การพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์โดยใช้ศิลปะงานปั้นสำหรับเด็กปฐมวัย

ผู้แต่ง

  • สุจิน จันทร์คีรี โรงเรียนอนุบาลยะลา

คำสำคัญ:

มิติสัมพันธ์, ศิลปะงานปั้น, เด็กปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพแผนการจัดประสบการณ์การพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์โดยใช้ศิลปะงานปั้น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์โดยใช้ศิลปะงานปั้นสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนอนุบาลยะลา จำนวน 27 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ศิลปะงานปั้น 2) ชุดกิจกรรมศิลปะงานปั้น และ 3) แบบประเมินวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือทั้ง 3 ชุด โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 ท่าน ด้วยการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ได้เท่ากับ 0.67-1.00 ทั้ง 3 ชุด หาค่าความเชื่อมั่นของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้ศิลปะงานปั้น และชุดกิจกรรมศิลปะงานปั้น โดยการนำมาทดลอง 2 ครั้ง กับนักเรียนที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 84.80/83.33 และ 85.90/82.05 หาค่าความเชื่อมั่นของแบบประเมินวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ โดยใช้สูตร KR-20 ได้ความเชื่อมั่น 0.847 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า

1. ประสิทธิภาพแผนการจัดประสบการณ์การพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์โดยใช้ศิลปะงานปั้นก่อนเรียน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 84.81 (E 1) และหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยร้อยละ 86.56 (E 2) แสดงว่าแผนการจัดประสบการณ์การพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์โดยใช้ศิลปะงานปั้น มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

2. ผลการเปรียบเทียบความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัย หลังได้รับการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมศิลปะงานปั้น สูงกว่าก่อนจัดประสบการณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน พบว่า การพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ ด้านที่ 2 ด้านการต่อเข้าด้วยกัน มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 8.63 และด้านที่ 4 ด้านการมองวัตถุกับการเคลื่อนไหว มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นน้อยสุด คิดเป็นร้อยละ 8.37

References

แก้วตา ริวเชี่ยวโชติ. (2555). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์สำหรับเด็กปฐมวัยก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ

ธนารัตน์ เจือจันทร์. (2554). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ด้วยเส้นเชือก. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนคริทรวิโรฒ.

นพรัตน์ นามบุญมี. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้กิจกรรมสร้างสรรค์แบบร่วมมือเทคนิคกลุ่มสืบสอบ. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2537). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด. (2547). วิธีการทางสถิตสำหรับการวิจัย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์. (2526). การทดลองแบบอิงเกณฑ์: แนวคิดและวิธีการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรี นครินทรวิโรฒ.

ประภาพรรณ เส็งวงศ์. (2550). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยการวิจัยชั้นเรียน. กรุงเทพฯ: อี. เค. บุ๊คส์.

เผชิญ กิจระการ. (2544). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา (E1/E2) ในการวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม: ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2549). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์.

เพ็ญทิพา อ่วมมณี. (2547). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ใช้ลวดกำมะหยี่สีในการทำกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2546). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยพุทธศักราช 2546 (สำหรับเด็กอายุ 3-5 ปี). กรุงเทพฯ: คุรุสภา.

สนธิยา โกมลเปริน. (2554). ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม. ศิลปสร้างสรรค์เปเปอร์มาร์เช่. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2541). การจัดการเรียนรู้. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ.

สมนึก ภัททิยธนี. (2548). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุภาวดี หาญเมธี. (2554). คู่มือพัฒนาการเด็ก. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: รักลูกแฟมิลี่กรุ๊ป.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-21