ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครู ในศตวรรษที่ 21 ในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายร่มโพธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2
คำสำคัญ:
การบริหารการเปลี่ยนแปลง, การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา, สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21บทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษากับสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนกลุ่มเครือข่ายร่มโพธิ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 103 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาและแบบสอบถามสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตามแนวคิดของลิเคอร์ท หาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่าน โดยการหาความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ได้ค่าระหว่าง 0.60-1.00 หาค่าความเชื่อมั่น โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาเท่ากับ .905 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 เท่ากับ .890 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า
1. การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.37, S.D.=0.17)
2. สมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 โดยรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.39, S.D.=0.19)
3. การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกในระดับค่อนข้างสูง กับสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r) เท่ากับ 0.726
References
กลุ่มนโยบายและแผน. (2563). สารสนเทศทางการศึกษา: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 2.
กัลยา วานิชย์บัญชา. (2544). หลักสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ขวัญชนก บุญนาค. (2562). สมรรถนะครู: เครื่องมือที่มีความสำคัญในการบริหารการศึกษา. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 “GRADUATE SCHOOL CONFERENCE 2018”. 129-137.
ฉวีวรรณ ฉัตรวิไล. (2560). สมรรถนะผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินการตามมาตรฐานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 6 จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์, 373(179), 153.
ฉัตรชัย หวังมีจงมี. (2560). สมรรถนะครูไทยในศตวรรษที่ 21: ปรับการเรียน เปลี่ยนสมรรถนะ.วารสารสถาบันเสริมศึกษาและทรัพยากรมนุษย์, 12(2), 47-63.
ณัฐธิดา ท่านทรัพย์ และ รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปรถมศึกษาสงขลา เขต 3. วารสารการประชุมระดับชาติ “วลัยลักษณ์วิจัย”, 11(2), 136.
ปวรัชญ์ เอี่ยมโสภณ, กฤษฎา นันทเพ็ชร และบดินทร์ แก้วบ้านดอน. (2560). รูปแบบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงองค์การเพื่อความเป็นเลิศในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม. กรณีศึกษา ส่วนงาน.
ปัณรส มาลากุล ณ อยุธยา. (2553). การบริหารการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ภัลลพ สุขพราย, ลินดา นาคโปย และสายฝน เสกขุนทด. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, 9(3), 66-75.
วิมพ์วิภา รักสม, วีระยุทธ ชาตะกาญจน์ และสรัญญา แสงอัมพร. (2561). ผลการวิจัยพบว่าสภาพการบริหารการเปลี่ยนแปลงตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 12. A Model of Change Management of Administrators in the Small-Size Basic Education Institutions under the Jurisdiction of The Secondary Educational Service Area Office 12, 10(1), 163-175.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2548). การปรับใช้สมรรถนะในการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพบเรือน.
สุวรีย์ ศิริโภคาภิรมย์. (2553). วิทยาการจัดการ. ลพบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
อรรคพล สงวนยวง, เอื้อมพร โตภาณุรักษ์กุล และกาญจนา บุญส่ง. (2562). การบริหารการเปลี่ยนแปลงและสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณลักษณะโรงเรียน มาตรฐานสากล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 21(1), 178-203.
อ่องจิต เมธยะประภาส. (2559). ครูในยคุศตวรรษที่21 ต้องมีลักษณะ. E-Teacher. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2563. จากhttp://gotoknow.org/post/589309,2557.
อุไร ผลาเลิศ. (2563). ความต้องการพัฒนาสมรรถนะครูในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 5. วารสารรัฐศาสตร์รอบรู้และสหวิทยาการ, 3(1), 4.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.
Salkind, N. J. (2000). Child development. (7th ed.). Fort Worth, Tex.: Harcourt Brace College Publishers.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการบริหารการศึกษาและครุศาสตร์ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย