การพัฒนาโปรแกรมการนิเทศอย่างมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลระบบทางเดินหายใจ

ผู้แต่ง

  • เบญจมาส ถิ่นหัวเตย หอผู้ป่วยไอซียูระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

โปรแกรมการนิเทศอย่างมีเป้าหมาย, พัฒนาคุณภาพ, การดูแลระบบทางเดินหายใจ

บทคัดย่อ

การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์ สังเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการ 2) พัฒนาโปรแกรม และ 3) ศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการนิเทศอย่างมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนคือ1) วิเคราะห์ สังเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ พยาบาลวิชาชีพกลุ่มงานผู้ป่วยหนัก จำนวน 13คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวิเคราะห์ สังเคราะห์สาเหตุรากเหง้าและแบบการวิเคราะห์ SWOT analysis ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่านโดยการวิเคราะห์ด้วย CVI มีค่าดรรชนีความตรง คือ 0.94 2) พัฒนาโปรแกรมการนิเทศอย่างมีเป้าหมายและ  3) ประเมินประสิทธิผลของโปรแกรมการนิเทศอย่างมีเป้าหมาย กลุ่มตัวอย่าง คือ พยาบาลหอผู้ป่วยไอซียูระบบทางเดินหายใจจำนวน 13 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยระบบทางเดินหายใจ และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน โดยการวิเคราะห์ด้วยCVI ได้เท่ากับ 1.0 ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัญหาและความต้องการพัฒนาคุณภาพการพยาบาลการดูแลระบบทางเดินหายใจ พบว่า พยาบาลต้องการพัฒนาความรู้ในเรื่องการเลือกใช้อุปกรณ์ที่เหมาะสม การจัดท่าผู้ป่วยและจัดตำแหน่งท่อช่วยหายใจ การกระตุ้นไอ การดูดเสมหะที่ถูกต้อง เทคนิคการพ่นยาขยายหลอดลม การใช้กราฟฟิกการหายใจช่วยประเมินอาการผู้ป่วยcและโปรแกรมการนิเทศเน้นแบบมีส่วนร่วม

2. โปรแกรมการนิเทศอย่างมีเป้าหมาย คือ รูปแบบการนิเทศแบบชี้แนะ ประกอบด้วย 1) การกำหนดตัวผู้นิเทศ 2) เพิ่มศักยภาพของผู้นิเทศ และ 3) คู่มือการนิเทศ

3. หลังการใช้โปรแกรมการนิเทศอย่างมีเป้าหมายช่วยลดจำนวนวันนอนในหอผู้ป่วยไอซียูระบบทางเดินหายใจลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

จันทร์เพ็ญ เนียมวัน เดือนแรม เรืองแสน และ วราทิพย์ แก่นการ. (2563). วารสารการพยาบาลและการดูแลสุขภาพ, 38(1), 6-14.

นฤม ลศิลวิศาล และ วาสินี วิเศษฤทธิ์ (2562) ความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การปฏิบัติงานการอบรมเฉพาะ ทางความฉลาดทางอารมณ์สภาพแวดล้อมในการทำงานกับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพในหอผู้ป่วยวิกฤตศัลยศาสตร์หัวใจและทรวงอกโรงพยาบาลตติยภูมิ. วารสารพยาบาลโรคหัวใจและทรวงอก, 30(1), 46-59.

ผ่องศรี สุวรรณพายัพ, พรทิพย์ สุขอดิศัย, และ กรรณิกา อำพน. (2556). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางการ พยาบาล กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลพระปกเกล้า. การพยาบาลและการศึกษา, 6(1), 12-26.

พรพิมล ลี้ทอง. (2562). ปอดอักเสบติดเชื้อที่เกิดในโรงพยาบาลและปอดอักเสบที่สัมพันธ์กับเครื่องช่วยหายใจใน ผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่โรงพยาบาลสมุทรปราการ สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง ผลการรักษาและผลกระทบจากเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ. วารสารวิชาการแพทย์เขต 11, 33, 181-196.

ยุวดี เกตุสัมพันธ์. Glow model เอกสารประกอบการประชุมเรื่อง การนิเทศทางคลินิกด้วย coaching : Key factor for Nursing Excellence วันที่ 26-27 ธันวาคม 2559 ณ ห้องประชุมจุฬาภรณ์ ตึกสยามินทร์ ชั้น 2. [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 2 มกราคม 2564 จาก https://www.si.mahidol.ac.th/Th/ division/nursing/NDivision/N_QD/admin/download_files/216_72_1.pdf

รุสนีย์ ไวยากรณ์ เพชรน้อย สิงห์ช่างชัย และ เบ็ญจวรรณ พุทธิอังกูร. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมการเสริมสร้างพลังอำนาจในงานและประสิทธิผลของหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นโรงพยาบาลเอกชน. พยาบาลสาร, 46(2), 142-151.

ศิริวรรณ เมืองประเสิรฐ, อุษณีย์ คงคากุล, นริสา สะมาแอ, ทัศณียา ไข้บวช, จุฑามาศ เอี่ยมวุฒิวัฒนา, และสรวงสุดา เจริญวงศ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการนิเทศทางคลินิกแบบมีส่วนร่วมของกลุ่มการพยาบาลโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 10(2), 13-24.

สุกัญญา ชัยขวัญ. 2563. ผลของการนิเทศตามโมเดลการโค้ชแบบเคลียร์ของผู้บริหารทางการพยาบาลระดับต้นที่ โรงพยาบาลระดับทุติยภูมิแห่งหนึ่ง. วารสารครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 17(2), 160-169.

Brunero, S., & Stein-Parbury, J. (2008). The Effectiveness of Clinical Supervision in Nursing: an Evidenced Based Literature Review. Australian Journal of Advanced Nursing,25(3), 86-96.

Grissom ,C. K., Brown, S. M., Kuttler, K. G., & Orme Jr, J. F. A. (2010). Modified Sequential Organ Failure Assessment (MSOFA) Score for Critical Care Triage. Disaster Med Public Health Prep, 4(4), 1-16.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-21