน เทพผา, นิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยปทุมธานี

นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

References

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร (2545 ) ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่. กรุงเทพมหานคร :
สำนักพิมพ์วิภาษา.
บุญศรี มีวงษ์อุโฆษ. (2552). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โครงการตำราและ เอกสารประกอบการสอนคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2530). “ระบบการควบคุมการใช้อำนาจหน้าที่ของรัฐ”, วารสารกฎหมาย
ปกครอง เล่ม 13 ตอน 2.
โภคิน พลกุล. (2524). “รูปแบบและวิธีการควบคุมฝ่ายปกกครอง”. วารสารนิติสารนิติศาสตร์ ฉบับที่ 1
ปีที่ 12.โภคิน พลกุล. (2540). การรับฟังความคิดเห็นสาธารณะโดยวิธีประชาพิจารณ์: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารราชการแผ่นดิน. กรุงเทพฯ : กราฟิคฟอร์แมท.
อภิรัตน์ เพ็ชรศิริ. (2548). ทฤษฎีอาญา. กรุงเทพมหานคร : วิญญูชน
อรพรรณ พนัสพัฒนา. (2539). ความตกลงว่าด้วยสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (TRIPS) : อัณณพ ชูบำรุง. (2527). ทฤษฎีอาชญาวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์
อุททิศ แสนโกศิก. (2515). หลักกฎหมายอาญา : การลงโทษ. อุททิศอนุสรณ์.กรุงเทพมหานคร : โรงกรมสรรพสามิต
อุททิศ แสนโกศิก. (2528). กฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ์
Guy BRAIBANT et Bernard STIRN. ( 1997). Le droit administrative Franças,
(Paris : Pressed de Sciences Po et Dallas , 4e edition )
Jean Rivero et Jean WALINE. (2000). Droit Administratif , (Paris : Dallas , 18e edition).

Downloads

Published

2017-07-26

How to Cite

เทพผา ส. (2017). แนวทางแก้ไขการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนโดยวิธีประชาพิจารณ์ ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พ.ศ. 2548. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 1–14. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/69123

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)