การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบการสอนแบบกลุ่มสืบค้นเพื่อส่งเสริมทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา
คำสำคัญ:
การเรียนรู้แบบร่วมมือ, กลุ่มสืบค้น, ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ, มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบกลุ่มสืบค้น และ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบกลุ่มสืบค้นกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตยะลา ปีการศึกษา 2563 กำหนดโดยเกณฑ์ร้อยละได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 30 คน สุ่มแบบเจาะจงตามคุณสมบัติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบประเมินทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของเครื่องมือทั้ง 3 ชุด โดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ด้วยการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความตรงของเนื้อหา ได้ค่าระหว่าง 0.67 – 1.00 ทั้ง 3 ชุด และหาค่าความเชื่อมั่นของคูเตอร์ – ริชาร์ดสัน โดยใช้สูตร KR -20 ได้เท่ากับ 0.75 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที t-test
ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าก่อนเรียน (M=5.77, S.D=1.42) , (M=3.87, S.D=1.63) เมื่อเปรียบเทียบทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษก่อน และหลัง การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบกลุ่มสืบค้น พบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือโดยใช้รูปแบบกลุ่มสืบค้นกับเกณฑ์ ร้อยละ 60 พบว่า นักศึกษาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 60 จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 56.66 และต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 43.44
References
ชลลดา ติยะวิสุทธิ์ศรี. (2555). การพัฒนาการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ของนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พยาบาลศาสตรบัณฑิต). ภาควิชาการพยาบาลเด็กและวัยรุ่น วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช.
ชานนท์ ภาคกินนร ศศิพร พงศ์เพลินพิศ และสุชีรา มะหิเมือง. (2563). ผลการพัฒนาพฤติกรรมมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษโดยใช้เกมส์คำศัพท์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย. ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(2), 45-55.
ทรงยุทธ ต้นวัน. (2553). จัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์แบบบูรณาการโดยใชกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทำงานเป็นทีมและเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษา. ศึกษาศาสตร์สารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 4(1),16 - 27.
ทิศนา แขมมณี. (2548). รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ธีระศักดิ์ สินชัย และ พชรนนท์ สายัญห์เกณะ (2559). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้วิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือที่เน้นวิธีการสอนแบบ ทีม คู่ เดี่ยว : กรณีศึกษาของโรงเรียนบ้านขอนแตก ตำบลขอนแตก อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, 8(2), 69-89.
นริสา กัลยา. (2552). การพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เกม วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ยุทธพงษ์ บุญภา. (2550). การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษ โดยใช้เกมสื่อสารนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัฯฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. (2563). ยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ พ.ศ. 2561 – 2565 (ฉบับทบทวน) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ. ชลบุรี.
ล้วน สายยศ. (2553). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
สมเกียรติ อ่อนวิมล. (2554). ภาษาอังกฤษกับอนาคตของไทยใน ASEAN. สืบค้นออนไลน์เมื่อ 26 พฤศจิกายน 2563, เข้าถึงได้จาก http://www.facebook.com/notes/
สุคนธ์ สินธพานนนท์. (2553). นวัตกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุพรรณี บุญเพิ่ม. (2551). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาอังกฤษ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัฯฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
อิทธิพล อาจอินทร์ และธีรชัย เนตรถนอมศักดิ์ . (2554). การจัดการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานในรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตร 5 ปี. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 1(1), 1-16.
Ahdell, R. & Andersen, G. (2001). Games and Simulations in Workplace E-Learning. (Unpublished Master thesis) Norwegian University of Science and Technology.
Clark, J. L. D. (1979). Direct vs Semi-Direct Tests of Speaking Proficiency. Concepts in Language Testing. Washington DC. TESOL.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient Alpha and the Internal Structure of Tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Johnson, D. W. & Johnson, F. P. (2009). Joining Together:Group Theory and Group Skills.7th Ed. New York. Pearson Education.
Klawe, M. & Phillips, E. (1995). A Classroom Study: Electronic Games Engage Children as Researchers. (Unpublished Master thesis). Canada: University of British Columbia
Littlewood, William. (1998). Communicative Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการบริหารการศึกษาและครุศาสตร์ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย