วิเคราะห์เปรียบเทียบท่ารำฉุยฉายอินทรชิตกับฉุยฉายมานพ
Keywords:
Chui Chai, Indrajit, ManopAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติและความสำคัญของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ที่เป็นตัวพระ และเป็นผู้รำฉุยฉาย คือ อินทรชิตเมื่อแปลงกายเป็นพระอินทร์ กับหนุมานเมื่อแปลงกายเป็นมานพ 2) องค์ประกอบของกระบวนท่ารำฉุยฉายอินทรชิต กับฉุยฉายมานพ 3) เปรียบเทียบในส่วนที่ท่ารำคำร้องเหมือนกันและท่ารำคำร้องแตกต่างกันของฉุยฉายอินทรชิต กับฉุยฉายมานพ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการแสดงนาฏศิลป์ จำนวน 4 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือแบบสัมภาษณ์ไม่มีโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) ประวัติและความสำคัญของตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ที่เป็นตัวพระ และเป็น ผู้รำฉุยฉาย คือ อินทรชิตเมื่อแปลงกายเป็นพระอินทร์ กับหนุมานเมื่อแปลงกายเป็นมานพ อินทรชิตมีชาติกำเนิดเป็นยักษ์แต่ได้แปลงกายเป็นพระอินทร์เพื่อทำอุบายล่อลวงพระลักษมณ์ในการทำสงคราม และเมื่อแปลงกายแล้วได้ออกรำฉุยฉายในรูปของร่างพระอินทร์ ส่วนหนุมานมีชาติกำเนิดเป็นลิงแต่ได้แปลงกายเป็นมานพเพื่อทำอุบายล่อลวงนางวานรินทร์ให้หลงรักทำให้สะดวกในการติดตามหาศัตรู 2) องค์ประกอบของกระบวนท่ารำฉุยฉายอินทรชิต กับฉุยฉายมานพ การศึกษาท่ารำ พบว่า การรำฉุยฉายเป็นการรำเพื่อชมความงาม ความภาคภูมิใจที่ได้แปลงกายอย่างสวยงาม แต่เมื่อแปลงกายแล้วก็จะมีกิริยาท่าทางของชาติกำเนิดเดิมแฝงอยู่ เช่น รำฉุยฉายอินทรชิต จะมีกิริยาของยักษ์แฝงอยู่ ท่ารำฉุยฉายอินทรชิตมีทั้งหมด 151 ท่า และรำฉุยฉายมานพจะมีกิริยาของลิงแฝงอยู่ ท่ารำฉุยฉายมานพมีทั้งหมด 150 ท่า 3) เปรียบเทียบในส่วนที่ท่ารำคำร้องเหมือนกันและท่ารำคำร้องแตกต่างกันของฉุยฉายอินทรชิต กับฉุยฉายมานพ เมื่อเปรียบเทียบท่ารำทั้งสองชุดแล้วพบว่ามีส่วนที่คำร้องเหมือนกันและท่ารำเหมือนกันมีทั้งหมด 34 ท่า ท่ารำที่คำร้องเหมือนกัน (บางครั้งอาจเป็นเสียงปี่เลียนคำร้อง) แต่ท่ารำต่างกันมีทั้งหมด 2 ท่า ท่ารำที่คำร้องต่างกันแต่ท่ารำเหมือนกันมีทั้งหมด 2 ท่า ท่ารำที่เป็นสัญชาติเดิม มีแทรกท่ายักษ์อยู่ในกิริยาท่าทางของอินทรชิตแปลง คือท่าลงวง (มือล่อแก้วระดับวงล่าง) ส่วนท่าลิงมีแทรกอยู่ในกิริยาท่าทางของมานพ คือท่าเกาคาง ท่าเล่นแมลงวัน ท่ากาจับปากโลง การรำฉุยฉายอินทรชิต กับฉุยฉายมานพ แสดงให้เห็นภูมิปัญญาของครูสมัยโบราณที่ออกแบบท่ารำที่พิเศษจากชุดรำอื่นๆ คือเมื่อยักษ์แปลงกายเป็นตัวพระ ก็จะรำด้วยการแฝงลีลาของยักษ์ส่วนลิงแปลงกายเป็นตัวพระก็จะรำด้วยการแฝงลีลาของลิง นับว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่ก่อให้เกิดชุดรำที่สวยงาม แสดงถึงความละเอียดอ่อนในการประดิษฐ์ท่ารำตามแบบแผนนาฏศิลป์ไทย
References
ฉัตรชัย ว่องกสิกรณ์. (2529). วิเคราะห์บทละครเรื่องรามเกียรติ์ ตามหลักการละครใน.
วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ธนิต อยู่โพธิ์. (2508). โขน. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์. (2506). บทคอนเสิต. กรุงเทพฯ:
กรมศิลปากร.
ประเมษฐ์ บุณยะชัย. (2559). สัมภาษณ์, 2 สิงหาคม.
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล. (2539). งานละครของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิชจำกัด.
ไพฑูรย์ เข้มแข็ง. (2559). สัมภาษณ์, 4 สิงหาคม.
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช. (2507). บทละครเรื่องรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ:
คุรุสภา.
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย. (2507). บทละครเรื่องรามเกียรติ์. กรุงเทพฯ:
ศิลปาบรรณาคาร.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2464). รามเกียรติ์บทร้องและบทพากย์. กรุงเทพฯ:
กรมศิลปากร.
ฤทธิเทพ เถาว์หิรัญ. (2555). ศึกษาแนวคิดการออกแบบท่ารำในเรื่องผู้ชนะสิบทิศ :
กรณีศึกษาตัวมังตรา. วิทยานิพนธ์ศิลปมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์.
วีระชัย มีบ่อทรัพย์. (2559). สัมภาษณ์, 6 สิงหาคม.
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. (2548). วิเคราะห์วิธีการร่ายรำของโขนตัวพระ. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภชัย จันทร์สุวรรณ์. (2559). สัมภาษณ์, 31 กรกฎาคม.
สันต์ ท.โกมลบุตร. (2548). จดหมายเหตุลาลูแบร์. กรุงเทพฯ : ศรีปัญญา.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์