แนวคิดและวิธีการประพันธ์ทางเดี่ยวปี่ใน เพลงแขกมอญ 3 ชั้น ของครูปี๊บ คงลายทอง

Authors

  • ว่าที่ ร.ต. ธราธิป สิทธิชัย อาจารย์ประจำ สาขาวิชาดนตรีคีตศิลป์ไทยศึกษา คณะศิลปศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Keywords:

concept, composition, Pi Nai’s solo variation

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา แนวคิดและวิธีการประพันธ์ทางเดี่ยวปี่ใน เพลงแขกมอญ 3 ชั้น ของครูปี๊บ  คงลายทอง  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 ท่านเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า ครูปี๊บ คงลายทอง เริ่มแนวคิดในการประพันธ์ทางเดี่ยวปี่ในเพลงแขกมอญ 3 ชั้น จากการได้เห็นครูเทียบ  คงลายทอง เป่าเดี่ยวปี่ในเพลงแขกมอญ 3 ชั้น ที่โรงละครแห่งชาติ และได้เห็นครูสุรพล หนูจ้อย ได้เป่าเดี่ยวปี่ในเพลงแขกมอญ 3 ชั้น ณ สังคีตศาลา ซึ่งเป็นรูปแบบวิธีการดำเนินทำนองในลักษณะพิเศษ คือ ดำเนินทำนองแบบเที่ยวหวานและเที่ยวเก็บทั้ง  สามท่อน ต่อมาอาจารย์บุญช่วย  โสวัตร ได้ให้แนวคิดการประพันธ์ทางเดี่ยวและให้ครูปี๊บ  คงลายทอง ทดลองประพันธ์ทางเดี่ยวปี่ในเพลงแขกมอญ  3 ชั้นขึ้นมาใหม่ เพื่อเป็นการฝึกการประพันธ์และเพื่อเป็นการสืบทอดวิธีการบรรเลงที่เป็นลักษณะพิเศษนี้ไว้

วิธีการประพันธ์สำนวนทางเดี่ยวปี่ใน ครูปี๊บ คงลายทอง ได้นำทำนองหลักมาแปรเป็นสำนวนทางเดี่ยวของปี่ใน และดำเนินไปตามท่วงทำนองลีลาของทำนองหลักที่เป็นตัวกำหนดทิศทางในการประพันธ์สำนวนทางเดี่ยวปี่ใน มีการสอดแทรกกลวิธีในการบรรเลง เช่น การเป่าควงเสียง   การเป่าล้วงจังหวะ การเป่าขยี้  การเป่าสะบัด การเป่าโปรยเสียง การเป่าพรม  การเป่าปริบ การเป่าครั่น การเป่าตอด การเป่าย้ำเสียง การเป่ากล้ำเสียง  ลักษณะสำนวนกลอนที่ใช้ประกอบด้วย สำนวนที่เป็นสำนวนการขึ้นต้น  สำนวนกลอนที่เป็นเอกลักษณ์ของเพลงแขกมอญ  สำนวนกลอนที่เป็นวิธีการบรรเลงอันเป็นเอกลักษณ์ของเครื่องมือ สำนวนกลอนที่มีลักษะการปรับเปลี่ยนทิศทางกะทันหัน สำนวนกลอนที่ล้อเลียนกันในประโยค สำนวนกลอนโลดโผนแสดงให้เห็นถึงความคล่องแคล่วของผู้บรรเลง สำนวนกลอนที่ก่อให้เกิดความรู้สึกกระชับกระฉับกระเฉงและเป็นการเน้นทำนองให้มีความเด่นชัด  สำนวนกลอนที่ทำให้เกิดความน่าสนใจชวนติดตาม สำนวนกลอนที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่อง สำนวนกลอนที่ให้ความรู้สึกคลี่คลายผ่อนหนักเป็นเบา  สำนวนกลอนที่เป็นลักษณะของการสรุปความเพื่อนำเข้าสู่ทำนองในประโยคต่อไป สำนวนกลอนที่ให้ความรู้สึกดึงอารมณ์ให้ช้าลง สำนวนกลอนที่เป็นลักษณะของทำนองลงจบ

 

          

 

References

คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2552). นาฏศิลป์และดนตรีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ส่องสยาม
จเร อู่แก้ว. (2547) กระบวนการเรียนการสอนปี่ใน ในสถานบันอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาดนตรี วิทยาลัยดุริยางคศิลป บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
บุญช่วย โสวัตร และคณะ. (2539) ทฤษฎีดุริยางค์ไทย. พิมพ์ครั้งที่1. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้ว
การพิมพ์.
มนตรี ตราโมท. (2540). ดุริยสาส์น. กรุงเทพฯ : ธนาคารกสิกรไทย.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2550) สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคประวัติเพลงเกร็ดและเพลง ละครร้อง. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : หจก.ซี.วาย.ซิซเทิม พรินติ้ง.
สงบศึก ธรรมวิหาร. (2542).ดุริยางค์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
สำเนา เปี่ยมดนตรี. (2552) กระบวนการถ่ายทอดสำนักครูเทียบ คงลายทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปกรรม มหาบัณฑิตสาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

Published

2017-08-08

How to Cite

สิทธิชัย ว. ร. ธ. (2017). แนวคิดและวิธีการประพันธ์ทางเดี่ยวปี่ใน เพลงแขกมอญ 3 ชั้น ของครูปี๊บ คงลายทอง. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 204–216. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/70867

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)