โน้ตเพลงไทยสำนักพาทยรัตน์

Authors

  • วราห์ เทพณรงค์ นักศึกษาปริญญาโท หลักสูตรศิลปมหาบัณฑิต สาขาดุริยางคศิลป์ไทย สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ กระทรวงวัฒนธรรม

Keywords:

Thai music scores, Develope Thai music scores

Abstract

 

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พัฒนาการของโน้ตเพลงไทยสำนักพาทยรัตน์
2) ศึกษาโน้ตเพลงไทยสำนักพาทยรัตน์ แบบของการวิจัยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ ศิลปินผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านดนตรีไทยจำนวน 14 คน และเอกสารที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับโน้ตเพลงไทยสำนักพาทยรัตน์ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า 1) พัฒนาของโน้ตเพลงไทยสำนักพาทยรัตน์ พบว่า โน้ตเพลงไทยสำนักพาทยรัตน์มีพัฒนาการมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 สมเด็จเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์
วรพินิต ทรงรับอุปถัมภ์จางวางทั่ว พาทยโกศลและครอบครัวรวมระยะเวลาทั้งหมดประมาณ 30 ปี พระองค์ทรงประทานความรู้เรื่องโน้ตสากลให้แก่จางวางทั่ว พาทยโกศลทำให้เกิดการบันทึกโน้ตเพลงไทยด้วยระบบโน้ตสากลในสำนักพาทยโกศลตลอดมา ต่อมา นายอาจ สุนทร ศิษย์คนสำคัญในสำนักพาทยโกศล ผู้ทำหน้าที่เป็นผู้บันทึกโน้ตเพลงไทยให้จางวางทั่ว พาทยโกศล ได้นำโน้ตเพลงทั้งหมดไปสอนและมอบให้แก่นายสำราญ เกิดผล ที่สำนักพาทยรัตน์หรือวงปี่พาทย์บ้านใหม่หางกระเบน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายสำราญ เกิดผล ได้สืบทอดโน้ตเพลงไทยโดยการคัดลอก จากต้นฉบับ ตรวจสอบความถูกต้อง รวมทั้งนำโน้ตเพลงมาพัฒนาต่อยอดจนเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ของสำนักพาทยรัตน์ที่เป็นเอกลักษณ์ของวงการดนตรีไทย เป็นสมบัติที่มีคุณค่าและความสำคัญต่อวงการดนตรีไทยในทุก ๆ  ด้าน เปรียบเสมือนคลังเพลงอันเป็นมรดกทรงคุณค่าอย่างยิ่งในแผ่นดินไทย 
2) โน้ตเพลงไทยของสำนักพาทยรัตน์ พบว่า แบ่งโน้ตเพลงเป็น 2 ส่วน คือ (1) โน้ตเพลงเก่า ประกอบด้วย เพลงหน้าพาทย์ 87 เพลง เพลงเรื่อง 31 เพลง เพลงโหมโรง 10 เพลง เพลงเถา 117 เพลง เพลงเสภา 16 เพลง เพลงสองชั้น 226 เพลง เพลงสำเนียงภาษา 85 เพลง (2) เพลงที่นายสำราญ เกิดผล ประพันธ์เพลงและเรียบเรียงขึ้นใหม่ ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ 11 เพลงเพลงโหมโรง 8 เพลง เพลงเถา 56 เพลง เพลงตับ 2 เพลง เพลงเรื่อง 2 เพลง

 

References

โดม สว่างอารมย์. (2540). ศึกษาชีวประวัติและวิเคราะห์ผลงานการประพันธ์เพลงของจางวางทั่ว พาทยโกศล. ปริญญานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชามนุษยดุริยางควิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พิชชาณัฐ ตู้จินดา. (2553). การถ่ายทอดความรู้ของวงปี่พาทย์บ้านใหม่หางกระเบน จังหวัด
พระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์หลักสูตรปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาดุริยางค์ไทย คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2541). อนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ
(ศิลปินแห่งชาติ). กรุงเทพฯ : บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด.
พูนพิศ อมาตยกุล. (2524). ทูนกระหม่อมบริพัตรกับการดนตรี.
มานพ วิสุทธิแพทย์. (2533). ทฤษฎีการบันทึกโน้ตเพลงไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ.
สำราญ เกิดผล. (2532). อนุสรณ์งานพระราชเพลิงศพนายสังเวียน เกิดผล.
สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ. (2546). ดุริยางศิลป์ไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ : สถาบันไทยศึกษา.

Downloads

Published

2017-08-08

How to Cite

เทพณรงค์ ว. (2017). โน้ตเพลงไทยสำนักพาทยรัตน์. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 247–258. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/71072

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)