ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้บริหารและครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

ผู้แต่ง

  • นิอาลี หะยีนิมะ นักศึกษาระดับปริญญาโท, หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา
  • นวรัตน์ ไวชมภู หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

คำสำคัญ:

ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร, สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา

บทคัดย่อ

การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้บริหาร 2) ศึกษาระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของครูผู้สอน และ 3) เปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้บริหารกับครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา กลุ่มตัวอย่าง มี 2 กลุ่ม คือ 1) ผู้บริหารโรงเรียน โดยใช้ประชากรทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 23 คน และ 2) ครูในโรงเรียนประถมศึกษา กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยการใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 244 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ แบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทีอิสระ ผลการค้นคว้าอิสระพบว่า

1. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้บริหารในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล รองลงมา คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การกระตุ้นทางปัญญา

2. ระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้ครู ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ทั้ง 4 ด้าน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทุกด้านอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมากเช่นกัน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ รองลง คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการคำนึงความเป็นปัจเจกบุคคล และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา

3.ผลการเปรียบเทียบระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารตามการรับรู้ของผู้บริหารกับและครู ในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนอำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา ภาพรวมและรายด้าน พบว่า ผู้บริหารและครู มีความคิดเห็นต่อระดับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของผู้บริหารกับการรับรู้ของครู ไม่แตกต่างกัน

References

ชวิน พงษ์ผจญ. (2561). สภาพปัญหาในการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างสันติสุข. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 44(2), 116-157.

ณัฏฐโชติ จันทร์เพ็ชร. (2562). การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง. การประชุมวิชาการนําเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 (หน้า 186-195). กรุงเทพ: บัณทิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธวัชชัย หอมยามเย็น. (2548). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2. รายงานการศึกษาอิสระ มหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระมหาอุดร อุตฺตโร. (2564). ภาวะผู้นำเชิงจริยธรรม. วารสารการบริหารการศึกษา มมร.วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 1(1), 50.

พิชิต จรูญกิจพิศาล และคณะ. (2561). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารสิกขา, 4(1).

ภควรรณ ห่อคนดี. (2564). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 14 (หน้า 1089-1098). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ล้านนา มาปลูก. (2562). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สหวิทยาเขตสุดถิ่นไทย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 36. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยพะเยา.

ลุกมาน โตะแวอายี. (2562). การใช้อำนาจของผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีมของครู โรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลาม. วารสาร อัล-ฮิกมะฮฺ มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 9(18), 69-81.

วีระศักดิ์ ประจง. (2556). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา ในกลุ่มโรงเรียนมิตรภาพ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

โสภณ วงษ์คงดี. (2559). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของข้าราชการครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18 (สหวิทยาเขตระยอง 2). วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-27