การส่งบทความ

วารสารนี้ยังไม่เปิดรับบทความ ในช่วงเวลานี้

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด
  • บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น (หรือหากมีกรุณาอธิบายในข้อความส่งถึงบรรณาธิการ).
  • บทความเตรียมในรูปแบบของไฟล์ Microsoft Word
  • มีการให้ URLs สำหรับเอกสารที่อ้างอิงจากอินเทอร์เน็ต
  • บทความพิมพ์แบบใช้ระยะห่างบรรทัดปกติ (single-spaced) ขนาดฟ้อนท์ตัวอักษร 16 pt(ในภาษาไทย) และ 12 pt (ในภาษาอังกฤษ) ใช้ตัวเอนแทนการขีดเส้นใต้สำหรับสังกัดผู้นิพนธ์ (ยกเว้น ที่อยู่ URL) และ ระบุข้อมูล รูปวาด รูปภาพ และตาราง ในตำแหน่งที่เหมาะสมในบทความ ให้เป็นตามข้อกำหนดของวารสาร
  • บทความเตรียมตามข้อกำหนดของวารสารฯ ทั้งในแง่ของรูปแบบและการอ้างอิง ตามคำแนะนำสำหรับผู้แต่ง (Author Guidelines)

คำแนะนำผู้แต่ง

คำแนะนำการเตรียมและส่งต้นฉบับ (ดาวน์โหลด PDF)

 - รูปแบบบทความวิชาการ ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ (ดาวน์โหลด PDF)

 - รูปแบบบทความวิจัย ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ (ดาวน์โหลด PDF)

 - รูปแบบบทวิจารณ์หนังสือ ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ (ดาวน์โหลด PDF)

- ขั้นตอนการส่งบทความในวารสารฯ (ดาวน์โหลด PDF)

- แบบฟอร์มส่งบทความเพื่อเผยแพร่ สำหรับนักศึกษา (ดาวน์โหลด PDF)

 

วารสารการบริหารการศึกษาและศึกษาศาสตร์

กองบรรณาธิการวารสารการบริหารการศึกษาและศึกษาศาตร์ ขอเชิญผู้เขียนที่สนใจทุกท่านร่วมส่งบทความวิจัย บทความวิชาการ ในสาขาการบริหารการศึกษาและสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ทั้งนี้ผลงานที่ส่งมาให้พิจารณาเพื่อตีพิมพ์ต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารอื่น ๆ

ชนิดของเรื่องที่จะตีพิมพ์

  1. บทความวิชาการสาขาบริหารการศึกษา และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา
  2. บทความวิจัยสาขาบริหารการศึกษา และสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านการศึกษา หากเป็นวิทยานิพนธ์ต้องมีหนังสือรับรองและลงนามทั้งอาจารย์ที่ปรึกษาหลักและนักศึกษา/นิสิต ผู้ทำวิทยานิพนธ์
  3. บทความปริทัศน์ บทความพิเศษ และปกิณกะ

การเตรียมต้นฉบับบทความ

  1. ต้นฉบับต้องพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป MS Word for Windows ขนาด 15 แบบอักษรใช้ TH SarabunPSK (ในตารางขนาด 14) พิมพ์หน้าเดียวในกระดาษ A4 ระยะขอบกระดาษ ด้านบน–ล่าง 2.54 cm. ด้านซ้าย 3.17 cm. ด้านขวา 2.54 cm. จำนวน 12 หน้า (ไม่รวมรายการอ้างอิง) และรายการอ้างอิงต้องไม่เกิน 40 รายการ รวมรายการอ้างอิง ไม่เกิน 15 หน้า
  1. ชื่อเรื่องเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยตัวหนาไว้หน้าแรกตรงกลาง ขนาดอักษร 17
  2. ชื่อผู้เขียนเป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติ ขนาด 14 (หนา) อยู่ใต้ชื่อเรื่อง ให้ระบุ ตัวเลขเป็นตัวยกท้าย และสถานที่ทำงาน ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พิมพ์ด้วยตัวอักษรปกติ ขนาด 12 (หนา) ให้ระบุตัวเลขเป็นเลขยกท้ายให้ตรง กับชื่อผู้นิพนธ์ ทั้งนี้เฉพาะผู้วิจัยหลักเพิ่มเบอร์โทรศัพท์ และ e-mail ในส่วนล่างสุด
  3. บทคัดย่อภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ไม่เกิน 1 หน้าต่อบทคัดย่อ (ไม่เกิน 350 คำ)
  4. กำหนดคำสำคัญ (Keyword) ทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ (จำนวน 3 – 5 คำ)
  5. การเรียงหัวข้อ หัวข้อใหญ่สุดให้พิมพ์ชิดขอบด้านซ้าย ขนาดอักษร 16 (หนา)
  6. การเรียงหัวข้อ หัวข้อย่อยให้ย่อหน้า 1.25 ซม. ขนาดอักษร 15 (หนา)
  7. การใช้ตัวเลขคำย่อ และวงเล็บควรใช้เลขอารบิคทั้งหมดใช้คำย่อที่เป็นสากลเท่านั้น การวงเล็บภาษาอังกฤษ ควรใช้ Capital Letters เช่น Student Centered Learning
  8. การกำหนดเลขหัวข้อ หัวข้อใหญ่ให้ย่อหน้า 1.25 ซม. หัวข้อย่อยใช้หัวข้อหมายเลขระบบทศนิยม หัวข้อย่อยถัดมาให้ย่อหน้า 2 ซม. หัวข้อย่อยถัดมาให้ย่อหน้า 2.5 ซม. หัวข้อย่อยถัดมาให้ย่อหน้า 3 ซม. หัวข้อย่อยถัดมาให้ย่อหน้า 2 ซม. หลังจากนั้นถัดมาหัวข้อละ 0.5 เซนติเมตร และใช้ “-” แทนการกำกับแทนตัวเลข  เช่น

