การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบบริหารวัสดุสำรองคลัง กรณีศึกษา สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้แต่ง

  • พิชามญชุ์ กาหลง สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

คลังวัสดุ, การบริหารวัสดุสำรองคลัง, มหาวิทยาลัยมหิดล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัญหาของระบบบริหารวัสดุสำรองคลัง และ 2) เพื่อออกแบบระบบบริหารวัสดุสำรองคลังของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ คือ รายงานการใช้วัสดุสำรองคลังของสถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2554-2562 แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและวิเคราะห์ระบบงานเดิม เครื่องมือที่ใช้ คือ การเขียนแผนภาพระบบการทำงาน (Diagram) วิเคราะห์ข้อมูลทโดยดำเนินการรวบรวมปัญหา อุปสรรค จากนั้นนำสภาพปัญหาระบบงานวัสดุมาวิเคราะห์โดยใช้เทคนิคการเขียนแผนภาพระบบการทำงาน (Diagram) ขั้นตอนที่ 2 วิเคราะห์ประสิทธิภาพระบบบริหารวัสดุสำรองคลัง วิเคราะห์ประสิทธิภาพด้วย ABC-FSN-HML Matrix Analysis และ ขั้นตอนที่ 3 ออกแบบและพัฒนาระบบบริหารวัสดุสำรองคลัง โดยนำการวิเคราะห์แบบ ABC-FSN-HML Matrix Analysis    มาประยุกต์ใช้ในการออกแบบระบบบริหารวัสดุสำรองคลังให้มีประสิทธิภาพ ผลการศึกษาพบว่า

1. สภาพปัญหาวัสดุสำรองคลังส่วนใหญ่เป็นวัสดุสำรองคลังประเภทที่มีความสำคัญน้อย (C) และเป็นวัสดุสำรองคลังที่มีอัตราการหมุนเวียนเพื่อใช้งานระดับต่ำ (N) และยังพบว่าวัสดุสำรองคลังส่วนใหญ่เป็นวัสดุสำรองคลังราคาถูก (L)

2. ระบบบริหารวัสดุสำรองคลังที่ได้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) การกำหนดวิธีการควบคุมใหม่ โดย 1.1) กำหนดสัญลักษณ์บ่งบอกความสำคัญ (A : วัสดุสำรองคลังที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง B : วัสดุสำรองคลังที่มีความสำคัญปานกลาง C : วัสดุสำรองคลังที่มีความสำคัญน้อย) 1.2) กำหนดสัญลักษณ์บ่งบอกการใช้งาน (F : วัสดุสำรองคลังที่มีการหมุนเวียนใช้งานสูง S : วัสดุสำรองคลังที่มีการหมุนเวียนใช้งานปานกลาง N : วัสดุสำรองคลังที่มีการหมุนเวียนใช้งานต่ำ) และ 1.3) กำหนดสัญลักษณ์บ่งบอกราคา (H : วัสดุสำรองคลังที่มีราคาแพง M : วัสดุสำรองคลังที่มีราคาปานกลาง L : วัสดุสำรองคลังที่มีราคาถูก) และ 2) กำหนดมาตรฐานใหม่ในการควบคุมวัสดุสำรองคลังในคลังวัสดุ คือ จัดสัดส่วนของพื้นที่คลังวัสดุ ร้อยละ 50 เพื่อจัดเก็บวัสดุสำรองคลังกลุ่มที่มีการหมุนเวียนใช้งานปานกลางและหมุนเวียนใช้งานต่ำ ร้อยละ10 จัดไว้สำหรับเก็บวัสดุสำรองคลังกลุ่มซึ่งมีการหมุนเวียนใช้งานสูง และร้อยละ 40 เป็นพื้นที่สนับสนุนและทางเดินสำหรับผู้ปฏิบัติงาน

References

กระทรวงการคลัง. (2560). ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กรมบัญชีกลาง.

พระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, 134(ตอนที่24ก), 13-54.

Bhadiyadra, A. (2018). ABC and HML Analysis for Material Management-Case Study of Commercial Building Project. International Journal for Research in Applied Science and Engineering Technology, 6, 2387-2390.

Charles, G. P. (2002). Considerations in Order Picking Zone Configuration. Journal of Operation and Production Management, 22(7), 793-805.

James, A. T. & Jerry, D. S. (1998). The Warehouse Management Handbook. Second Edition, Nottingham: Tompkins Press.

Kubasakova, I., Poliakova, B. & Kobanova, J. (2015). ABC Analysis in the Manufacturing. Applied Mechanics and Materials, 803, 33-39.

Palanisamy, M. & Ranganathan, R. (2017). Prioritized FSN Analysis of Inventory Management in Private and Hospital Pharmacy Followed by Questionnaire. International Research Journal of Pharmacy, 7(12), 104-113.

Tompkins, & Smith. (1988). The Warehouse Management Handbook North. Carolina: Mcgraw-Hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-09