ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้

ผู้แต่ง

  • อนันต์ ชลเขตต์ นักศึกษาระดับปริญญาโท, หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • นิรันดร์ จุลทรัพย์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • จรัส อติวิทยาภรณ์ หลักสูตรปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงานของครู, ประสิทธิผล, โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) คุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม 2) ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา เขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาค่าความเที่ยงตรงตามเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน วิเคราะห์โดยการหาความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ได้ค่าระหว่าง 0.50-1.00 หาความเชื่อมั่น โดยใช้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ 0.70 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า

คุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา อยู่ในระดับมาก (M=3.87, S.D.=0.55) ประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (M=3.87, S.D.=0.55) และคุณภาพชีวิตการทำงานของครู มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับสูงกับประสิทธิผลของโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดสงขลา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .863

ครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม ควรมีการปฏิบัติงานและความเป็นอยู่ที่เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ มีชุดคุ้มครองเมื่อปฏิบัติหน้าที่นอกสถานศึกษา ส่งเสริมการฝึกอบรม การเพิ่มทักษะและกระบวนการสอนให้กับครู มีการพิจารณาปรับขั้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่งที่สูงขึ้น เพื่อความเป็นอยู่ทีดีขึ้นของบุคลากร

References

กรองกาญจน์ เอกพิพัฒน์วงศ์. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดสตูล. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). แผนพัฒนาการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้. ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ สำนักผู้ตรวจราชการประจำเขตตรวจราชการที่ 12 ยะลา กระทรวงศึกษาธิการ, ปัตตานี.

กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2558). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณัฎฐา แตงก่ำ. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนบางละมุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.

ทวีศักดิ์ ขันติยา. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.

บุญชม ศรีสะอาด. (2550). การประเมินการใช้หลักสูตรโรงเรียนในสังกัดเทศบาลเมืองมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม. มหาสารคาม: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ปวิตรา ไหว้พรหม. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตในการทำงาน กับความสุขของบุคลากร กรณีศึกษา องค์การเภสัชกรรม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับ 3) ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116/ตอนที่ 74/ ก/หน้า 1/19 สิงหาคม 2542 สืบค้นจาก https://www.udon4.go.th/wp-content/uploads/2020/05/NationalEducation.pdf

มุทิตา เครือวัลย์. (2555). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการครูกับประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา เครือข่ายแกลงบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาระยอง เขต 2. งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

มูฮัมหมัด มะลี. (2560). คุณภาพชีวิตการทำงานของครูโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามควบคู่วิชาสามัญสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. วิจัยแห่งยุค 4.0 ในสังคมพหุวัฒนธรรมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 43. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี.

ยุทธ ไกยวรรณ์. (2561). หลักสถิติวิจัยและการใช้โปรแกรม SPSS (พิพม์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่ 57 ก. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี.

วิจิตร ศรีสะอ้าน. (2550). ครูกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทย. สืบค้นจาก http://media.thaigov. go.th/pageconfig/viewcontent/viewcontent.asp?pageid-471

ศรีสมภพ จิตร์ภิรมย์ศรี, อารีลักษณ์ พูลทรัพย์ และดุษณ์ดาว เลิศพิพัฒน์. (2550). ยุทธศาสตร์สันติวิธีภาคประชาชนจังหวัดชายแดนใต้. ปัตตานี: สถาบันสันติวิถี

สาระ หวันละเบ๊ะ. (2556). การบริหารงานบุคลากรของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ศึกศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2552). สภาพการจัดการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: สำนักวิจัยและพัฒนาการศึกษา สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

อนงค์ อาจจงทอง. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับประสิทธิผลของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมชัยภูมิ เขต 2. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ ในพระบรม ราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 10(2), 153-163.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-23