การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3

ผู้แต่ง

  • สุเชาว์ หมั่นดี นักศึกษาระดับปริญญาโท, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • นิตยา เรืองแป้น หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

การประกันคุณภาพการศึกษา, การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3

บทคัดย่อ

การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามตัวแปร เพศ ประสบการณ์ในตำแหน่งปัจจุบัน และขนาดสถานศึกษา และ 3) ประมวลผลปัญหาและข้อเสนอแนะในการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 กำหนดขนาดตามตารางของเครจซี มอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 130 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายโดยการจับฉลากไม่ใส่คืนตามเกณฑ์สัดส่วนอำเภอและขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบอิสระ และทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษาพบว่า

1. ผู้บริหารสถานศึกษามีการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (M=4.57, S.D.=.41)

2. ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ที่มีเพศ ประสบการณ์ในตำแหน่งปัจจุบัน และขนาดสถานศึกษาแตกต่างกัน มีการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน

3. ปัญหาของผู้บริหารสถานศึกษาในการดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา คือ ขาดความรู้ความเข้าใจและไม่มีแนวปฏิบัติในแต่ละระบบของการประกันคุณภาพภายในที่ชัดเจน ขาดความต่อเนื่องในการปฏิบัติ และมีข้อเสนอแนะ คือ สร้างความรู้ ความเข้าใจในระบบการประกันคุณภาพให้ชัดเจน และพัฒนาครูให้มีความรู้ความเข้าใจในการดำเนินการตามระบบประกันคุณภาพภายในได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

ณรงค์ โพธิ์พฤกษานันท์. (2557). ระเบียบวิธีวิจัย หลักการและแนวคิด เทคนิคการเขียนงานวิจัย. กรุงเทพฯ: เอ๊กซเปอร์เน็ท.

ดอเลาะ การี. (2556). การดำเนินงานตามระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

ราชกิจจานุเบกษา. (23 กุมภาพันธ์ 2561). กฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. เล่ม 135 ตอนที่ 11 ก.

วันทนา เนื้อน้อย. (2560). การดำเนินการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ศศิวิมล ภูมิแดง. (2557). ความคิดเห็นของครูผู้สอนเกี่ยวกับบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีต่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จังหวัดปราจีนบุรี. ปริญญาศึกษาสาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สยามรัฐออนไลน์. (2563). “สมศ.ประกาศหยุดประเมินรอบ 4 หลัง “ศธ”สั่งเบรก : สืบค้นจากwww.siamrath.co.th./n/165465. (ค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2563)

สุดา ป่วนเทียน. (2561). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนในกลุ่มเครือข่ายส่งเสริมประสิทธิภาพการจัดการศึกษาที่ 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยปทุมธานี.

สูรียาดา เล็งนู. (2554). การปฏิบัติงานตามบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการประกันคุณภาพการศึกษาตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. สารนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

แสงเพียร งานดี. (2553). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ในอำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงราย.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. (2562). รายงานการนิเทศ ติดตามการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กลุ่มนิเทศ ติดตามและวัดประเมินผลการจัดการศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561).แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วน เอ็นเอ รัตนะ เทรดดิ้ง.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2556). การนำระบบการประกันคุณภาพภายในสู่การบริหารจัดการของสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อานีส๊ะ แตมาสา. (2557). สภาพและปัญหาการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดยะลา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

อำนาจ วิชยานุวัติ. (2557). การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 8(2), 263-274.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970), Autumn). “Determining Sample Size for Research Activities,” Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-20