ปัญหาการใช้ดุลพินิจในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ

Authors

  • ชาญณรงค์ เอี่ยมสำอาง นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Keywords:

ดุลพินิจ, ข้อมูลข่าวสารของราชการ, สถาบันอุดมศึกษา

Abstract

 

การรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน โดยเฉพาะในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข  โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 กับ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้มีการบัญญัติรับรองสิทธิการรับรู้ข้อมูลข่าวสารราชการนี้     โดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารราชการที่อยู่ในความ ครอบครองหรือการดูแลของหน่วยงานรัฐรวมถึงสถาบันอุดมศึกษา ต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญนี้ด้วย

            ดังนั้น ปัญหาดังกล่าวสะท้อนถึงการที่ยังไม่มีมาตรการในการบังคับใช้กฎหมายข้อมูลข่าวสารของราชการ เพื่อให้เกิดสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อย่างแท้จริงที่เป็นรูปธรรม  ซึ่งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 นี้ ยังจะต้องมีกฎหมายลูกอีกหลายฉบับที่จะต้องจัดให้มีขึ้นเพื่อให้เกิดมีแนวทางการปฏิบัติได้อย่างชัดเจน ดังนั้น เมื่อมีการเกิดสภาพปัญหาการใช้ดุลพินิจดังนี้ อีกทั้งพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ได้ประกาศใช้มาแล้วเกือบ ยี่สิบปี จึงเห็นควรอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งให้มีการกำหนดออกกฎหมายลูกบทให้เป็นหลักเกณฑ์ในเรื่องนี้ชัดเจน ถึงแนวปฏิบัติเพื่อให้เป็นเกณฑ์กลางอันเป็นการสะดวกต่อการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ของรัฐ หน่วยงานของรัฐ สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ รวมถึงผู้ขอข้อมูลข่าวสารของราชการ ซึ่งจะทำให้การขอข้อมูลข่าวสารมีเกณฑ์ในการพิจารณาได้ชัดเจน สะดวกต่อการพิจารณาที่จะใช้หลักดุลพินิจอย่างเดียว และสามารถลดปัญหาการกระทบกระทั่งกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐด้วยกันกับผู้ขอข้อมูลข่าวสารด้วย            แม้จะได้มีการประกาศบังคับใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540   ลงในราช-กิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2540 และภายหลังที่มีการใช้บังคับกฎหมายนี้แล้วหน่วยงานของรัฐรวมถึงสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมักจะเกิดปัญหาการปฏิบัติต่อการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่อยู่ในความครอบครอง   ด้วยเหตุว่าหน่วยงานของรัฐรวมถึงสถาบันอุดมศึกษา ยังคงให้การปกปิดข้อมูลข่าวสารของราชการเป็นหลัก โดยเฉพาะการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีการกำหนดชั้นความลับไว้ตามระเบียบว่าด้วยการรักษาความลับของทางราชการ พ.ศ.2544 ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อมูลการบริหาร งานที่เป็นมติที่ประชุมลับ จึงเห็นได้ว่าการบังคับใช้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ให้สัมฤทธิ์ผลตรงตามเจตนารมณ์ จึงเป็นไปได้ค่อนข้างยาก อีกทั้งหน่วยงานของรัฐและสถาบันอุดมศึกษาของรัฐบางสถาบันได้มีการออก กฎ ข้อบังคับ หรือระเบียบ เป็นการภายในกำหนดขั้นตอนในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐสำหรับใช้เป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อความสะดวกในการพิจารณา ซึ่งกลับทำให้ยุ่งยากขึ้น ทำให้เป็นปัญหาต่อการขอเข้าตรวจดูหรือเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐได้ยากขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลข่าวสารที่ได้มีการกำหนดชั้นความลับไว้ เจ้าหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษามักจะใช้ดุลพินิจให้การปฏิเสธการขอเข้าตรวจดูหรือปฏิเสธการให้สำเนาข้อมูลข่าวสารในทุกกรณีไว้ก่อน จึงทำให้ผู้ขอข้อมูลข่าวสารต้องไปใช้สิทธิอุทธรณ์การปฏิเสธการให้ข้อมูลข่าวสารของสถาบันอุดมศึกษาของรัฐต่อคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร และโดยส่วนใหญ่คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร “จะใช้หลักทฤษฎีเปิดเผยเป็นหลัก ปกปิดเป็นข้อยกเว้น” ในการพิจารณาอุทธรณ์แล้ววินิจฉัยให้สถาบันอุดมศึกษาเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่ได้ปฏิเสธทั้งหมด เป็นเหตุให้เกิดผลเสียทั้งทางสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ และผู้ขอข้อมูลข่าวสารราชการ

References

กาญจนา โนนทวงศ์. (2544). ปัญหาวิธีพิจารณาของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูล
ข่าวสาร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิตติศักดิ์ ปรกติ. (2541). สิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2540). สาระน่ารู้พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
นัทพล เพชรากูล. (2556). บทบาทและสถานะทางกฎหมายของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ ปรีดี พนมยงศ์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
นันทวัฒน์ บรมานันท์. (2552). หลักกฎหมายปกครองเกี่ยวกับบริการสาธารณะ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิญญูชน.
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ 2540.
ระเบียบสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี. ว่าด้วยการจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดู พ.ศ. 2541.
วิรัชนี ลักขีพินิศกุล. (2549). การเปิดเผยข้อมูลข่าวสารซึ่งอยู่ในความครอบครองขององค์กรนิติบัญญัติและองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ. วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

Published

2017-08-10

How to Cite

เอี่ยมสำอาง ช. (2017). ปัญหาการใช้ดุลพินิจในการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารของราชการในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ. Academic Journal Phranakhon Rajabhat University, 8(2), 23–33. Retrieved from https://so01.tci-thaijo.org/index.php/AJPU/article/view/95614

Issue

Section

บทความวิจัย (Research Article)