การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3
คำสำคัญ:
ระบบดูแลช่วยแหลือนักเรียน, ผู้บริหารสถานศึกษา, การบริหารบทคัดย่อ
การค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เปรียบเทียบการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษา และ 3) ประมวลปัญหาและข้อเสนอแนะในการบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ในอำเภอสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาอำเภอสายบุรีสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 250 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบอย่างง่ายด้วยการหยิบฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น หาค่าความตรงเชิงเนื้อหาด้วยการคำนวณค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ได้ค่าระหว่าง 0.60 – 1.00 หาค่าความเชื่อมั่นโดยวิธีการหาค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบัคได้ค่าเท่ากับ 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีอิสระ และการทดสอบค่า ผลการศึกษาพบว่า
1. การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M=4.31, S.D.=0.42)
2. การบริหารงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษาในอำเภอสายบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3 จำแนกตามเพศ ตำแหน่ง ประสบการณ์การปฏิบัติงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา และขนาดของสถานศึกษา โดยภาพรวมไม่แตกต่าง ยกเว้น ด้านการคัดครองนักเรียนและด้านการป้องกันและการแก้ไขปัญหา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
3. ข้อเสนอแนะ พบว่า ผู้บริหารควรดำเนินการให้ครูศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคลด้วยวิธีการที่หลากหลาย ควรดำเนินการให้มีระบบการคัดกรองนักเรียนตามเกณฑ์การคัดกรอง โดยใช้แบบประเมิน (SDG) ในการคัดกรอง ควรดำเนินการให้มีการประชุมผู้ปกครองนักเรียนทุกภาคเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมโฮมรูมให้กับผู้เรียนในแต่ละสัปดาห์ได้อย่างเหมาะสม ควรดำเนินการให้มีความเอาใจใส่ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน และควรดำเนินการให้มีการชี้แจงให้นักเรียนเข้าใจถึงความจำเป็นในการส่งต่อ โดยใช้คำพูดที่สร้างสรรค์ของครู
References
กรดา มลิลา. (2564). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 1. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์
จิดาภา มาประดิษฐ์. (2560). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี.
ปราณี เตยอ่อน. (2558). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนวัดเจ็ดริ้ว (สาครกิจโกศล). การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
รัชพล เที่ยงดี. (2563). การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 18. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพ พรรณี.
สุธิดา พงษ์สวัสดิ์. (2561). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนืองบุรี. วารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
Kennedy, R. E. (2013). Cognitive-Behavioral Approaches to the Modification of Aggressive Behavior. Children School Psychology Review.
Lehmanowsky, Mary Belt. (2014). Guidance and Counseling Service: Perceived Student Needs. Dissertation Abstracts International, 52(5), 1642-A.
Maccoby, E. E. & J. A. Martin. (2015). Socialization in the Context of the Family. In E. M. Hetherington (Eds.), Handbook of Child Psychology: Socializtion, Personality, Personality, and Social Development (pp. 1-101). New York, NY: Wiley.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
บทความหรือข้อคิดใด ๆ ที่ปรากฏในวารสารการบริหารการศึกษาและครุศาสตร์ที่เป็นวรรณกรรมของผู้เขียน บรรณาธิการ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย