พฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3

ผู้แต่ง

  • นิมาลีกี ใบสะเม๊าะ นักศึกษาระดับปริญญาโท, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • นวรัตน์ ไวชมภู หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

พฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์, ผู้บริหารสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปัตตานี

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมด้านมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูและบุคลากรทางการศึกษาที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปัตตานี เขต 3 จำนวน 291 คน สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยวิธีคํานวณค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคําถามกับวัตถุประสงค์ ได้ค่าระหว่าง 0.67 – 1.00 หาความเชื่อมั่น โดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัค ได้ค่าความเชื่อมั่นภาพรวมทั้งฉบับเท่ากับ 0.985 สถิติที่ใช้ คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทีอิสระ และสถิติค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า

1. ครูและบุคลากรทางสถานศึกษามีความคิดเห็นต่อพฤติกรรมมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 ภาพรวม อยู่ในระดับมาก (M=4.06, S.D.=.67) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากเช่นกัน ดังนี้ ด้านการเข้าใจผู้อื่น ด้านการเข้าใจสิ่งแวดล้อม และด้านการเข้าใจตนเอง (M=4.11, S.D.=.69 ; M= 4.08, S.D.=.71 และ M=3.98, S.D.=.71) ตามลำดับ

2. เปรียบเทียบพฤติกรรมมนุษย์สัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และขนาดของโรงเรียน พบว่า ไม่แตกต่างกัน จำแนกตามอายุ และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

3. แนวทางการพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาควรปรับปรุงกระบวนการให้มีความสร้างสรรค์ มีคุณภาพและมาตรฐานมากยิ่งขึ้น สามารถตอบสนองความต้องการและแบ่งปันวิสัยทัศน์สำหรับการพัฒนาชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และค้นคว้าทุกโอกาสที่เกิดขึ้นในเชิงบวกต่อสถานศึกษา เพื่อนำพาไปสู่ความสำเร็จได้อย่างสูงสุด ผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการปรับปรุงพฤติกรรมที่แสดงถึงความใจกว้างในการยอมรับความจริงของคนอื่น สามารถนำจุดเด่นของผู้ใต้บังคับบัญชาไปใช้ประโยชน์ในการทำงาน อีกทั้งควรมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึง การรักษาสัมพันธภาพเชิงบวกกับบุคคลรอบข้างได้เป็นอย่างดี และแสดงออกถึงการรัก เคารพนับถือผู้ร่วมงานอย่างแท้จริง และควรมีการคำนึงถึงกฎหมาย นโยบาย และความคาดหวังของผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการวางแผนกลยุทธ์ของสถานศึกษา แสดงออกถึงความเข้าใจและตระหนักถึงอุปสรรคที่จะขัดขวางการบรรลุเป้าหมาย ของสถานศึกษา อีกทั้งตระหนักในความต้องการของประชาชนและสังคม สำหรับผลผลิตหลักของสถานศึกษา

References

ขุนทอง สุขทวี. (2562). มนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อการบริหารงานโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดศรีสะเกษ. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.พรินท์.

ธีรวัชร แสงจง. (2562). การศึกษามนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 163-177.

พรรณทิพย์ ศิริวรรณบุศย์. (2563). จิตวิทยาพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barnard, K. H. (1964). Two New Genera of Erycinacea (Bivalvia) from South Africa. Proceedings of the Malacological Society of London, 36, 33-37.

Cronbach, L. J. (1990). Essentials of Psychological Testing (5th ed.). New York: Harper Collins Publishers.

Hair, J. F., Jr., Black, W.C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). Upper Saddle River, New Jersey: Prentice Hall.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-11-17