การยอมรับการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงรุก ของนักศึกษา ระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา

ผู้แต่ง

  • พิชญ์สินี ไสยสิทธิ์ หลักสูตรภาษาอังกฤษและเทคโนโลยีการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

แบบจำลองการยอมรับการใช้เทคโนโลยี, เทคโนโลยีคลาวด์, สภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงรุก

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการยอมรับการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงรุก สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา จำนวน 445 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการยอมรับการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงรุกฯ ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1) การรับรู้ประโยชน์ 2) การรับรู้ความง่ายในการใช้งาน 3) ทัศนคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยี 4) ความตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยี และ 5) การใช้งานเทคโนโลยี ค่าหาความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา จำนวน 5 คน วิเคราะห์ด้วยดัชนีความสอดคล้องระหว่างรายการคำถามและวัตถุประสงค์ ได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.60-1.00 หาค่าความเที่ยงโดยหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาด ได้ค่า เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน    

ผลการวิจัยพบว่า การยอมรับการใช้เทคโนโลยีคลาวด์ในการจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เชิงรุก ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=3.83, S.D.=0.84) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการรับรู้ความง่ายในการ    ใช้งาน (M=3.96, S.D.=0.79) รองลงมา คือ ด้านการรับรู้ประโยชน์ (M=3.91, S.D.=0.81) ด้านทัศนคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยี (M=3.78, S.D.=0.85) ด้านความตั้งใจที่จะใช้เทคโนโลยี (M=3.76, S.D.=0.88) และด้านการใช้งานเทคโนโลยี (M=3.72, S.D.=0.92) ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพิจารณารายข้อแล้ว พบว่า การเข้าถึงการใช้งานเครื่องมือคลาวด์ได้อย่างง่ายดาย ผ่านอุปกรณ์สมาร์ทโฟน และคอมพิวเตอร์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (M=4.11, S.D.=0.79) รองลงมา คือ ความคาดหวังว่าจะนำเครื่องมือคลาวด์ไปใช้ในการทำงานในอนาคต (M=3.96, S.D.=0.82)

References

กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา. (2559). Thailand 4.0 โมเดลขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ความมั่งคั่งมั่นคง และยั่งยืน. คณะศิลปกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา. สืบค้นจากhttp://www.libarts.up.ac.th /v2/img/Thailand-4.0.pdf

นิศาชล รัตนมณี และประสพชัย พสุนนท์. (2562). อัตราการตอบกลับของแบบสอบถามในงานวิจัยเชิงปริมาณ.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 13(3), 181-188.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2559). การศึกษา 4.0 เป็นยิ่งกว่าการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทราวดี วงศ์สุเมธ. (2556). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการยอมรับและการใช้งานระบบการเรียนผ่านเว็บ. วารสารนักบริหาร. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, 33(3), 3-10.

ปรีภัทร เกตุมงคลพงษ์ และคณะ. (2563). ปัจจัยการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานครในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 141-156.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2562). สถิติการศึกษา: จำนวนนักเรียน นิสิต นักศึกษาในระบบโรงเรียน ในสถานศึกษา

ของรัฐบาลและเอกชน จำแนกตามระดับการศึกษา และชั้น ปีการศึกษา 2558 - 2562. [ออนไลน์].

http://statbbi.nso.go.th/staticreport/page/sector/th/03.aspx

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2552). ทฤษฎีการประเมิน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Baruch, Y. (1999). Response Rate in Academic Studies-A Comparative Analysis. Human Relations, 52(4), 421-438.

Baydas, O., & Goktas, Y. (2017). A Model for Preservice Teachers’ Intentions to Use ICT in Future Lessons. Interactive Learning Environments, 25(7), 930-945. doi:10.1080/10494820. 2016.1232277

Best, J. W. (1995). Research In Education (3rd ed.); Englewood Cliff, New Jersey: Prentice Hall.

Davis, F. D., Bagozzi, R. P., & Warshaw, P. R. (1989). User Acceptanceof Computer Technology: A Comparison of Two Theoretical Models. Management Science, 35(8), 982–1003.

Dumpit, D. Z., & Fernandez, C. J. (2017). Analysis of the Use of Social Media in Higher Education Institutions (HEIs) using the Technology Acceptance Model. International Journal of Educational Technology in Higher Education, 14(1), 5. doi:10.1186/s41239-017-0045-2

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.

Salloum, S. A., Alhamad, A. Q. M., Al-Emran, M., Monem, A. A., & Shaalan, K. (2019). Exploring Students’ Acceptance of E-Learning Through the Development of a Comprehensive Technology Acceptance Model. IEEE Access, 7, 128445-128462.

Palos-Sanchez, P. R., Arenas-Marquez, F. J., & Aguayo-Camacho, M. (2017). Cloud Computing (SaaS) Adoption as a Strategic Technology: Results of an Empirical Study. Mobile Information Systems, 2017, 20. doi:10.1155/2017/2536040

Park, S. Y. (2009). An Analysis of the Technology Acceptance Model in Understanding University

Students' Behavioral Intention to Use E-Learning. Journal of Educational Technology &

Society, 12(3), 150-162.

Pokharel, Manish & Park, Jong. (2009). Cloud Computing: Future Solution for E-Governance. 409-410.10.1145/1693042.1693134.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-06-23