ประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการตามรูปแบบ 2 (PCA) ร่วมกับการใช้เกมต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

ผู้แต่ง

  • ยุซรอ เล๊าะแม วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • มยุรี ยีปาโล๊ะ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • เขมพัทธ์ ขจรกิตติยา วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
  • ภาซีน่า บุญลาภ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา

คำสำคัญ:

2 (PCA), เกม, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, นักศึกษาพยาบาล

บทคัดย่อ

การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการตามรูปแบบ 2 (PCA) ร่วมกับการใช้เกมต่อการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี ยะลา กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 67 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ 1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการตามรูปแบบ 2 (PCA) และกรณีศึกษา และ
2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล และแบบประเมินการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Face Validity) จากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และหาค่าความเที่ยงระหว่างผู้ประเมิน (Interrater) ได้ค่าเท่ากับ .83 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสถิติทีคู่ ผลการวิจัยพบว่า

หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการคิดอย่างมีวิจารณญาณ (M=10.00, S.D.=1.29) สูงกว่าก่อนทดลอง (M=9.06, S.D.=1.09) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001)

จากการศึกษาครั้งนี้จะเห็นได้ว่า การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยบูรณาการตามรูปแบบ 2 (PCA) ร่วมกับการใช้เกมสามารถพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณให้ดีขึ้น ดังนั้นผู้สอนจึงสามารถประยุกต์ใช้กิจกรรมดังกล่าวในการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการเรียนรู้ต่อไป

References

จันทรา พรหมน้อย, เนตรนภา พรหมเทพ, และศมนนันท์ ทัศนีย์สุวรรณ. (2555). ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารพยาบาลสงขลานครินทร์, 32(3), 1-12.

ทิศนา แขมมณี. (2559). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดการกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2553). ระเบียบวิธีการวิจัยทางพยาบาลศาสตร์ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

มัฎฐวรรณ ลี้ยุทธานนท์ และสุทธานันท์ กัลป์กะ. (2559). ประสิทธิผลของรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาพยาบาล. วารสารการพยาบาลและการศึกษา, 9(1), 61-74.

สมหญิง โควศวนนท์, สมสิริ รุ่งอมรรัตน์, และสุพรรณิกา ปานบางพระ. (2558). ผลการเรียนการสอนโดยใช้กรณีศึกษาต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล. วารสารพยาบาลศาสตร์, 33(3), 99-108.

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2556). แผนพัฒนาการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2559. จาก http://www.pld.rmutt.ac.th/?wpfb_dl=210.

สุชาติ แสนพิช, ทิศนา แขมมณี, และคณาภรณ์ รัศมีมารีย์. (2559). นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา. สืบค้นวันที่ 10 กันยายน 2559. จาก http://innovation.kpru.ac.th.

สุวิทย์ มูลคำและอรทัย มูลคำ. (2547). 19 วิธีจัดการเรียนรู้: เพื่อพัฒนาความรู้และทักษะ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อภิชาติ พยัคฆิน, ณสรรค์ ผลโภค, มนัส บุญประกอบ, ธีรพงษ์ แสงประดิษฐ์, และจรรยา ดาสา. (2557). การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยรูปแบบ 2(PCA) ในหน่วยการเรียนรู้สหวิทยาการเรื่อง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 9(27), 77 -90.

Alemi, F., Stephens, R., Llorens, S., Schaefer, D., Nemes, S., & Arendt, R. (2003). The Orientation of Social Support Measure. Addictive Behaviors, 28, 1285-1298.

Boctor, L. (2013). Active-Learning Strategies: The Use of Game to Reinforce Learning in Nursing Education. A Case Study. Nurse Education in Practice, 13, 96-100.

Cowen, K. J., & Tesh, A. S. (2002). Effects of Gaming on Nursing Students’ Knowledge of Pediatric Cardiovascular Dysfunction. Journal Nursing of Education, 41(11), 507-509.

Piper, K. (2016). Active Learning: What do we Know about it. Australian Nursing & Midwifery

Journal, 24(3), 35.

Strickland, H. P., & Kaylor, S. K. (2016). Bringing Your a-Game: Educational Gaming for Student Success. Nurse Education Today, 40, 101-103.

Tsai, S. L., Chai, S., & Chuang, K. H. (2015). The Effectiveness of a Chronic Obstructive Pulmonary Disease Computer Game as a Learning Tool for Nursing Students. Journal of Nursing, 5, 605-612.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-05