- บทคัดย่อ (ภาษาไทย)

- บทคัดย่อ (ภาษาอังกฤษ)

- บทนำ

- วัตถุประสงค์วิจัย

- สมมติฐาน (ถ้ามี)

- กรอบแนวคิดการวิจัย

- ระเบียบวิธีวิจัย

   - ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

   - เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

   - การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ

   - การเก็บรวบรวมข้อมูล

   - การวิเคราะห์ข้อมูล

- จริยธรรมวิจัย/การพิทักษ์สิทธิกลุ่มตัวอย่าง

- ผลการวิจัย

- อภิปรายผล

- การนำผลการวิจัยไปใช้

- ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

- References

บทความวิจัย (ภาษาอังกฤษ)

- Abstract (in Thai)

- Abstract

- Introduction

- Objectives

- Hypotheses (if available)

- Conceptual Framework

- Methods

- Population and Sample

- Research Instrument

- Validity and Reliability of the Research Instrument

- Data Collection

- Data Analysis

- Ethical Consideration/Informed Consent

- Results

- อภิปรายผล (Discussion)

- การนำผลการวิจัยไปใช้ (Implication of the Results)

- ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป (Recommendation for Further Study)

- References

บทความวิชาการ ประกอบด้วย

- บทคัดย่อ (Abstract)

- บทนำ (Introduction)

- เนื้อเรื่อง (Content) แสดงสาระสำคัญที่ต้องที่ต้องการนำเสนอตามลำดับ

- สรุป (Conclusion)

- ข้อเสนอแนะ (Suggestion)

- References

10. การเตรียมเอกสารอ้างอิง ให้ใช้ระบบอ้างอิงแบบ APA Formatted References, 6th Edition โดยศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wooster.edu/psychology/apa-crib.html.

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

การอ้างอิงในเนื้อหา

ใช้ระบบนาม- ปี (Name – year system)

ชื่อผู้แต่งภาษาไทย ไม่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และผู้แต่งภาษาอังกฤษ ให้เขียนเฉพาะนามสกุล ทุกคน ถ้ามากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรก ตามด้วย et al., ดังตัวอย่าง

(นวรัตน์ ไวชมภู, 2563)

(นวรัตน์ ไวชมภู, จรุณี เก้าเอี้ยน, & นิตยา เรืองแป้น, 2563)

(นวรัตน์ ไวชมภู, จรุณี เก้าเอี้ยน, นิตยา เรืองแป้น, พิมพ์ปวีณ์ สุวรรณโณ, กิตติพร เนาว์สุวรรณ, ลัลน์ลลิต สืบประดิษฐ์ และคณะ, 2563)

การคัดลอกข้อความ ใช้ระบบนาม-ปี และข้อความที่คัดลอกมาอยู่ในเครื่องหมาย “…………..” กรณีชื่อผู้แต่งภาษาไทย ให้แปลเป็นภาษาอังกฤษ เช่น

Bandura (1991) ให้นิยามว่า “จริยธรรมคือ กฎสำหรับการประเมินพฤติกรรม”…

“พยาบาลจึงจะต้องเป็นนักคิดและมีการประเมินอย่างต่อเนื่องเพื่อแก้ความสงสัยที่เกิดขึ้นตลอดเวลา” (Kunaviktikul, 2007)

สอดคล้องกับการศึกษาของ นวรัตน์ ไวชมภู (2562)

การอ้างอิงท้ายบทความ

  1. บทความทั่วไป ชื่อผู้แต่งภาษาไทยและผู้แต่งภาษาอังกฤษ ใส่ชื่อสกุลผู้ร่วมงานทุกคน ถ้าไม่เกิน 6 คน ให้ใส่ชื่อทั้ง 6 คน หากมากกว่า 6 คน ให้ใส่ชื่อ 6 คนแรกตามด้วยคำว่า และคณะ /et al.,
  2. ผู้เขียนเป็นกลุ่มหน่วยงาน

          สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). แนวทางการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ.กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

  1. การอ้างอิงเฉพาะบทในหนังสือ

           Waite, J. (2011). “Information and Documentation. In Potter, A. P., Perry, G. A., Stockert, A. P. & Hall, A.” Basic Nursing Challenge. (pp. 142-164). Missouri: Mosby/Elsevier.           

  1. การอ้างอิงเอกสารจากอินเตอร์เน็ต

          Heubecke, E.  (2008). The New Face of Nursing: Expanding Patient Advocacy with Leadership, Creativity, and Vision. Johns Hopkins Nursing Magazine.  Retrieved November 3, 2013 from https://magazine.nursing.jhu.edu/.

  1. การอ้างอิงจากวารสาร

           นวรัตน์ ไวชมภู,นิรันดร์ จุลทรพัย์ และกิตติพร เนาว์สุวรรณ.(2562).องค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาคใต้ตามความคิดเห็นของอาจารย์. 8(4): 115-124.

  1. วิทยานิพนธ์

             นวรัตน์ ไวชมภู (2562). การสังเคราะห์ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคใต้. วิทยานิพนธ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

การส่งบทความ

       ส่งบทความทางระบบออนไลน์มาที่ https://www.tci-thaijo.org/ โดยระบุชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทร ของผู้เขียน เพื่อวารสารฯ ติดต่อกลับ วารสารการบริหารการศึกษาและศึกษาศาสตร์ มีกำหนดออก 3 ฉบับต่อปี คือ ฉบับที่ 1 (มกราคม – เมษายน) ฉบับที่ 2 (พฤษภาคม – สิงหาคม) ฉบับที่ 3 (กันยายน – ธันวาคม)

รายการตรวจสอบก่อนส่งบทความ

  1. บทความนี้ยังไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณาเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น
  2. หากเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หรือปริญญานิพนธ์ต้องผ่านการเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาวิจัย
  3. บทความจะต้องพิมพ์ภายใต้รูปแบบตามที่วารสารกำหนดอย่างเคร่งครัด

บทความที่ออกหนังสือรับรองการตีพิมพ์ก่อนมีการเผยแพร่ จะต้องแก้ไขตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิหรือกองบรรณาธิการก่อนจึงจะถือว่าหนังสือรับรองการตีพิมพ์จะสมบูรณ์ หากไม่แก้ไขจะถือสิทธิ์ว่าไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์เพื่อการใด ๆ ทั้งสิ้น

เกณฑ์การพิจารณาคุณภาพของบทความ

 

  1. บทความต้องผ่านการกลั่นกรองและการประเมินคุณภาพจากกองบรรณาธิการของวารสารซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเนื้อหาของบทความเพื่อลงตีพิมพ์จำนวน 2 ท่านต่อบทความ โดยผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ (Peer-review) จะไม่ทราบชื่อผู้แต่งและผู้แต่งจะไม่ทราบชื่อผู้พิจารณาเช่นกัน (Double blind) และบทความหรือข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสารการบริหารการศึกษาและศึกษาศาสตร์ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน ทีมบรรณาธิการไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย
  2. บทความที่ตีพิมพ์ต้องได้รับการการยอมรับจากผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 2 ท่าน จึงจะได้รับการตีพิมพ์หากผู้ทรงคุณวุฒิท่านใดท่านหนึ่งปฏิเสธการตีพิมพ์ (Reject) ถือว่าบทความนั้นถูกปฏิเสธการตีพิมพ์
  3. บทความต้องพิมพ์ตามรูปแบบที่วารสารกำหนดอย่างเคร่งครัด
  4. ผู้เขียนต้องส่งต้นฉบับด้วยระบบออนไลน์
  5. วารสารสงวนสิทธิ์ที่จะเรียบเรียงและอาจจะปรับปรุงการนำเสนอบทความตามความเหมาะสมและความคิดเห็นของผู้เขียน

นโยบายส่วนบุคคล

ชื่อและที่อยู่อีเมลที่ป้อนในเว็บไซต์วารสารนี้จะใช้สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในวารสารนี้เท่านั้นและจะไม่เผยแพร่เพื่อวัตถุประสงค์ในกิจกรรมอื่นๆ