การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนบนพื้นฐานความจำเป็นเบื้องต้น

ผู้แต่ง

  • อัศวลักษ์ ราชพลสิทธิ์ มูลนิธิรักษ์ไทย
  • วันชัย ธรรมสัจการ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
  • ปรีดี โชติช่วง สภามหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • อังคณา ธรรมสัจการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
  • เอมอร เจียรมาศ คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

คำสำคัญ:

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม, การพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิต, เด็กและเยาวชน, ความจำเป็นพื้นฐาน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพปัญหาทักษะการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชน 2) ศึกษาผลการดำเนินกิจกรรมการพัฒนาทักษะชีวิตของเด็กและเยาวชนบนพื้นฐานความจำเป็น และ 3) สังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนบนพื้นฐานความจำเป็น กลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย 1) เด็กและเยาวชน ในชุมชนบ้านท่าดินแดงออก หมู่ที่ 4 ตำบลวังใหม่ อำเภอป่าบอน จังหวัดพัทลุง จำนวน 18 คน ได้มาด้วยวิธีการคัดเลือกแบบอาสาสมัครเข้ามามีส่วนร่วมด้วยความเต็มใจที่มีเหตุผลแตกต่างกัน ซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) กลุ่มปราชญ์ชาวบ้าน จำนวน 5 คน ซึ่งเป็นผู้ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาเด็กและเยาวชน และ 3) กลุ่มพ่อแม่ผู้ปกครองเด็กและเยาวชนจำนวน 15 คน รูปแบบการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1) การเตรียมความพร้อมก่อนการปฏิบัติการวิจัย 2) การปฏิบัติการวิจัย และ 3) การสรุปผลการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา 5 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) ตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ของชุดข้อมูลด้วยหลักการตรวจสอบข้อมูลแบบเสาเส้า 2) จำแนกข้อมูลด้วยตาราง 3) วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิดทฤษฎี 4) ตีความข้อมูล และ 5) สรุปเรียบเรียงด้วยการพรรณนา ผลการศึกษาพบว่า

1. สภาพปัญหาทักษะการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนบนพื้นฐานความจำเป็นเบื้องต้น คือ 1) ปัญหาด้านทักษะที่มีความเกี่ยวโยงกับอาหาร 2) ปัญหาด้านทักษะการดำเนินชีวิตที่เกี่ยวกับเครื่องนุ่งห่ม 3) ปัญหาด้านทักษะที่เกี่ยวกับยารักษาโรค และ 4) ปัญหาด้านทักษะที่เกี่ยวกับที่อยู่อาศัย

2. การดำเนินกิจกรรมการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนบนพื้นฐานความจำเป็นเบื้องต้น พบว่า เป็นการพัฒนาเด็กและเยาวชนเพื่อให้เด็กและเยาวชนสามารถพัฒนาตนเอง สามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานคือหลักปัจจัยสี่ (อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค) เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางจิตใจให้เด็กและเยาวชนพร้อมเผชิญต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ (เข้าใจชีวิตของตนเอง และสังคม พึ่งตนเองได้)

3. รูปแบบการพัฒนาทักษะการดำเนินชีวิตของเด็กและเยาวชนบนพื้นฐานความจำเป็นเบื้องต้น คือ 1) ปัจจัยการสนับสนุน ประกอบด้วย 1.1) ปัจจัยด้านบุคคล ได้แก่ นักวิจัย ปราชญ์ชาวบ้าน พ่อแม่ผู้ปกครอง เด็กและเยาวชน 1.2) ปัจจัยด้านงบประมาณ ได้แก่ งบประมาณสนับสนุนจากกรมส่งเสริมวัฒนธรรม และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และ 1.3) ปัจจัยด้านความร่วมมือ ทั้งภาคสนามทั้งภายในและภายนอกชุมชน 2) กระบวนการดำเนินงาน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสะท้อนคิด และการปรับปรุง และ 3) ผลผลิตที่เกิดขึ้น ได้แก่ สุขภาวะทางร่างกาย สุขภาวะทางจิต สุขภาวะทางปัญญา และสุขภาวะทางสังคมของเด็กและเยาวชน

References

คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ. (2561). แผนพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2560 – 2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ.

ทิพย์สุดา พุฒจร, ลุยง วีระนาวิน, คณิต เขียววิชัย และ ธีรศักดิ์ อุ่นอารมณ์เลิศ. (2556). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษาชุมชนสลักคอก จังหวัดตราด. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 5(2), 102-117.

นฤมล มีนา และวีระพร ศุทธากรณ์. (2561). ระสิทธิผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมทักษะชีวิตและการมีส่วนร่วมของครอบครัวต่อการพัฒนาทักษะชีวิตและความตั้งใจในการเลิกยาเสพติดในเด็กและเยาวชนที่ได้รับการติดตามโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. พยาบาลสาร, 45(2), 88-98.

นฤมล สมัตถะ, ภาคภูมิ อินทวงศ์ และศรัณย์ วงศ์คำจันทร์. (2552). แนวทางการพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนชุมชนตำบลวัง-ทรายพูน อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1), 181-199.

พลเดช เชาวรัตน์, ศุภธิดา สว่างแจ้ง และเมธี พิริยการนนท์. (2559). การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมในการส่งเสริมการขี่จักรยานไปโรงเรียนอย่างปลอดภัย. วารสารวิจัยและสาระสถาปัตยกรรม/การผังเมือง, 13(2), 69-84.

วรนุช อดิศัยศักดา และศิริวรรณ สมานมิตร. (2554). แนวทางในการเสริมสร้างทักษะชีวิตเด็กและเยาวชนของตำบลระแว้ง. วารสารการบริหารท้องถิ่น, 4(1), 79-85.

สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ. (2550). แนวทางการดำเนินงานโครงการคาราวานเสริมสร้างเด็ก 2550. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.

สุภางค์ จันทวานิช. (2553). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 18). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อนงค์นาฏ แก้วไพฑูรย์ และปัญญา พรหมบุตร. (2563). ศึกษาพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนตามนโยบายลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้. วารสารวิจัยวิชาการ, 3(3), 47-58.

อัจศรา ประเสริฐสิน, ทัชชา สุริโย และปพน ณัฐเมธาวิน. (2561). สุขภาวะของผู้สูงอายุ: แนวคิดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. วารสารสุขศึกษา, 41(1), 1-15.

Kemmis, S., & McTaggart, R. (1988). The Action Research Plane.r (3rd ed.). Victoria: Deakin University.

Moser, A. & Korstjens, I. (2017). Series: Practical Guidance to Qualitative Research. Part 1: Introduction. European Journal of General Practice, 23(1), 271-273.

Power, B. & Hubbard, R. (1999). Becoming Teacher Researchers One Moment at a Time. Language Arts, 77(1), 34-39.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-04