ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา กับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน ศูนย์เครือข่ายลุ่มน้ำสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1

ผู้แต่ง

  • วุฒินันท์ โพหะดา นักศึกษาระดับปริญญาโท, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
  • จรุณี เก้าเอี้ยน หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • เสาวนิตย์ ทวีสันทนีนุกูล หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา, แรงจูงใจ, การปฏิบัติงานของครูผู้สอน

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน และ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอน ศูนย์เครือข่ายลุ่มน้ำสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 160 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคอร์ท หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน โดยการหาค่าความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ได้ค่าระหว่าง 0.60-1.00 หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบาค ได้เท่ากับ .971 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ผลการวิจัยพบว่า

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.52, S.D.=0.47)  แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.55, S.D. =0.48) และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางกับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูผู้สอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ .504

ผู้บริหารสถานศึกษา ควรปฏิบัติตนเป็นตัวแบบที่ดีทั้งในด้านการใช้ชีวิตและการทำงาน มีความสามารถด้านการมองแนวโน้มอนาคต มีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน เอาใจใส่ครูด้วยจริงใจ สร้างสัมพันธภาพที่ดี และส่งเสริม การปฏิบัติงานของครูผู้สอนด้วยความรับผิดชอบและมีความยุติธรรม ส่งผลให้โรงเรียนมีการพัฒนาไปสู่คุณภาพ

ครูผู้สอน ควรพัฒนาตนเองอยู่เสมอให้มีความรู้ความสามารถ จรรยาบรรณสูง เอาใจใส่งาน ปฏิบัติงานเน้นผลสัมฤทธิ์ตามสมรรถนะครูผู้สอนได้อย่างประสบผลสำเร็จจนเป็นที่ประจักษ์นำมาซึ่งผลงานที่ประทับใจและภาคภูมิใจต่อตนเอง ได้รับการชมเชยจากผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ได้รับการยอมรับจากผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-09-17