นาฏยหอกซัด
Keywords:
Spear, Weapon, I-NAOAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสร้างสรรค์ชุดการแสดง นาฏยหอกซัด ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ผู้เชี่ยวชาญ ศิลปิน คณาจารย์ ด้านนาฏศิลป์และดนตรีไทย จำนวน 6 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้าง และแบบสังเกตการรำอาวุธหอกซัดในการแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง การวิเคราะห์ข้อมูลวิเคราะห์โดยเนื้อหา
ผลการศึกษาพบว่า 1) การสร้างสรรค์ชุดการแสดง นาฏยหอกซัด การแสดงชุดนาฏยหอกซัดมีแนวทางในการสร้างสรรค์ 3 ขั้นตอน คือ การคิดรูปแบบการแสดง การคิดท่ารำในแต่ละช่วงของการแสดง และการคิดรูปแบบแถวในการแสดง โดยผู้วิจัยดำเนินการคิดท่ารำและรูปแบบการแสดงตามแบบแผนกระบวนท่ารำจากการแสดงละครในเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง ใช้เพลงเพลงพญาเดิน เพลงเชิด และเพลงสะระหม่า กำหนดให้มีผู้แสดงจำนวน 6 คน แต่งกายยืนเครื่องพระ ศีรษะสวมปันจุเหร็จ ใช้อุปกรณ์หอกซัดคนละ 1 คู่ และเหน็บม้าแผงเพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่าการรบด้วยหอกซัดเป็นการใช้อาวุธบนหลังม้าเท่านั้น โครงสร้างกระบวนการใช้อาวุธหอกซัด มีโครงสร้างการใช้อาวุธใน 3 ลักษณะ คือ
1. กระบวนท่ารำ เป็นกระบวนการรำโดยในมือถืออาวุธ มีลักษณะเพื่ออวดฝีมือของ ผู้แสดง หรือรำอวดฝีมือในการใช้อาวุธ เช่น ท่าชิงครอง ท่าปลอกช้าง 2. กระบวนท่ารบ เป็นกระบวนการเข้าต่อสู้ โดยที่มีการกระทบกันด้วยอาวุธ เช่น การตีบน การตีล่าง การพุ่งหอก 3. กระบวนท่าใช้ม้า เป็นกระบวนการใช้พาหนะม้าในลักษณะต่างๆ เช่น การยืนม้า การเดินม้า การควบม้าเคลื่อนที่ 2) หอกซัดจัดอยู่ในอาวุธประเภทฟันแทง เป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า หอกซัดไม่น่าจะเป็นอาวุธดั้งเดิมของไทยเหมือนอาวุธชนิดอื่น แต่น่าจะได้รับอิทธิพลมาจากประเทศใกล้เคียงทางแถบมลายู อาวุธหอกซัดมีปรากฏอยู่ในวรรณคดีไทยเพียง 4 เรื่อง คือ อนิรุธคำฉันท์ รามเกียรติ์ อิเหนา ลิลิตตะเลงพ่าย โดยกล่าวถึงบทบาทอาวุธหอกซัด 2 ลักษณะ คือ หอกซัดที่ใช้ในการจัดทัพ และหอกซัดที่ใช้ในการสู้รบของตัวละครตัวเอก 3) วรรณคดีที่กล่าวถึงบทบาทของหอกซัดที่นำมาสู่รูปแบบการแสดง มีเพียง 1 เรื่อง คือ บทละครเรื่องอิเหนา ตอนศึกกะหมังกุหนิง อันมีกระบวนท่ารำที่มีเอกลักษณ์เฉพาะแตกต่างจากการรำอาวุธชนิดอื่น โดยเชื่อกันว่ามีแบบแผนสืบทอดมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย สืบเนื่องมาถึงสำนักละครวังสวนกุหลาบและกรมศิลปากร
References
ม.ป.ท.
ฉันทนา เอี่ยมสกุล. (2554). ศิลปะการออกแบบท่ารำ (นาฏศิลป์ไทยสร้างสรรค์).
กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิตรการพิมพ์.
พีรพงศ์ เสนไสย. (2546). นาฏยประดิษฐ์. กาฬสินธุ์ : ประสานการพิมพ์.
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลก, พระบาทสมเด็จพระ. (2507). รามเกียรติ์ : สำนักพิมพ์คลังวิทยา.
พุทธเลิศหล้านภาลัย, พระบาทสมเด็จพระ. (2528). อิเหนา. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ: องค์การค้า
ของคุรุสภา.
รุ่งนภา ฉิมพุฒ. (2539). รำอาวุธของตัวพระในละครเรื่องอิเหนา. วิทยานิพนธ์ (ศ ศ.ม. )
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศรีปราชญ์. อนิรุธคำฉันท์. (2522) . กรมศิลปากร พิมพ์จำหน่าย.
ศิลปวัฒนธรรมไทย. (2525). ศิลปวัตถุ กรุงรัตนโกสินทร์ : จัดพิมพ์เนื่องในงานสมโภชกรุง รัตนโกสินทร์ 200 ปี : พิมพ์ที่โรงพิมพ์พิฆเณศวร.
สุภาวดี โพธิเวชกุล. (2540). จารีตการใช้อุปกรณ์การแสดงเรื่องอิเหนา. วิทยานิพนธ์ (ศป.ม) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์