ประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการเขียนขีดต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการบวกจำนวนสองจำนวนที่ผลบวกไม่เกิน 10 ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขาวัง จังหวัดปัตตานี

ผู้แต่ง

  • สุไกย๊ะ ลิมาน โรงเรียนบ้านเขาวัง อำเภอมายอ จังหวัดปัตตานี

คำสำคัญ:

ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์, การเขียนขีด, การบวกจำนวนสองจำนวนที่ผลบวกไม่เกิน 10

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการเขียนขีด 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่ผลบวกไม่เกิน 10 ก่อนและหลังใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการเขียนขีด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านเขาวัง ที่มีต่อชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการเขียนขีด กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนบ้านเขาวัง จังหวัดปัตตานี จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ หาความตรงเชิงเนื้อหาโดยค่าดัชนีความสอดคล้องของเนื้อหาของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ และแบบสอบถามความพึงพอใจ ได้ค่าระหว่าง 0.60-1.00 หาคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยมาตรส่วนประมาณค่า ตามวิธีของลิเคอร์ท (Likert) 5 ระดับ เท่ากับ 4.58 ค่าประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ ได้ค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.46/83.53 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ โดยใช้สูตร KR-20 เท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีคู่

ผลการวิจัย พบว่า ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการเขียนขีด มีประสิทธิภาพ 96.32/94.22 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 และ 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการเขียนขีด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=2.87, S.D=0.12)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

ประภาพรรณ เส็งวงศ์. (2550). การพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีวิจัยในชั้นเรียนรู้. กรุงเทพฯ: อี.เค.บุ๊คส์.

ปราณี หลำเบ็ญสะ. (2561). การวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพฯ: สหมิตรพัฒนาการพิมพ์ (1992).

พิกุล มีคำทอง. (2563). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาวิชาคณิตศาสตร์เรื่อง การบวก ลบ คูณ หารระคน โดยใช้เทคนิค KWDL สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 20(4), 65-68.

พิมพ์พร ครอบครอง. (2559). ผลการใช้วิธีการสอนแบบเรียนปนเล่น กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิสณุ ฟองศรี. (2556). การสร้างและการพัฒนาเครื่องมือการวิจัย (3). กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.

แวอาตีกะห์ แวซู. (2560). การใช้ชุดฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การลบจำนวนสองจำนวนที่มีตัวตั้งไม่เกิน 20

ในการพัฒนาทักษะคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านอาโห. ปัตตานี: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2.

ศรันย์ เปรมปรีดา. (2559). การพัฒนาชุดฝึกทักษะในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้วยทฤษฎีบาร์โมเดล สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.

สิริบงกช วัชระกาญจกุล. (2561). การพัฒนาชุดฝึกทักษะแอนิเมชัน 2 มิติ เรื่อง การบวกจำนวนสองจำนวนที่มีผลบวกไม่เกิน 9 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วารสารครุพิบูล, 5(2), 214–216.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-05