กลวิธีการร้องเพลงอีแซว: กรณีศึกษาศิลปินแห่งชาติ ขวัญจิต ศรีประจันต์

Authors

  • วราพงษ์ ชิดปรางค์ อาจารย์ประจำ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

Keywords:

Strategies singer, The E-Saew, Kwanjit Sriprajan

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ชีวประวัติ ผลงานแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ 2) วิเคราะห์กลวิธีการร้องเพลงอีแซวของแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพประชากรได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการร้องเพลงอีแซวในรูปแบบของแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า  1)  แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์  เป็นศิลปินเพลงพื้นบ้านผู้มีความรอบรู้ เชี่ยวชาญ และชำนาญการในกระบวนการร้องการแสดงเพลงพื้นบ้านภาคกลางหลากหลายชนิด โดยการเรียนรู้เบื้องต้นจากวิธีการครูพักลักจำจนกระทั่งได้รับการฝึกหัดถ่ายทอดจากครูไสว วงษ์งาม และครูบัวผัน จันทร์ศรี ตลอดจนครูเพลงพื้นบ้านที่ได้แสดงร่วมกันหลายท่าน ผลงานด้านเพลงพื้นบ้านมีปรากฏต่อสาธารณชนทั้งในรูปแบบของการแสดงในโอกาสต่างๆทั้งงานราชการและงานของประชาชนทั่วไป และการถ่ายทอดให้แก่เยาวชน นักเรียน นักศึกษาทั้งในสถาบันการศึกษา และนอกสถาบัน นอกจากนี้ยังเป็นวิทยากรในการบรรยาย สาธิตการแสดงเพลงพื้นบ้านให้กับองค์กรต่างๆ เป็นคลังความรู้ที่สำคัญของข้อมูลเพลงพื้นบ้าน จึงได้รับยกย่องให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดงเพลงพื้นบ้าน (อีแซว) ประจำปีพุทธศักราช 2539  2) กลวิธีการร้องเพลงอีแซวของแม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ มีเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวอันประกอบด้วยกระแสเสียงที่ดังกังวาน ออกเสียงอักขระชัดเจน มีสำเนียงเหน่อแบบชาวสุพรรณ มีการเอื้อนที่มีหลักการใช้เสียงซึ่งสอดคล้องกับหลักการขับร้องเพลงไทย แต่แฝงไว้ด้วยสำเนียงเพลงพื้นบ้าน อย่างผสมผสานกลมกลืน บทกลอนมีการคัดเลือกคำที่มีความหมาย โดยมากมักเป็นคำไทยแท้ ฟังง่ายเข้าใจง่าย สื่อสารกับผู้ฟังได้ดี มีสัมผัสไพเราะ เหมาะสมกับยุคสมัยมีศิลปะในการเล่นมุขตลกไม่หยาบคาย มีหลักการร้อง 3 ประการ ประกอบด้วย การขึ้นเพลง การร้องเนื้อเพลง และการลงเพลง ซึ่งการร้องเนื้อเพลงนั้นแบ่งออกเป็น ๕ รูปแบบ ตามลักษณะเนื้อหาของบทร้อง คือ บทไหว้ครู บทเกริ่น บทประ บทอวยพร และบทลา ลักษณะพิเศษอีกอย่างหนึ่งคือ การด้นเพลงได้อย่างไพเราะคมคาย ช่วยสร้างอรรถรสให้ผู้ชมผู้ฟัง โดยมีหลักการ ดังนี้ คือ ฝึกสังเกต ตั้งวัตถุประสงค์ ใช้คำง่ายมีสัมผัสและมีความหมาย กำหนดโครงเรื่องและคำลง การเดินกลอนสละสลวย ร้องจากใจ ด้นสิ่งที่พบ มีจุดเด่นและจุดดีในแต่ละบท สอดแทรกอารมณ์ขัน สร้างสรรค์จากเพลงเก่า

 

References

ดวงเดือน สดแสงจันทร์. การศึกษาเพลงพื้นบ้านคณะขวัญจิต ศรีประจันต์. ปริญญานิพนธ์
ปณิสรา นาคปาน.แม่ขวัญจิต ศรีประจันต์ กับความร่วมมือในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น กับองค์การบริหารส่วนตำบลบางงาม อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี.สาขาวิชาการ ปกครองท้องถิ่น,มหาวิทยาลัยขอนแก่น:2552
ท้วม ประสิทธิกุล. (2535). วิธีขับร้องเพลงไทยให้ไพเราะ. กรุงเทพมหานคร:อมรินทร์ พริ้น
ติ้งกรุ๊ป.
แหยม เถื่อนสุริยา.สัมภาษณ์. วันที่ 3 เมษายน 2559.
วรรณา แก้วกว้าง. สัมภาษณ์. วันที่ 7 พฤศจิกายน 2558.
ศรีอัมพร ประทุมนันท์. สัมภาษณ์. วันที่ 8 พฤศจิกายน 2558.
สุจินต์ ชาวบางงาม.สัมภาษณ์. วันที่ 3 เมษายน 2559
สุเทพ อ่อนสอาด. สัมภาษณ์. วันที่ 13 พฤศจิกายน 2558.
สำเนียง ชาวปลายนา. สัมภาษณ์.วันที่ 3 เมษายน 2559

Downloads

Additional Files

Published

2017-08-08

How to Cite

ชิดปรางค์ ว. (2017). กลวิธีการร้องเพลงอีแซว: กรณีศึกษาศิลปินแห่งชาติ ขวัญจิต ศรีประจันต์. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 239–246. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/71963

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)