การบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3

ผู้แต่ง

  • มาหะมะบาคอรี มาซอ นักศึกษาระดับปริญญาโท, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • จรุณี เก้าเอี้ยน หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

การประกันคุณภาพการศึกษา, การบริหารการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจำแนกตามตัวแปรเพศ อายุ ตำแหน่งและขนาดสถานศึกษา และ 3) ประมวลปัญหาและข้อเสนอแนะการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีอิสระ และทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัยพบว่า

1. ระดับการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3 ภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.10, S.D.=0.67)

2. เปรียบเทียบการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปรเพศ อายุและขนาดสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ยกเว้น ตัวแปรเพศในด้านการประเมินผลตรวจสอบคุณภาพการศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และจำแนกตามตัวแปรตำแหน่ง ภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ปัญหาและข้อเสนอแนะของการบริหารงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารไม่สำรวจปัญหาความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ครูและบุคลากรทางการศึกษาไม่ความเข้าใจเรื่องระบบประกันคุณภาพการศึกษา การดำเนินกิจกรรมโครงการไม่สอดคล้องกับแผนพัฒนาการจัดการศึกษา ส่วนข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้บริหารควรให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางของสถานศึกษา ผู้บริหารควรติดตามตรวจสอบประเมินคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ และควรเผยแพร่ผลการประเมินตนเองเพื่อการพัฒนา

References

จรุณี เก้าเอี้ยน. (2557). เทคนิคการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา กลยุทธ์และแนวทางการปฏิบัติสำหรับผู้บริหารมืออาชีพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. สงขลา: ชานเมืองการพิมพ์.

เชิดพงศ์ ราชสมบัติ. (2558). การมีส่วนร่วมของครูในการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ สุราษฎร์ธานี.

มาหามะตอเฮ สาแม. (2557). กระบวนการบริหารการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

มูฮำมัดอนูวาร์ สะอะ. (2557). การบริหารงานประกันคุณภาพภายในของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดยะลา. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ลดาวัลย์ ตั้งมั่น. (2561). การศึกษาการดําเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 4 จังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

วันทนา เนื้อน้อย. (2560). การดำเนินงานระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 3. (2563). รายงานผลการดำเนินงานกลุ่มนโยบายและแผน. (ม.ป.ท.). (ม.ป.พ.).

ฮาบีบ๊ะ อาเดะมะ. (2557). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามทัศนะครูผู้สอนอำเภอแว้ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานราธิวาส เขต 2. การค้นคว้าอิสระ ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-10-14