ปัญหาการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557
Keywords:
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง, รัฐธรรมนูญ, ราชอาณาจักรไทยAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามาตรปัญหาการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บุคคลออกจากตำแหน่ง เป็นกลไกหนึ่งที่รัฐเสรีประชาธิปไตยทั้งหลายใช้ในการ “ควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ” เพื่อประกันความชอบธรรมและความชอบด้วยกฎหมายของการดำเนินการภายใต้ขอบเขตอำนาจของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ หากใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ บิดเบือน ทุจริตหรือเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การควบคุมการใช้อำนาจรัฐโดยการถอดถอนออกจากตำแหน่งเป็นมาตรการที่มุ่งควบคุมและตรวจสอบบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง อันเป็นกระบวนการตรวจสอบทางการเมืองที่แยกออกจากกระบวนการตรวจสอบโดยฝ่ายตุลาการหรือองค์กรศาล
การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐด้วยกระบวนการถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ประกอบรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 ก่อให้เกิดประเด็นปัญหาในกระบวนการถอดถอนหลายประการ ได้แก่ การตีความผู้มีอำนาจในการถอดถอนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 มาตรา 6 วรรคสองบัญญัติว่า “...ให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติทำหน้าที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา และรัฐสภา” ไม่ได้มีการบัญญัติในเรื่องอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้แก่สภานิติบัญญัติแห่งชาติเอาไว้อย่างชัดเจน การถอดถอน จะต้องปรากฏว่าผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวกระทำการอันต้องด้วยเหตุแห่งการถอดถอนออกจากตำแหน่งตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 ได้แก่ ร่ำรวยผิดปกติ ส่อไปในทางทุจริตต่อหน้าที่ ส่อว่ากระทำผิดต่อหน้าที่ราชการ ส่อว่ากระทำผิดต่อหน้าที่ในการยุติธรรม และส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย เมื่อพิจารณาเหตุแห่งการถอดถอนดังกล่าวนั้น ไม่ชัดเจน เช่น ร่ำรวยผิดปกติ ทำให้เกิดปัญหาการตีความได้ ปัญหากระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่งการเริ่มต้นกระบวนการถอดถอนบุคคลผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองออกจากตำแหน่งนั้น ผู้มีสิทธิริเริ่มกรณีบุคคลที่ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 270 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 มาตรา 59 ได้แก่ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือประชนชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าสองหมื่นชื่อ
เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า บุคคลผู้มีสิทธิริเริ่มกระบวนการถอดถอนนั้นมีเพียง 2 ลักษณะ อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกระบวนการถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ ฉะนั้น สมควรที่จะมีการบัญญัติแก้ไขหรือเพิ่มเติมบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยการเพิ่มเติมให้อำนาจแก่องค์กรอื่น องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ วุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา หรือองค์กรรัฐอื่นๆ ให้เป็นผู้มีอำนาจริเริ่มกระบวนถอดถอดเพิ่มเติมได้อีก การถอดถอนผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว เมื่อพิจารณาจากบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 270 และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและการปราบปรามการทุจริต พุทธศักราช 2542 มิได้ระบุเกี่ยวกับการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้ว ดังนั้น สภานิติบัญญัติแห่งชาติจะมีอำนาจถอดถอนผู้ที่พ้นจากตำแหน่งไปแล้วได้เพราะรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องมีกฎหมายในการยึดทรัพย์ การตรวจสอบและมีการละเว้นการลงเลือกตั้งในครั้งต่อไปอย่างเห็นได้อย่างชัดเจน
References
กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
เกรียงไกร เจริญธนวัฒน์. (2547). หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
______. (2552) หลักการพื้นกฎหมายมหาชน ว่าด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ วิญญูชน.
คณิต ณ นคร. (2528). กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา. (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์เนติธรรม.
จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2556). แนวโน้มของคอรัปชั่นในประเทศไทย. สำนักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร.
จิตติ ติงศภัทิย์. (2533) หลักวิชาชีพนักกฎหมาย. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ฉัตรไชย รอดประเสริฐ และคณะ. (2542). การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง. กรุงเทพมหานคร:
สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2552). กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ.
กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2544). สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) การ
ถอดถอนจากตำแหน่ง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
นัยนา เกิดวิชัย. (2541). กฎหมายปกครอง. กรุงเทพมหานคร: พิทักษ์อักษร.
นิยม รัฐอมฤต และคณะ. (2549). กระบวนการไต่สวนและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
ในระดับสูงในอำนาจหน้าที่ ป.ป.ช. กรุงเทพมหานคร:
บริษัท เอ.พี.กราฟิคดีไซน์และการพิมพ์.
บรรเจิด สิงคะเนติ. (2545). การควบคุมและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ. กรุงเทพมหานคร: พี.เพลส.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. (2538). กฎหมายมหาชน เล่ม 1 “วิวัฒนาการทางปรัชญาและลักษณะของ
กฎหมายมหาชนยุคต่าง ๆ. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.
บุญศรี มีวงศ์อุโฆษ. (2549). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพมหานคร:
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บุญเสริม นาคสาร. (2548). การประชุมวิชาการผลในทางปฏิบัติของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ของประชาชน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
ปรีดี เกษมทรัพย์. (2546). นิติปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วินัย รุ่งรักสกุล. (2552). การถอดถอนจากตำแหน่งตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วย
การป้องกันและปราบปรามการทุจริต. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณฑิตย์.
วิษณุ เครืองาม. (2530). กฎหมายรัฐธรรมนูญ. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: นิติบรรณการ.
สมคิด เลิศไพฑูรย์. (2542) กฎหมายเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540. กรุงเทพมหานคร:
วิญญูชน.
สำนักภาษาต่างประเทศ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2551). รัฐสภาแห่งสมาพันธ์รัฐสวิส.
กรุงเทพฯ: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
"บทความวิชาการในวารสารฉบับนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนเท่านั้น"
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์